วันอาทิตย์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553
วันจันทร์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553
หนาวมาเยือนเเล้ว
ปีนี้อากาศหนาวเย็นมาเร็วกว่าทุกๆปีที่ผ่านมา ทำให้ไม่ได้ตั้งตัวเลยจึงทำให้เด็กๆเป็นหวัดกันทั่ว เด็กเล็กเด็กเเดงเป็นหวัดน้ำมูกไหลร้องให้กระจองอเเงพ่อเเม่เป็นอันไม่ต้องทำมาหากินกันเลยทีเดียว มัวเเต่ไปห่วงเจ้าตัวน้อยต้องพาไปหาหมอฉีคยาให้หายสบายใจ เมื่อหนาวมาภัยหนาวก็มาด้วยช่วงนี้จึงต้องใส่เสื้อผ้าหนาๆเสื้อกันหนาวจะได้ไม่เป็นปอดบวมเเข็งตาย โดยเฉพาะคนเเก่คนเฒ่าต้องดูเเลอย่างดี เเต่เมื่อฤดูหนาวมาถึงชาวม้งอย่างพวกเราก็ใจจดใจจอกับปี่ใหม่ม้งที่กำลังใกล้เข้ามา พวกสาวๆจะเตรียมชุดม้งสวยๆใว้ใส่ช่วงปีใหม่ พวกหนุ่มๆก็วางแผนที่จะไปเที่ยวที่ใหนกันดี ส่วนผู้หลักผู้ใหญ่เริ่มเก็บเกี่ยวข้าวไร่ข้าวนาพืชผลทางการเกษตรให้เสร็จสิ้นก่อนที่จะใกล้ถึงปีใหม่ เเละเริ่มวางแผนว่าปีหน้าจะทำมาหากินอะไร่ต่อไป ช่วงฤดูหนาวนี้จึงเป็นช่วงที่พี่น้องม้งมีคาวมสุขความอบอุ่นจากกองไฟเเละมีความฝันเเละความหวังทามกลางความหนาวที่เเฝงไปด้วยความสุขใจ
วันเสาร์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553
วันพฤหัสบดีที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2553
วันจันทร์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2553
ม้งอีกประวัติหนึ่งที่น่าศึกษา
ม้ง เป็นชนเผ่าหนึ่งที่รักความสงบและความยุติธรรม โดยแต่เดิมชอบอยู่อย่างโดดเดี่ยวตามบริเวณเทือกเขาที่สูงมีอากาศที่หนาวเย็น ในประเทศต่างๆทางทิศเหนือ ทิศตะวันออกและทิศตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปเอเชีย ส่วนในทางมนุษยวิทยาถือว่าม้งเป็นชนเผ่าที่มีขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรมใกล้เคียงกับชนชาติจีนหรืออีกนัยหนึ่งคือจัดอยู่สายตระกูลจีน ธิเบต(Sino Tibetan Stock) ซึ่งมีชนชาติเย้าหรือเมี่ยนรวมอยู่ด้วย
คำว่า “ม้ง”(Mong)หรือ “ฮม้ง” (Hmong) จากการให้ความหมายของ “นายกั้งซุ แซ่ย่าง” ซึ่งเป็นผู้เฒ่าผู้แก่ที่น่าเคารพคนหนึ่งของชาวม้ง(ปัจจุบันปีคศ. 2000 รวมมีอายุได้ 66 ปี อาศัยอยู่ที่ บ้านใหม่หนองหอย อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่) ได้ให้ความหมายไว้ว่า “ม้ง” หรือ “ฮม้ง” คือ กลุ่มหรือความเป้ฯชนชาติในตัวเอง แต่ในขณะเดียวกันม้งชอบเรียกตัวเองว่า “เป๊ะม้ง” และตามด้วยสายสกุลของตัวเอง เช่น เป๊ะม้งย่าง ก็หมายถึงสายสกุลแซ่ย่างเป็นต้น คำว่า “เป๊ะ” แปลตรงตัวได้ว่า “สาม” และบางทีก็หมายถึง “พวกเรา” “เป๊ะ”นี้มีต้นสายปลายเหตุมาจากนิยายปรัมปราที่เป็นการให้เกียรติแก่ กษัตริย์ม้งพระองค์หนึ่งซึ่งมีอยู่ 3 เศียร (ดูรายละเอียดประวัติม้ง) ถึงแม้ว่าชนเผ่าม้งจะเป็นชนกลุ่มหนึ่งที่รักความสงบและความยุติธรรม แต่ในยามศึกศึกสงคราม จะเป็นนักรบที่กล้าหาญต่อสู้อย่าดุดันและเหี้ยมโหด เด็ดขาด แต่ม้งจะถูกเรียกจากชนชาติอื่นๆว่า “แม้ว” “เมี่ยว” หรือ “เมี๊ยวจซึ”(ออกเสียงตัวจอควบกล้ำกับซึ) ซึ่งในภาษจีนแปลว่า “หนูตาบอด” สาเหตุเนื่องจากการก่อทำศึกสงครามกันระหว่างชนชาติจีนและม้งในอดีตที่ ยาวนานซึ่งนับได้ว่าม้งเป็นศัตรูตัวฉกาจตัวหนึ่งของชนชาติจีนมาโดยตลอด และด้วยจำนวนประชากรม้งที่น้อยกว่าจึงมักจะแพ้สงครามอยู่เสมอๆและต้องแตกทัพ หนีกระจายเอาตัวรอดเหมือนหนูตาบอด ละทิ้งชาติของตัวเองเพื่อเอาชีวิตรอด ดังนั้นม้งจึงไม่นิยมชมชอบให้ใครมาเรียกสรรพนามตัวเองว่า “แม้ว” “เมี๊ยว”หรือ “เมี๊ยวจซึ”
ประวัติศาสตร์และความเป็นมาของชนเผ่าม้ง
ตาม ตำนานเล่าขานกันว่า ชนเผ่าม้งอาศัยอยู่ในดินแดนที่หนาวเหน็บมีกลาวันหกเดือนและกลางคืนหกเดือน ม้งเป็นชนชาติหนึ่งที่แปลกแยกไปจากคนเอเชีย และโดยแท้จริงแล้วม้งอาจจะมิใช่คนเอเชีย เป็นกึ่งฝรั่งกับเอเชีย หรือกึ่งคอเคเซียมกึ่งมองโกลอย นอกจากนั้นม้งยังมีนิทานปรัมปราเล่าถึงตำนานการสร้างโลก สร้างมนุษย์และความเชื่อเกี่ยวกับการคืนชีพของกษัตริย์ม้ง จากการที่ได้พูดคุยกับผู้เฒ่าผู้แก่และผู้ที่มีความรู้เกี่ยวกับชนเผ่าม้ง จากการเล่านิยายปรัมปราและนิทาน(เนื่องจากม้งไม่มีภาษาเขียนเป็นของตัวเอง และไม่เคยมีการบันทึกเหตุการณ์ต่างๆเป็นลายลักษณ์อักษรจึงใช้วิธีการบอกเล่า แบบรุ่นสู่รุ่น) ซึ่งไม่สามารถจำชื่อกษัตริย์และผู้นำของจีนได้มากนัก แต่พอจะสรุปได้ดังนี้
มีกษัตริย์ม้งผู้ครองเมืองหนึ่งมีพระมเหสี 7 พระองค์ กษัตริย์พระองค์นี้เกิดความไม่พอใจพระธิดาองค์หนึ่งจึงได้ทำการเนรเทศพระ ธิดาองค์ดังกล่าวออกไปจากนคร พระธิดาฯได้ตกทุกข์ได้ยากมากจึงกราบวิงวอนขอความช่วยเหลือจากเทวดา เทวดาจึงประทานผลไม้ให้รวมทั้งได้ช่วยให้พระธิดามีพระราชโอรสสามพระองค์ ต่อมาเมื่อพระโอรสองค์เล็กประสูตรออกมาปรากฏว่ามีสามเศียรในร่างเดียว และก่อนที่พระธิดาจสิ้นพระชนม์ได้บอกชื่อผู้ครองเมืองและทิศทางการกลับสู่ เมื่องให้ทั้งโอรสทั้งสามพระองค์ทราบ และบอกว่าเจ้าผู้ครองเมืองนั้นแท้จริงก็คือปู่ของพระโอรสทั้งสามนั่นเอง และได้ให้พระโอรสทั้งสามขอสิ่งที่อยากได้จากผู้เป็นพระมารดา องค์ที่มีสามเศียรได้ขอให้มีสติปัญญาเฉลียวฉลาด ภายหลังเมื่อพระมารดาเสด็จสวรรคตแล้วทั้งสามพระองค์ก็ได้ออกเดินทางตามหาปู่ ตามรับสั่งของพระมารดาเมื่อทรงพบปู่แล้วก็ทรงเล่าเรื่องทั้งหมดให้ผู้เป็น ปู่ทราบและได้ทำการศึกษาเล่าเรียนหนังสือ พระโอรสองค์ที่มีสามเศียรทรงพระปรีชา สามารถกว่าอีกสองพระองค์ กษัตริย์จึงได้ตรัสว่าหากพระองค์สวรรคตให้แต่งตั้งหลานที่มีสามเศียรนี้ขึ้น ครองราชแทน เมื่อข่าวทราบถึงพระมเหสีทั้งเจ็ดของกษัตริย์เจ้าครองเมือง พระมเหสีทั้งเจ็ดก็ทรงไม่พอใจเป็นอย่างยิ่งหาลู่ทางจะประทุษร้ายหลานทั้งสาม ของพระราชา ทั้งสามพระองค์จึงได้หลบหนีออกจากนครไปและได้ไปร่ำเรียนวิชาความรู้ต่างๆกับ พระอาจารย์คนหนึ่ง เมื่อร่ำเรียนจนเก่งกล้าซึ่งวิชาความรู้แล้วจึงได้ร่ำลาอาจารย์ออกเดินทาง ต่อ ประจวบเหมาะกับในช่วงเวลาดังกล่าวได้เกิดช่วงเริ่มต้นของการก่อศึกสู้รบทำ สงครามกันระหว่างชนเผ่าม้งกับชนชาติจีน หลังจากการทำสงครามเป็นระยะเวลาที่ยาวนานก็ไม่ปรากฏว่ามีผู้ใดพ่ายแพ้หรือ ชนะ แต่สภาวะการณ์ของชนชาติม้ง(ในขณะนั้นยังมีเมืองและประเทศของตนเองจึงยังมี ชาติเป็นของตัวเองอยู่)เสียเปรียบอย่างเห็นได้ชัด กษัตริย์ทรงเห็นว่าหากปล่อยให้เหตุการณ์เป็นเช่นนี้อีก ชนชาติม้งอาจเสียทีได้ จึงได้มีรับสั่งให้ตามหาหลานชายที่มีสามเศียรมาครองราชบัลลังค์ออกรบแทน เนื่องจากตนเองก็ชราภาพมากแล้วประกอบกับหลานที่มีสามเศียรคนนี้เป็นคนเฉลียว ฉลาด ปฏิภาณ ไหวพริบดีเป็นเลิศ เมื่อหลานชายฯขึ้นครองราชย์แล้วก็ได้ทำการต่อสู้กับกองทัพจีนด้วยความหาญ กล้าและไม่เสียทีข้าศึกง่ายๆเหมือนดังเช่นแต่ก่อนอีก ไม่มีฝ่ายใดแพ้ ชนะ แต่ผู้คนพากันล้มตายเป็นจำนวนมาก กษัตริย์ทั้งสองฝ่ายจึงได้ทำสัญญาตกลงสงบศึกแล้วมีการแบ่งเขตแดนการปกครอง กัน ให้กษัตริย์ม้งปกครองเมืองป้างเต่อหล่าง (สันนิษฐานว่าปัจจุบันคือประเทศมองโกเลีย) และกษัตริย์จีนปกครองเมืองปี่เจิ้ง ความสงบสุขจึงกลับคืนมาอีกครั้ง ต่อมาเมื่อกษัตริย์ทั้งสองพระองค์เสด็จสวรรคตและกษัตริย์องค์ใหม่ขึ้นครอง ราชแทน ต่างฝ่ายก็ต่างอ้างกรรมสิทธิ์ในดินแดนต่างๆว่าเป็นของตัวเอง จึงมีการตรวจสอบหลักฐานการแบ่งเขตแดนจากกษัตริย์ทั้งสองพระองค์ก่อน ปรากฏว่าเมื่อครั้งที่ทหารจีนและทหารม้งทำการแบ่งเขตแดนนั้น ทหารจีนใช้เสาดินปักหลักเป็นหลักฐาน ส่วนทหารม้งใช้กอหญ้ามัดเป็นจุดๆ และทหารจีนได้แอบเผากอหญ้าม้งจนไหม้เป็นจุนหมด ดังนั้นเมื่อเกิดการตรวจสอบขึ้นจึงไม่เหลือสัญลักษณ์ที่แสดงอาณาเขตดินแดน ของม้งอีก กลายเป้ฯสาเหตุของการประทุก่อศคึกสงครามขึ้นมาใหม่ ขณะเดียวกันชนชาติม้งได้แตกแยกออกเป็นสามกลุ่ม มีสองกลุ่มได้ยอมสวามิภักดิ์กับกษัตริย์จีน เป็นผลให้ชนชาติม้งต้องพ่ายแพ้สงครามอย่างย่อยยับและได้แตกกระจายอพยพเข้า สู่เวียตนามแลถอยร่นลงมาทางตอนใต้ของประเทศจีนคือ ยูนาน ดังนั้นความเป็นชาติผืนแผ่นดินของม้งและการมีพระมหากษัตริย์เป็นผู้นำของชน ชาติม้งจึงได้สิ้นสุดลงที่นครป้างเตอหลาง อันเป็นนครอันเป็นที่รักของชนชาติม้งในอดีต หรือนครที่ชาวจีนเรียกกันว่า “เมี้ยวจซึ” แต่นั้นมา
ตังแต่นั้นมาม้งก็ไม่มีประเทศชาติ รวมทั้งราชธานีและกษัตริย์เป็นของตนเองอีก นอกจากหัวหน้าหรือผู้นำที่สำคัญๆเท่านั้น ในกลุ่มที่อพยพลงมาทางใต้ของจีนมณฑลยูนานในปัจจุบันนี้ ได้มีผู้นำม้งเกิดขึ้นอีกหลายคน ผู้นำคนแรกนั้นแม้แต่คมหอก คมดาบก็ไม่สามารถที่จะระคายผิวได้ จุดเดียวที่จะสามารถทำให้ผู้นำม้งคนนี้ตายได้ก็คือ จุดตรงทวารหนัก ซึ่งจุดนี้ทหารจีนไม่อาจล่วงรู้ได้เลย จึงวางแผนออกอุบายให้สาวชาวจีนซึ่งมีใบหน้าและรูปร่างที่สวยงามนางหนึ่งมา แต่งงานกับผู้นำม้งคนนี้ เมื่อแต่งงานอยู่กินกันนั้น สาวจีนผู้นี้ได้ปรนนิบัติผู้นำม้งได้อย่างดียิ่ง จนเป็นที่พอใจของผู้นำม้งเป็นอันมาก วันหนึ่งสาวชาวจีนก็ได้แกล้งถามผู้นำม้งว่าทำไมในเวลาออกศึกสู้รบทำสงคราม จึงไม่มีอะไรทำอันตรายได้เลย และด้วยความไว้ใจผู้นำม้งจึงตอบโดยไม่ได้เฉลียวใจว่าแท้จริงแล้วจุดที่ สามารถทำให้ตายได้อยู่ที่ทวาร เมื่อสาวจีนรู้ความจริงกระจ่างชัด จึงได้วางกลอุบายว่าไหนๆก็ร่วมทุกข์ร่วมสุขกันมานานแล้วแต่เหลืออย่างเดียว ที่ไม่เคยได้ปรนนิบัติผู้นำม้งเลยก็คือ การช่วยชำระทำความสะอาดให้ผู้นำม้งหลังการขับถ่าย และด้วยความไว้ใจประกอบกับความรักที่มีให้สาวชาวจีนอย่างเต็มล้นจึงได้ ยินยอมให้สาวชาวจีนปรนนิบัติ เมื่อทำกิจธุระเสร็จจึงยินยอมให้สาวจีนมาช่วยชำระล้างทวารให้ และเมื่อสบโอกาสสาวชาวจีนผู้นั้นก็ได้ใช้มีดที่เตรียมไว้จ้วงแทงทวารของผู้ นำม้งจนตายและตั้งแต่นั้นมาชนชาติม้งก็แตกและหนีกระจายอีกครั้งหนึ่ง ต่อมามีผู้นำม้งอีกคนหนึ่ง คนนี้ชื่อว่า “ว่างพั้วะซึ” และได้ทำศึกสงครามกับจีนแต่แพ้สงครามผู้นำของจีนคือ “ซอยี่” ได้สมรสกับภรรยาของผู้นม้ง และต่อมาก็มีผู้นำม้งอีกคนหนึ่งชื่อว่า “หว่างหวือ ย่าง” ได้ทำศึกสงครามกับผู้นำจีน (ซ่อยี่) และได้รับชัยชนะ จึงสถาปนาตัวเองเป็นผู้นำม้งขึ้นปกครองเมืองแทน และได้สมรสกับภรรยาของซอยี่ (เดิมเป็นภรรยาของว่างพัวะซึ) ครองเมืองจนเสียชีวิตลงได้มีตะกูแลแซ่เฒ่าขึ้นมาเป็นผู้นำครองเมืองแทน (ปัจจุบันตระกูลสายนี้มีอยู่เขตเชียงใหม่) และได้ทำศึกสงครามกับจีนมาเป็นเวลานานไม่มีผู้แพ้ชนะ จึงได้ทำสัญญาสงบศึกอีกครั้งและทำการส่งลูกหลานแต่งงานข้ามชนชาติกันขึ้น ทั้งนี้ผู้นำม้งคนนี้มีเต่าหินอยู่ตัวหนึ่งทุกปีตกไข่ 1 ฟอง 9 ปี ตก 9 ฟอง ซึ่งคนจีนเชื่อว่าเป็นสาเหตุที่จีนไม่สามารถชนะสงครามกับม้งได้ ชนชาติจีนจึงออกอุบายเพื่อยืมเต่าหินนั้นไปแล้วทำการต้ม 3 วัน 3 คืน จึงนำกลับมาส่งแล้วติดตามผลปรากฏว่าเต่หินไม่สามารถตกไข่ได้อีก ชนชาติจีนจึงได้ทำสงครามกับม้งอีกครั้งหนึ่ง เมื่อเกิดการสู้รบฝ่ายทายาทจีนที่ได้ส่งมาแต่งงานกับชนชาติม้งได้ทำการก บฎต่อสู้จากในเมืองออกในขณะเดียวกันกองทัพจีนก็ได้กรีฑาทัพจากข้างนอกบุก เข้ามาในตัวเมืองด้วย ในที่สุดม้งแพ้สงครามและถูกฆ่าล้างเผ่าพันธ์ที่นี่ ส่วนที่เหลืออพยพเข้าสู่ลาว ประมาณ 300 ปี หรือประมาณ พ.ศ. 2200 เป็นการทำศึกสงครามกับชนชาติจีนเป็นครั้งสุดท้ายในประวัติศาสตร์ของชนชาติ ม้ง
เมื่อชนชาติม้งถูกไล่ล่าจึงล่าถอยอพยพขึ้นสู่ภูเขา เนื่องจากเหตุการณ์บังคับให้ต้องหนี่ขึ้นที่สูง หากยังอาศัยอยู่ในที่ราบจะถูกฆ่าล้างเผ่าพันธ์ ส่วนที่เหลือจะถูกตรวนโซ่ที่คือและแขน จากนั้นผู้นำของจีนและม้งก็ได้ทำการสาปแช่งกันไว้ว่า ในเมื่อม้งเป็นพี่ จีนเป็นน้อง แต่ทำไมต้องฆ่าล้างเผ่าพันธ์กันขนาดนี้ เมื่อม้งตายไปจะกลับมาเกิดเป็นเสือและจะทำร้ายคนจีน (ม้งตระกูลแซ่ย่าง แซ่หางเชื่อว่าเมื่อเสียชีวิตแล้วจะกลายเป็นเสือ ความเชื่อนี้ยังมีหลงเหลืออยู่บ้างในปัจจุบัน) ส่วนผู้นำจีนได้สาปแช่งว่า หากวันใดม้งกลับลงมาสู่พื้นราบจะเจ็บไข้ได้ป่วยล้มตาย จากนั้นม้งจึงอยู่อาศัยแต่บนภูเขาไม่ยอมลงสู่พื้นราบอีก ผู้นำม้งจึงกล่าวว่าในเมื่อไม่สามารถกลับลงมาสู่พื้นที่ราบได้อีกแล้วสิ่ง ที่จำเป็นต้องใช้ในชีวิตประจำวันได้แก่ เกลือ ไหม ด้าย ฝ้ายต่างๆจะหาจากที่ไหนได้ ผู้นำจีนตอบผู้นำม้งว่าไม่ว่าชนชาติม้งจะไปถึงไหน คนจีนจะนำสิ่งจำเป็นเหล่านี้ตามไปขายให้ถึงที่นั้น ฉะนั้นจึงเห็นได้ว่าไม่ว่าจะเป็นอดีตหรือกระทั่งปัจจุบันนี้ไม่ว่าชนชาติม้ง จะอยู่ไกลสุดยอดเขา ปลายฟ้าเพียงใดชนชาติจีนก็จะนำฝ้าย ไหม ด้าย เกลือไปขายถึงที่นั่นเป็นคู่ตลอดกาลหลายชั่วอายุคน ส่วนคำสาปแช่งของผู้นำจีนที่มีต่อม้ง หลังจากนั้นม้งลงสู่พื้นราบก็จะเกิดการเจ็บป่าวยล้มตายตามคำสาปแช่ง ท่านผู้เฒ่า “จ้งเปา แซ่ย่าง” (ขณะนี้คือปี2000 ท่านผู้เฒ่ามีอายุได้ 86 ปี อาศัยอยู่ที่ บ้านใหม่หนองหอย อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่) ได้เล่าให้ฟังว่า เมื่อประมาณเจ็ดสิบกว่าปีมาแล้วเมื่อสมัยที่ตัวเองยังเป็นหนุ่มอยู่ตนเองและ พรรคพวกที่เป็นพี่น้องม้งด้วยกันมีความจำเป็นต้องลงมาหาซื้อ เกลือ เสื้อผ้า และของใช้ที่จำเป็นต่างๆในตัวเมืองอำเภอฝาง และอำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่
เพื่อนำกลับขึ้นไป ใช้ ปรากฏว่าบางคนต้องล้มป่วยเสียชีวิตระหว่างทาง หรือพอกลับถึงบ้านบนภูเขาก็มีอาการเจ็บป่ายล้มหมอนนอนเสื่อเป็นเวลาเดือนๆ ซึ่งช่วงเวลาดังกล่าวน่าจะเป็นช่วงประมาณปีพ.ศ. 2475 – 2500 และว่ากันว่าคำสาปแช่งดังกล่าวจะสิ้นสุดลงประมาณ ปี พ.ศ. 2500 และก็เป็นเช่นนั้นจริงดังจะเห็นได้ว่าหลังจากนั้นชาวม้งก็เริ่มค่อยๆลงกลับ ลงมาสู่พื้นที่ราบได้ตามลำดับในช่วง 30 ปีหลังๆนี้เท่านั้นเอง เริ่มมีการส่งบุตรหลานเข้ามาเรียนหนังสือในตัวเมืองมากขึ้น รวมทั้งเศรษฐกิจการค้าต่างๆก็เริ่มมีปฏิสัมพันธ์กับสังคมพื้นราบมากขึ้น จะเห็นได้ว่าความเจริญและโครงการพัฒนาต่างๆก็เพิ่งจะเริ่มเข้าไปในหมู่บ้าน ม้งได้เพียงไม่กี่ปีที่ผ่านมาแค่นั้นเอง
ย้อนกลับไปยังกลุ่มม้งที่ได้อพยพเข้าสู่ประเทศลาว ก่อนจะอพยพเคลื่อนสู่ประเทศไทยพอจะสรุปคร่าวได้ดังนี้ สำหรับกลุ่มม้งที่อพยพเข้าสู่ประเทศลาว ส่วนมากจะอยู่เย็นเป็นสุขถึงแม้ว่าจะได้มีการทำสงครามครังใหญ่ในช่วงประมาณ 3,500 ปีที่ผ่านมาก็ตามคือประมาณปี พ.ศ . 2180 แต่ก็เป็นสงครามใหญ่ครั้งเดียวเท่าน (นี้ไม่ได้รวมถึงการทำสงครามการปฏิวัติในประเทศลาวช่วงปี พ.ศ.2180 ในสมัยของนายพลวั่ง เปา) ซึ่งได้ทำสงครามกับลื้อ หรือไทลื้อเป็นเวลานานเพราะลื้มีจำนวนทหารมากกว่าชนชาติม้งหลายสิบเท่า ทั้งสองฝ่ายล้มตายเสียหายอย่างมาก ซึ่งม้งกำลังตกอยู่สภาวะการณ์เสียงเปรียบอย่างมาก ในขณะนั้นม้งกลุ่มหนึ่งได้อพยพหนีภัยสงครามเข้าไปในถ้ำได้พบเห็นปืนใหญ่อยู่ 3 กระบอก 2 กระบอกใหญ่ไม่สามารถที่จะขยับเคลื่อนไหวได้มีเพียงกระบอกเล็กที่สามารถขยับ ได้ แต่ไม่สามารถดึงได้ จึงได้บนบานความยเผือกตัวผู้ 13 ตัว จึงสามารถดึงปืนกระบอกเล็กออกมาได้ และอนุภาพของการยิงที่ร้ายแรงมาก เพราะถือเป็นปืนเทวดา จากนั้นจึงทำการสู้รบกับไทลื้อต่อ จากคำบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่ต่างๆ(เนื่องจากประวัติศาสตร์ไม่มีตัวหนังสือ ไว้บันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรจึงอาศัยการเล่าปากต่อปากรุ่นต่อรุ่นๆไป) ได้กล่าวว่า มีการสู้รบมาถึงเมืองเชียงแสน แต่หลักฐานไม่เด่นชัดว่าในปัจจุบันคืออำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงรายหรือไม่ ในที่สุดไทลื้อแพ้สงครามสงบศึก ม้งถอยทัพกลับเข้าสู่ประเทศลาวแต่ระหว่างการถอยทัพกลับนี้ไทลื้อหักหลังรวบ รวมพลครั้งใหญ่ทำสงครามกับม้งอีกครั้ง และการทำสงครามในครั้งนั้นเกิดการฆ่าล้างเผ่าพันธ์โดยม้งทำการฆ่าไทลื้อ อย่างเหี้ยมโหดในประวัติศาสตร์ม้งเท่าที่เคยมีมาของการทำสงครามของม้ง เด็กเล็กเด็กแดงถ้าเป็นผู้ชายจะถูกฆ่าหมด แม้แต่สตรีที่ตั้งทองก็ต้องฆ่าแม่ด้วยจนไทลื้อแพ้สงครามในที่สุดและถูกฆ่า ล้างเผ่าพันธ์ ส่วนหนึ่งได้อพยพมาเข้าสู่ประเทศไทย และผู้นำม้งคนสุดท้ายเสียชีวิตในสนามรบครั้งนี้ก็คือ สายตระกูลแซ่หาง ซึ่งเป็นครั้งสุดท้ายของการทำสงครามของม้ง
จากนั้นชนเผ่าม้งอพยพเข้าสู่ประเทศไทยโดยประมาณ 200 กว่าปีที่ผ่านมา จากหลักฐานที่น่าเชื่อถือได้ชี้ให้เห็นว่าการทำสงครามระหว่างม้งกับไทลื้อ คือ เชื้อสายตระกูลแซ่หาง ซึ่งปัจจุบันยังมีอยู่ในจังหวัดเชียงใหม่และที่สำคัญคือพิธีบวงสรวง เซ่นไหว้ ด้วยควายเผือกในปัจจุบันถึงก็ยังคงมีอยู่แต่ด้วยระยะเวลาที่ผ่านมาเนิ่นนาน ในปี พ.ศ. 2538 ในจัดพิธีบูชาเพื่อระลึกและขอบคุณปืนสามกระบอกดังกล่าวที่อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ปรากฏว่าคงเหลือแค่การเซ่นไหว้ที่ไม่มีพิธีรีตองมากเหมือน เดิมอีก จากใช้ควยเผือก 13 ตัวก็เหลือแค่ 1 ตัวพร้อมด้วยดอกไม้ กระดาษเงินกระดาษทอง และสถานที่ก็ไม่จำเป็นต้องเป็นผาและถ้ำที่เคยพบปืนสามกระบอกนั้นอีก ขอเพียงเป็นแหล่งที่มีหน้าผาและถ้ำก็สามารถใช้ประกอบพิธีกรรมได้
ประวัติศาสตร์ชนชาติม้งจากการศึกษาของนักวิชาการ
ดร.ลิ ติ่ง กุย (Dr.Li Ting Gui) อ้างโดยเลอภพ (2536) ได้สรุปว่าการอพยพครั้งใหญ่ๆในอดีตของชนชาติม้งตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันมี อยู่ทั้งสิ้น 4 ครั้งด้วยกันคือ
ครั้งที่ 1 อพยพออกจากบริเวณทางใต้ของสองฝั่งแม่น้ำเหลือหรือแม่น้ำฮวงโห (Southern Poition of the Yellow River)
ราวๆ 5,000 ปีที่ผ่านมา ม้งได้อาศัยอยู่ 2 ฝั่งทางตอนใต้ของแม่น้ำเหลือง ในขณะนั้นม้งมีชื่เรียกว่า จู่ลี่ (Tyuj Liv) ชนกลุ่มจู่ลี่นี้เป็นชนกลุ่มแรกที่รู้จักใช้ทองสัมฤทธิ์(Brouze) รู้จักปลูกข้าว และการเลี้ยงปลาในนาข้าว ประชากรทุกคนมีความผาสุขภายใต้การปกครองของกษัตริย์ “ชิยู” (Chi Yu) ในขณะเดียวกันได้มีชนกลุ่มหนึ่งคือ “ชาวฮั่น” (Huaj) ได้อพยพมาจากทางทิศตะวันตกเข้ามาอยู่ในบริเวณของชนชาติจู่ลี่ ผู้นำของชนกลุ่มฮั่นคือ ฮั่นหย่า (Hran Yuan) ทั้งสองกลุ่มนี้อยู่ด้วยกันไม่นาเกิดความขัดแย้งกันจนถึงขั้นสู้รบกัน ผลสุดท้ายชนชาติจู่ลี่พ่ายแพ้แก่ชนชาติฮั่น ทั้งนี้เพราะชนชาติฮั่นมีประชากรเยอะกว่า ในขณะที่ชนชาติจู่ลี่เป็นเกษตรกร ชาวไร่ ชาวนา จึงได้ถอยร่นลงมาทางใต้ใกล้กับแม่น้ำแยงซี (Tangrse River)
ครั้งที่ 2 อพยพออกจากบริเวณปกครองม้ง (San Miao)
หลังจากที่ชาวจู่ลี่ได้อพยพลงมาทางตอนใต้ ได้มีการรวมกับชนพื้นเมือง “ซานเมียว” (San Miao) ขึ้น ชาวม้งและชนพื้นเมืองมีความรักใคร่อย่างแน่นแฟ้น ชาวม้งจึงเรียกกลุ่มนี้ว่า “จีน”(Suay) แต่กลุ่มฮั่นยังคงติดตามมารุกรานคอยทำร้ายฆ่าฟันชาวม้งหรือจู่ลี่อยู่ เรื่อยๆ ชาวม้งจึงได้แตกออกเป็น 3 กลุ่ม หนีลงทางใต้ ในปัจจุบันนี้คือ มณฑลกวางสี (Guang – ti) มรฑลกวางโจและมณฑลยูนาน (Yuu-nan) อีกส่วนหนึ่งหนีร่นลงมาทางตะวันตกมุ่งหน้าไปยังซานเหวย (San Wei) ซึ่งกลับกับประเทศมองโกเลีย และตอนหลังก็ได้อพยพลงมาอยู่ในมณฑลยูนาน (Yuu-nan)
ครั้งที่ 3 อพยพออกจากการปกครองของกษัตริย์จู (Chou Kingdom/Chou State)
ประมาณ 1,000 ปีก่อนคริสตกาลประชาชนได้แก่กลุ่มชน 7 กลุ่ม ซึ่งแยกตัวเองออกเป็นประเทศปกครองและในจำนวน 1 ใน 7 ประเทศเหล่านั้น มีม้งเป็นประเทศหนึ่ง มีกษัตริย์ชื่อว่า “จู” ซึ่งมีอยู่สองคนในตระกูลซังหรือแซ่โซ้ง คนที่หนึ่งชื่อ “ชงยี่” คนที่สองชื่อ “ซงจี” ปีค.ศ. 221 ได้มีชนกลุ่มชิน (Chin) ได้เข้ามาต่อสู้แย่งชิงประเทศของกษัตริย์จูจนพ่ายแพ้ ชาวม้งได้แตกระส่ำระสายไปตามที่ต่างๆ มีกลุ่มหนึ่งลุกขึ้นต่อสู้ อีกกลุ่มหนึ่งถอยร่นลงไปอยู่กับกลุ่มม้งในมณฑลกวางโจ เสฉวน และมณฑลยูนาน ต่อมาในปี ค.ศ. 1640 – 1919 ได้มีชาวม้งกลุ่มหนึ่งอพยพลงมาอยู่ในกลุ่มประเทศอินโดจีน(Indochina) ทางตอนใต้ของจีนซึ่งก็ได้แก่กลุ่มประเทศเวียตนาม ลาว และไทย
ครั้งที่ 4 ค.ศ. 1970 –1975 การอพยพออกจากประเทศลาว
ระบบการปกครองคอมมิวนิสต์ได้แผ่ขยายสู่กลุ่มประเทศอินโดจีน ทำให้กลุ่มม้งในลาวต้องแตกกระจายไปทั่วโลก การอพยพของชนชาติม้งในครั้งนี้นับได้ว่ามากที่สุดและอพยพไปไกลที่สุดเท่าที่ เคยมีมาในประวัติศาสตร์ของชนชาติม้ง ชาวม้งมากมายได้อพยพย้ายไปอาศัยอยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศศ ออสเตรเลีย แคนาดา อาร์เจนตินา ฝรั่งเศส และอิตาลี
การอพยพเข้าสู่ประเทศไทย
ชนชาติม้งกลุ่มแรกที่อพยพเข้าสู่ประเทศไทยนั้นไม่มีหลักฐานใดๆบ่งชี้ได้ชัดเจน แต่จากเอกสารของสถาบ้นวิจัยชาวเขาคาดว่าเริ่มต้นอพยพเข้ามาทางตอนเหนือของ ประเทศไทย ในราวปี พ.ศ. 2387 – 2417 จุดที่ชนเผ่าม้งเข้ามามีอยู่ด้วยกัน 3 จุดคือ
จุดที่ 1
เข้ามาทางห้วยทราย – เชียงของ อำเภอ เชียงของ จังหวัดเชียงราย ซึ่งอยู่ทางทิศเหนือสุด เป็นจุดที่เข้ามาก่อน และเข้ามามากที่สุด หลังจากนั้นแยกย้ากระจัดกระจายไปตามแนวทองของเส้นเขามุ่งไปทางทิศตะวันตกสู่ จังหวัดเชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ตากและสุโขทัย
จุดที่ 2
เข้ามาทางไชยบุรี ปัว และทุ่งช้าง เขตอำเภอทุ่งช้าง จังหวัดน่าน แล้วบางกลุ่มได้อพยพลงสู่ทางใต้และทางตะวันตกเข้าสู่จังหวัดแพร่ พิษณุโลก เพชรบูรณ์ กำแพงเพชร และจังหวัดตาก
จุดที่ 3
เข้าทางภูคา – นาแห้ว และด่านซ้าย อำเภอนาแห้ว และอำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย แล้วบางกลุ่มได้เข้ามาสู่จังหวัดเพชรบูรณ์ในที่สุด (สุนทรี, 2524 : อ้างโดยประสิทธิ์, 2531)
นอกจากทั้งสามจุดนี้แล้ว จุดหนึ่งที่ชาวม้งได้อพยพผ่านมาแต่ไม่มีใครกล่าวถึงคือ เข้ามาทางอำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ โดยผ่านมาทางประเทศพม่า ช่องดอยอ่างขาง ซึ่งเป็นที่กล่าวขันกันว่า ม้งกลุ่มนี้คือกลุ่มที่หลงทางจากการอพยพจากจุดที่1 ส่วนสาเหตุของการหลงทางครั้งนี้จากการบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่ได้เล่ากล่าว ไว้ว่ากลุ่มม้งที่อพยพมาก่อนเกิดความไม่ซื่อเมื่อมาถึงทางแยก(สองแพร่ง) ได้นำกิ่งไม้ขวางทางเส้นที่ตนเดินผ่าน กลุ่มหลังตามมาเข้าใจว่าทางที่นำกิ้งไม้มาขาวงนั้นมิใช่เส้นทางที่กลุ่มก่อน อพยพผ่าน จึงอพยพผ่านอีกเส้นทางหนึ่งซึ่งขึ้นไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ คือมุ่งเข้าสู่ประเทศพม่าตอนใต้ กลุ่มนี้มีน้อยได้กระจายสู่จังหวัดแม่ฮ่องสอนและจังหวัดเชียงใหม่ฝั่งตะวัน ตกเฉียงเหนือ
ขอบคุณเนื้อหาข้อมูลเเละผู้เขียนจาก
เว็บ http://www.hmongthailand.com/index.php?mo=5&qid=551734
ที่มา : http://www.geocities.com/hmongthailand/hmongknowledge.html
คำว่า “ม้ง”(Mong)หรือ “ฮม้ง” (Hmong) จากการให้ความหมายของ “นายกั้งซุ แซ่ย่าง” ซึ่งเป็นผู้เฒ่าผู้แก่ที่น่าเคารพคนหนึ่งของชาวม้ง(ปัจจุบันปีคศ. 2000 รวมมีอายุได้ 66 ปี อาศัยอยู่ที่ บ้านใหม่หนองหอย อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่) ได้ให้ความหมายไว้ว่า “ม้ง” หรือ “ฮม้ง” คือ กลุ่มหรือความเป้ฯชนชาติในตัวเอง แต่ในขณะเดียวกันม้งชอบเรียกตัวเองว่า “เป๊ะม้ง” และตามด้วยสายสกุลของตัวเอง เช่น เป๊ะม้งย่าง ก็หมายถึงสายสกุลแซ่ย่างเป็นต้น คำว่า “เป๊ะ” แปลตรงตัวได้ว่า “สาม” และบางทีก็หมายถึง “พวกเรา” “เป๊ะ”นี้มีต้นสายปลายเหตุมาจากนิยายปรัมปราที่เป็นการให้เกียรติแก่ กษัตริย์ม้งพระองค์หนึ่งซึ่งมีอยู่ 3 เศียร (ดูรายละเอียดประวัติม้ง) ถึงแม้ว่าชนเผ่าม้งจะเป็นชนกลุ่มหนึ่งที่รักความสงบและความยุติธรรม แต่ในยามศึกศึกสงคราม จะเป็นนักรบที่กล้าหาญต่อสู้อย่าดุดันและเหี้ยมโหด เด็ดขาด แต่ม้งจะถูกเรียกจากชนชาติอื่นๆว่า “แม้ว” “เมี่ยว” หรือ “เมี๊ยวจซึ”(ออกเสียงตัวจอควบกล้ำกับซึ) ซึ่งในภาษจีนแปลว่า “หนูตาบอด” สาเหตุเนื่องจากการก่อทำศึกสงครามกันระหว่างชนชาติจีนและม้งในอดีตที่ ยาวนานซึ่งนับได้ว่าม้งเป็นศัตรูตัวฉกาจตัวหนึ่งของชนชาติจีนมาโดยตลอด และด้วยจำนวนประชากรม้งที่น้อยกว่าจึงมักจะแพ้สงครามอยู่เสมอๆและต้องแตกทัพ หนีกระจายเอาตัวรอดเหมือนหนูตาบอด ละทิ้งชาติของตัวเองเพื่อเอาชีวิตรอด ดังนั้นม้งจึงไม่นิยมชมชอบให้ใครมาเรียกสรรพนามตัวเองว่า “แม้ว” “เมี๊ยว”หรือ “เมี๊ยวจซึ”
ประวัติศาสตร์และความเป็นมาของชนเผ่าม้ง
ตาม ตำนานเล่าขานกันว่า ชนเผ่าม้งอาศัยอยู่ในดินแดนที่หนาวเหน็บมีกลาวันหกเดือนและกลางคืนหกเดือน ม้งเป็นชนชาติหนึ่งที่แปลกแยกไปจากคนเอเชีย และโดยแท้จริงแล้วม้งอาจจะมิใช่คนเอเชีย เป็นกึ่งฝรั่งกับเอเชีย หรือกึ่งคอเคเซียมกึ่งมองโกลอย นอกจากนั้นม้งยังมีนิทานปรัมปราเล่าถึงตำนานการสร้างโลก สร้างมนุษย์และความเชื่อเกี่ยวกับการคืนชีพของกษัตริย์ม้ง จากการที่ได้พูดคุยกับผู้เฒ่าผู้แก่และผู้ที่มีความรู้เกี่ยวกับชนเผ่าม้ง จากการเล่านิยายปรัมปราและนิทาน(เนื่องจากม้งไม่มีภาษาเขียนเป็นของตัวเอง และไม่เคยมีการบันทึกเหตุการณ์ต่างๆเป็นลายลักษณ์อักษรจึงใช้วิธีการบอกเล่า แบบรุ่นสู่รุ่น) ซึ่งไม่สามารถจำชื่อกษัตริย์และผู้นำของจีนได้มากนัก แต่พอจะสรุปได้ดังนี้
มีกษัตริย์ม้งผู้ครองเมืองหนึ่งมีพระมเหสี 7 พระองค์ กษัตริย์พระองค์นี้เกิดความไม่พอใจพระธิดาองค์หนึ่งจึงได้ทำการเนรเทศพระ ธิดาองค์ดังกล่าวออกไปจากนคร พระธิดาฯได้ตกทุกข์ได้ยากมากจึงกราบวิงวอนขอความช่วยเหลือจากเทวดา เทวดาจึงประทานผลไม้ให้รวมทั้งได้ช่วยให้พระธิดามีพระราชโอรสสามพระองค์ ต่อมาเมื่อพระโอรสองค์เล็กประสูตรออกมาปรากฏว่ามีสามเศียรในร่างเดียว และก่อนที่พระธิดาจสิ้นพระชนม์ได้บอกชื่อผู้ครองเมืองและทิศทางการกลับสู่ เมื่องให้ทั้งโอรสทั้งสามพระองค์ทราบ และบอกว่าเจ้าผู้ครองเมืองนั้นแท้จริงก็คือปู่ของพระโอรสทั้งสามนั่นเอง และได้ให้พระโอรสทั้งสามขอสิ่งที่อยากได้จากผู้เป็นพระมารดา องค์ที่มีสามเศียรได้ขอให้มีสติปัญญาเฉลียวฉลาด ภายหลังเมื่อพระมารดาเสด็จสวรรคตแล้วทั้งสามพระองค์ก็ได้ออกเดินทางตามหาปู่ ตามรับสั่งของพระมารดาเมื่อทรงพบปู่แล้วก็ทรงเล่าเรื่องทั้งหมดให้ผู้เป็น ปู่ทราบและได้ทำการศึกษาเล่าเรียนหนังสือ พระโอรสองค์ที่มีสามเศียรทรงพระปรีชา สามารถกว่าอีกสองพระองค์ กษัตริย์จึงได้ตรัสว่าหากพระองค์สวรรคตให้แต่งตั้งหลานที่มีสามเศียรนี้ขึ้น ครองราชแทน เมื่อข่าวทราบถึงพระมเหสีทั้งเจ็ดของกษัตริย์เจ้าครองเมือง พระมเหสีทั้งเจ็ดก็ทรงไม่พอใจเป็นอย่างยิ่งหาลู่ทางจะประทุษร้ายหลานทั้งสาม ของพระราชา ทั้งสามพระองค์จึงได้หลบหนีออกจากนครไปและได้ไปร่ำเรียนวิชาความรู้ต่างๆกับ พระอาจารย์คนหนึ่ง เมื่อร่ำเรียนจนเก่งกล้าซึ่งวิชาความรู้แล้วจึงได้ร่ำลาอาจารย์ออกเดินทาง ต่อ ประจวบเหมาะกับในช่วงเวลาดังกล่าวได้เกิดช่วงเริ่มต้นของการก่อศึกสู้รบทำ สงครามกันระหว่างชนเผ่าม้งกับชนชาติจีน หลังจากการทำสงครามเป็นระยะเวลาที่ยาวนานก็ไม่ปรากฏว่ามีผู้ใดพ่ายแพ้หรือ ชนะ แต่สภาวะการณ์ของชนชาติม้ง(ในขณะนั้นยังมีเมืองและประเทศของตนเองจึงยังมี ชาติเป็นของตัวเองอยู่)เสียเปรียบอย่างเห็นได้ชัด กษัตริย์ทรงเห็นว่าหากปล่อยให้เหตุการณ์เป็นเช่นนี้อีก ชนชาติม้งอาจเสียทีได้ จึงได้มีรับสั่งให้ตามหาหลานชายที่มีสามเศียรมาครองราชบัลลังค์ออกรบแทน เนื่องจากตนเองก็ชราภาพมากแล้วประกอบกับหลานที่มีสามเศียรคนนี้เป็นคนเฉลียว ฉลาด ปฏิภาณ ไหวพริบดีเป็นเลิศ เมื่อหลานชายฯขึ้นครองราชย์แล้วก็ได้ทำการต่อสู้กับกองทัพจีนด้วยความหาญ กล้าและไม่เสียทีข้าศึกง่ายๆเหมือนดังเช่นแต่ก่อนอีก ไม่มีฝ่ายใดแพ้ ชนะ แต่ผู้คนพากันล้มตายเป็นจำนวนมาก กษัตริย์ทั้งสองฝ่ายจึงได้ทำสัญญาตกลงสงบศึกแล้วมีการแบ่งเขตแดนการปกครอง กัน ให้กษัตริย์ม้งปกครองเมืองป้างเต่อหล่าง (สันนิษฐานว่าปัจจุบันคือประเทศมองโกเลีย) และกษัตริย์จีนปกครองเมืองปี่เจิ้ง ความสงบสุขจึงกลับคืนมาอีกครั้ง ต่อมาเมื่อกษัตริย์ทั้งสองพระองค์เสด็จสวรรคตและกษัตริย์องค์ใหม่ขึ้นครอง ราชแทน ต่างฝ่ายก็ต่างอ้างกรรมสิทธิ์ในดินแดนต่างๆว่าเป็นของตัวเอง จึงมีการตรวจสอบหลักฐานการแบ่งเขตแดนจากกษัตริย์ทั้งสองพระองค์ก่อน ปรากฏว่าเมื่อครั้งที่ทหารจีนและทหารม้งทำการแบ่งเขตแดนนั้น ทหารจีนใช้เสาดินปักหลักเป็นหลักฐาน ส่วนทหารม้งใช้กอหญ้ามัดเป็นจุดๆ และทหารจีนได้แอบเผากอหญ้าม้งจนไหม้เป็นจุนหมด ดังนั้นเมื่อเกิดการตรวจสอบขึ้นจึงไม่เหลือสัญลักษณ์ที่แสดงอาณาเขตดินแดน ของม้งอีก กลายเป้ฯสาเหตุของการประทุก่อศคึกสงครามขึ้นมาใหม่ ขณะเดียวกันชนชาติม้งได้แตกแยกออกเป็นสามกลุ่ม มีสองกลุ่มได้ยอมสวามิภักดิ์กับกษัตริย์จีน เป็นผลให้ชนชาติม้งต้องพ่ายแพ้สงครามอย่างย่อยยับและได้แตกกระจายอพยพเข้า สู่เวียตนามแลถอยร่นลงมาทางตอนใต้ของประเทศจีนคือ ยูนาน ดังนั้นความเป็นชาติผืนแผ่นดินของม้งและการมีพระมหากษัตริย์เป็นผู้นำของชน ชาติม้งจึงได้สิ้นสุดลงที่นครป้างเตอหลาง อันเป็นนครอันเป็นที่รักของชนชาติม้งในอดีต หรือนครที่ชาวจีนเรียกกันว่า “เมี้ยวจซึ” แต่นั้นมา
ตังแต่นั้นมาม้งก็ไม่มีประเทศชาติ รวมทั้งราชธานีและกษัตริย์เป็นของตนเองอีก นอกจากหัวหน้าหรือผู้นำที่สำคัญๆเท่านั้น ในกลุ่มที่อพยพลงมาทางใต้ของจีนมณฑลยูนานในปัจจุบันนี้ ได้มีผู้นำม้งเกิดขึ้นอีกหลายคน ผู้นำคนแรกนั้นแม้แต่คมหอก คมดาบก็ไม่สามารถที่จะระคายผิวได้ จุดเดียวที่จะสามารถทำให้ผู้นำม้งคนนี้ตายได้ก็คือ จุดตรงทวารหนัก ซึ่งจุดนี้ทหารจีนไม่อาจล่วงรู้ได้เลย จึงวางแผนออกอุบายให้สาวชาวจีนซึ่งมีใบหน้าและรูปร่างที่สวยงามนางหนึ่งมา แต่งงานกับผู้นำม้งคนนี้ เมื่อแต่งงานอยู่กินกันนั้น สาวจีนผู้นี้ได้ปรนนิบัติผู้นำม้งได้อย่างดียิ่ง จนเป็นที่พอใจของผู้นำม้งเป็นอันมาก วันหนึ่งสาวชาวจีนก็ได้แกล้งถามผู้นำม้งว่าทำไมในเวลาออกศึกสู้รบทำสงคราม จึงไม่มีอะไรทำอันตรายได้เลย และด้วยความไว้ใจผู้นำม้งจึงตอบโดยไม่ได้เฉลียวใจว่าแท้จริงแล้วจุดที่ สามารถทำให้ตายได้อยู่ที่ทวาร เมื่อสาวจีนรู้ความจริงกระจ่างชัด จึงได้วางกลอุบายว่าไหนๆก็ร่วมทุกข์ร่วมสุขกันมานานแล้วแต่เหลืออย่างเดียว ที่ไม่เคยได้ปรนนิบัติผู้นำม้งเลยก็คือ การช่วยชำระทำความสะอาดให้ผู้นำม้งหลังการขับถ่าย และด้วยความไว้ใจประกอบกับความรักที่มีให้สาวชาวจีนอย่างเต็มล้นจึงได้ ยินยอมให้สาวชาวจีนปรนนิบัติ เมื่อทำกิจธุระเสร็จจึงยินยอมให้สาวจีนมาช่วยชำระล้างทวารให้ และเมื่อสบโอกาสสาวชาวจีนผู้นั้นก็ได้ใช้มีดที่เตรียมไว้จ้วงแทงทวารของผู้ นำม้งจนตายและตั้งแต่นั้นมาชนชาติม้งก็แตกและหนีกระจายอีกครั้งหนึ่ง ต่อมามีผู้นำม้งอีกคนหนึ่ง คนนี้ชื่อว่า “ว่างพั้วะซึ” และได้ทำศึกสงครามกับจีนแต่แพ้สงครามผู้นำของจีนคือ “ซอยี่” ได้สมรสกับภรรยาของผู้นม้ง และต่อมาก็มีผู้นำม้งอีกคนหนึ่งชื่อว่า “หว่างหวือ ย่าง” ได้ทำศึกสงครามกับผู้นำจีน (ซ่อยี่) และได้รับชัยชนะ จึงสถาปนาตัวเองเป็นผู้นำม้งขึ้นปกครองเมืองแทน และได้สมรสกับภรรยาของซอยี่ (เดิมเป็นภรรยาของว่างพัวะซึ) ครองเมืองจนเสียชีวิตลงได้มีตะกูแลแซ่เฒ่าขึ้นมาเป็นผู้นำครองเมืองแทน (ปัจจุบันตระกูลสายนี้มีอยู่เขตเชียงใหม่) และได้ทำศึกสงครามกับจีนมาเป็นเวลานานไม่มีผู้แพ้ชนะ จึงได้ทำสัญญาสงบศึกอีกครั้งและทำการส่งลูกหลานแต่งงานข้ามชนชาติกันขึ้น ทั้งนี้ผู้นำม้งคนนี้มีเต่าหินอยู่ตัวหนึ่งทุกปีตกไข่ 1 ฟอง 9 ปี ตก 9 ฟอง ซึ่งคนจีนเชื่อว่าเป็นสาเหตุที่จีนไม่สามารถชนะสงครามกับม้งได้ ชนชาติจีนจึงออกอุบายเพื่อยืมเต่าหินนั้นไปแล้วทำการต้ม 3 วัน 3 คืน จึงนำกลับมาส่งแล้วติดตามผลปรากฏว่าเต่หินไม่สามารถตกไข่ได้อีก ชนชาติจีนจึงได้ทำสงครามกับม้งอีกครั้งหนึ่ง เมื่อเกิดการสู้รบฝ่ายทายาทจีนที่ได้ส่งมาแต่งงานกับชนชาติม้งได้ทำการก บฎต่อสู้จากในเมืองออกในขณะเดียวกันกองทัพจีนก็ได้กรีฑาทัพจากข้างนอกบุก เข้ามาในตัวเมืองด้วย ในที่สุดม้งแพ้สงครามและถูกฆ่าล้างเผ่าพันธ์ที่นี่ ส่วนที่เหลืออพยพเข้าสู่ลาว ประมาณ 300 ปี หรือประมาณ พ.ศ. 2200 เป็นการทำศึกสงครามกับชนชาติจีนเป็นครั้งสุดท้ายในประวัติศาสตร์ของชนชาติ ม้ง
เมื่อชนชาติม้งถูกไล่ล่าจึงล่าถอยอพยพขึ้นสู่ภูเขา เนื่องจากเหตุการณ์บังคับให้ต้องหนี่ขึ้นที่สูง หากยังอาศัยอยู่ในที่ราบจะถูกฆ่าล้างเผ่าพันธ์ ส่วนที่เหลือจะถูกตรวนโซ่ที่คือและแขน จากนั้นผู้นำของจีนและม้งก็ได้ทำการสาปแช่งกันไว้ว่า ในเมื่อม้งเป็นพี่ จีนเป็นน้อง แต่ทำไมต้องฆ่าล้างเผ่าพันธ์กันขนาดนี้ เมื่อม้งตายไปจะกลับมาเกิดเป็นเสือและจะทำร้ายคนจีน (ม้งตระกูลแซ่ย่าง แซ่หางเชื่อว่าเมื่อเสียชีวิตแล้วจะกลายเป็นเสือ ความเชื่อนี้ยังมีหลงเหลืออยู่บ้างในปัจจุบัน) ส่วนผู้นำจีนได้สาปแช่งว่า หากวันใดม้งกลับลงมาสู่พื้นราบจะเจ็บไข้ได้ป่วยล้มตาย จากนั้นม้งจึงอยู่อาศัยแต่บนภูเขาไม่ยอมลงสู่พื้นราบอีก ผู้นำม้งจึงกล่าวว่าในเมื่อไม่สามารถกลับลงมาสู่พื้นที่ราบได้อีกแล้วสิ่ง ที่จำเป็นต้องใช้ในชีวิตประจำวันได้แก่ เกลือ ไหม ด้าย ฝ้ายต่างๆจะหาจากที่ไหนได้ ผู้นำจีนตอบผู้นำม้งว่าไม่ว่าชนชาติม้งจะไปถึงไหน คนจีนจะนำสิ่งจำเป็นเหล่านี้ตามไปขายให้ถึงที่นั้น ฉะนั้นจึงเห็นได้ว่าไม่ว่าจะเป็นอดีตหรือกระทั่งปัจจุบันนี้ไม่ว่าชนชาติม้ง จะอยู่ไกลสุดยอดเขา ปลายฟ้าเพียงใดชนชาติจีนก็จะนำฝ้าย ไหม ด้าย เกลือไปขายถึงที่นั่นเป็นคู่ตลอดกาลหลายชั่วอายุคน ส่วนคำสาปแช่งของผู้นำจีนที่มีต่อม้ง หลังจากนั้นม้งลงสู่พื้นราบก็จะเกิดการเจ็บป่าวยล้มตายตามคำสาปแช่ง ท่านผู้เฒ่า “จ้งเปา แซ่ย่าง” (ขณะนี้คือปี2000 ท่านผู้เฒ่ามีอายุได้ 86 ปี อาศัยอยู่ที่ บ้านใหม่หนองหอย อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่) ได้เล่าให้ฟังว่า เมื่อประมาณเจ็ดสิบกว่าปีมาแล้วเมื่อสมัยที่ตัวเองยังเป็นหนุ่มอยู่ตนเองและ พรรคพวกที่เป็นพี่น้องม้งด้วยกันมีความจำเป็นต้องลงมาหาซื้อ เกลือ เสื้อผ้า และของใช้ที่จำเป็นต่างๆในตัวเมืองอำเภอฝาง และอำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่
เพื่อนำกลับขึ้นไป ใช้ ปรากฏว่าบางคนต้องล้มป่วยเสียชีวิตระหว่างทาง หรือพอกลับถึงบ้านบนภูเขาก็มีอาการเจ็บป่ายล้มหมอนนอนเสื่อเป็นเวลาเดือนๆ ซึ่งช่วงเวลาดังกล่าวน่าจะเป็นช่วงประมาณปีพ.ศ. 2475 – 2500 และว่ากันว่าคำสาปแช่งดังกล่าวจะสิ้นสุดลงประมาณ ปี พ.ศ. 2500 และก็เป็นเช่นนั้นจริงดังจะเห็นได้ว่าหลังจากนั้นชาวม้งก็เริ่มค่อยๆลงกลับ ลงมาสู่พื้นที่ราบได้ตามลำดับในช่วง 30 ปีหลังๆนี้เท่านั้นเอง เริ่มมีการส่งบุตรหลานเข้ามาเรียนหนังสือในตัวเมืองมากขึ้น รวมทั้งเศรษฐกิจการค้าต่างๆก็เริ่มมีปฏิสัมพันธ์กับสังคมพื้นราบมากขึ้น จะเห็นได้ว่าความเจริญและโครงการพัฒนาต่างๆก็เพิ่งจะเริ่มเข้าไปในหมู่บ้าน ม้งได้เพียงไม่กี่ปีที่ผ่านมาแค่นั้นเอง
ย้อนกลับไปยังกลุ่มม้งที่ได้อพยพเข้าสู่ประเทศลาว ก่อนจะอพยพเคลื่อนสู่ประเทศไทยพอจะสรุปคร่าวได้ดังนี้ สำหรับกลุ่มม้งที่อพยพเข้าสู่ประเทศลาว ส่วนมากจะอยู่เย็นเป็นสุขถึงแม้ว่าจะได้มีการทำสงครามครังใหญ่ในช่วงประมาณ 3,500 ปีที่ผ่านมาก็ตามคือประมาณปี พ.ศ . 2180 แต่ก็เป็นสงครามใหญ่ครั้งเดียวเท่าน (นี้ไม่ได้รวมถึงการทำสงครามการปฏิวัติในประเทศลาวช่วงปี พ.ศ.2180 ในสมัยของนายพลวั่ง เปา) ซึ่งได้ทำสงครามกับลื้อ หรือไทลื้อเป็นเวลานานเพราะลื้มีจำนวนทหารมากกว่าชนชาติม้งหลายสิบเท่า ทั้งสองฝ่ายล้มตายเสียหายอย่างมาก ซึ่งม้งกำลังตกอยู่สภาวะการณ์เสียงเปรียบอย่างมาก ในขณะนั้นม้งกลุ่มหนึ่งได้อพยพหนีภัยสงครามเข้าไปในถ้ำได้พบเห็นปืนใหญ่อยู่ 3 กระบอก 2 กระบอกใหญ่ไม่สามารถที่จะขยับเคลื่อนไหวได้มีเพียงกระบอกเล็กที่สามารถขยับ ได้ แต่ไม่สามารถดึงได้ จึงได้บนบานความยเผือกตัวผู้ 13 ตัว จึงสามารถดึงปืนกระบอกเล็กออกมาได้ และอนุภาพของการยิงที่ร้ายแรงมาก เพราะถือเป็นปืนเทวดา จากนั้นจึงทำการสู้รบกับไทลื้อต่อ จากคำบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่ต่างๆ(เนื่องจากประวัติศาสตร์ไม่มีตัวหนังสือ ไว้บันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรจึงอาศัยการเล่าปากต่อปากรุ่นต่อรุ่นๆไป) ได้กล่าวว่า มีการสู้รบมาถึงเมืองเชียงแสน แต่หลักฐานไม่เด่นชัดว่าในปัจจุบันคืออำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงรายหรือไม่ ในที่สุดไทลื้อแพ้สงครามสงบศึก ม้งถอยทัพกลับเข้าสู่ประเทศลาวแต่ระหว่างการถอยทัพกลับนี้ไทลื้อหักหลังรวบ รวมพลครั้งใหญ่ทำสงครามกับม้งอีกครั้ง และการทำสงครามในครั้งนั้นเกิดการฆ่าล้างเผ่าพันธ์โดยม้งทำการฆ่าไทลื้อ อย่างเหี้ยมโหดในประวัติศาสตร์ม้งเท่าที่เคยมีมาของการทำสงครามของม้ง เด็กเล็กเด็กแดงถ้าเป็นผู้ชายจะถูกฆ่าหมด แม้แต่สตรีที่ตั้งทองก็ต้องฆ่าแม่ด้วยจนไทลื้อแพ้สงครามในที่สุดและถูกฆ่า ล้างเผ่าพันธ์ ส่วนหนึ่งได้อพยพมาเข้าสู่ประเทศไทย และผู้นำม้งคนสุดท้ายเสียชีวิตในสนามรบครั้งนี้ก็คือ สายตระกูลแซ่หาง ซึ่งเป็นครั้งสุดท้ายของการทำสงครามของม้ง
จากนั้นชนเผ่าม้งอพยพเข้าสู่ประเทศไทยโดยประมาณ 200 กว่าปีที่ผ่านมา จากหลักฐานที่น่าเชื่อถือได้ชี้ให้เห็นว่าการทำสงครามระหว่างม้งกับไทลื้อ คือ เชื้อสายตระกูลแซ่หาง ซึ่งปัจจุบันยังมีอยู่ในจังหวัดเชียงใหม่และที่สำคัญคือพิธีบวงสรวง เซ่นไหว้ ด้วยควายเผือกในปัจจุบันถึงก็ยังคงมีอยู่แต่ด้วยระยะเวลาที่ผ่านมาเนิ่นนาน ในปี พ.ศ. 2538 ในจัดพิธีบูชาเพื่อระลึกและขอบคุณปืนสามกระบอกดังกล่าวที่อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ปรากฏว่าคงเหลือแค่การเซ่นไหว้ที่ไม่มีพิธีรีตองมากเหมือน เดิมอีก จากใช้ควยเผือก 13 ตัวก็เหลือแค่ 1 ตัวพร้อมด้วยดอกไม้ กระดาษเงินกระดาษทอง และสถานที่ก็ไม่จำเป็นต้องเป็นผาและถ้ำที่เคยพบปืนสามกระบอกนั้นอีก ขอเพียงเป็นแหล่งที่มีหน้าผาและถ้ำก็สามารถใช้ประกอบพิธีกรรมได้
ประวัติศาสตร์ชนชาติม้งจากการศึกษาของนักวิชาการ
ดร.ลิ ติ่ง กุย (Dr.Li Ting Gui) อ้างโดยเลอภพ (2536) ได้สรุปว่าการอพยพครั้งใหญ่ๆในอดีตของชนชาติม้งตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันมี อยู่ทั้งสิ้น 4 ครั้งด้วยกันคือ
ครั้งที่ 1 อพยพออกจากบริเวณทางใต้ของสองฝั่งแม่น้ำเหลือหรือแม่น้ำฮวงโห (Southern Poition of the Yellow River)
ราวๆ 5,000 ปีที่ผ่านมา ม้งได้อาศัยอยู่ 2 ฝั่งทางตอนใต้ของแม่น้ำเหลือง ในขณะนั้นม้งมีชื่เรียกว่า จู่ลี่ (Tyuj Liv) ชนกลุ่มจู่ลี่นี้เป็นชนกลุ่มแรกที่รู้จักใช้ทองสัมฤทธิ์(Brouze) รู้จักปลูกข้าว และการเลี้ยงปลาในนาข้าว ประชากรทุกคนมีความผาสุขภายใต้การปกครองของกษัตริย์ “ชิยู” (Chi Yu) ในขณะเดียวกันได้มีชนกลุ่มหนึ่งคือ “ชาวฮั่น” (Huaj) ได้อพยพมาจากทางทิศตะวันตกเข้ามาอยู่ในบริเวณของชนชาติจู่ลี่ ผู้นำของชนกลุ่มฮั่นคือ ฮั่นหย่า (Hran Yuan) ทั้งสองกลุ่มนี้อยู่ด้วยกันไม่นาเกิดความขัดแย้งกันจนถึงขั้นสู้รบกัน ผลสุดท้ายชนชาติจู่ลี่พ่ายแพ้แก่ชนชาติฮั่น ทั้งนี้เพราะชนชาติฮั่นมีประชากรเยอะกว่า ในขณะที่ชนชาติจู่ลี่เป็นเกษตรกร ชาวไร่ ชาวนา จึงได้ถอยร่นลงมาทางใต้ใกล้กับแม่น้ำแยงซี (Tangrse River)
ครั้งที่ 2 อพยพออกจากบริเวณปกครองม้ง (San Miao)
หลังจากที่ชาวจู่ลี่ได้อพยพลงมาทางตอนใต้ ได้มีการรวมกับชนพื้นเมือง “ซานเมียว” (San Miao) ขึ้น ชาวม้งและชนพื้นเมืองมีความรักใคร่อย่างแน่นแฟ้น ชาวม้งจึงเรียกกลุ่มนี้ว่า “จีน”(Suay) แต่กลุ่มฮั่นยังคงติดตามมารุกรานคอยทำร้ายฆ่าฟันชาวม้งหรือจู่ลี่อยู่ เรื่อยๆ ชาวม้งจึงได้แตกออกเป็น 3 กลุ่ม หนีลงทางใต้ ในปัจจุบันนี้คือ มณฑลกวางสี (Guang – ti) มรฑลกวางโจและมณฑลยูนาน (Yuu-nan) อีกส่วนหนึ่งหนีร่นลงมาทางตะวันตกมุ่งหน้าไปยังซานเหวย (San Wei) ซึ่งกลับกับประเทศมองโกเลีย และตอนหลังก็ได้อพยพลงมาอยู่ในมณฑลยูนาน (Yuu-nan)
ครั้งที่ 3 อพยพออกจากการปกครองของกษัตริย์จู (Chou Kingdom/Chou State)
ประมาณ 1,000 ปีก่อนคริสตกาลประชาชนได้แก่กลุ่มชน 7 กลุ่ม ซึ่งแยกตัวเองออกเป็นประเทศปกครองและในจำนวน 1 ใน 7 ประเทศเหล่านั้น มีม้งเป็นประเทศหนึ่ง มีกษัตริย์ชื่อว่า “จู” ซึ่งมีอยู่สองคนในตระกูลซังหรือแซ่โซ้ง คนที่หนึ่งชื่อ “ชงยี่” คนที่สองชื่อ “ซงจี” ปีค.ศ. 221 ได้มีชนกลุ่มชิน (Chin) ได้เข้ามาต่อสู้แย่งชิงประเทศของกษัตริย์จูจนพ่ายแพ้ ชาวม้งได้แตกระส่ำระสายไปตามที่ต่างๆ มีกลุ่มหนึ่งลุกขึ้นต่อสู้ อีกกลุ่มหนึ่งถอยร่นลงไปอยู่กับกลุ่มม้งในมณฑลกวางโจ เสฉวน และมณฑลยูนาน ต่อมาในปี ค.ศ. 1640 – 1919 ได้มีชาวม้งกลุ่มหนึ่งอพยพลงมาอยู่ในกลุ่มประเทศอินโดจีน(Indochina) ทางตอนใต้ของจีนซึ่งก็ได้แก่กลุ่มประเทศเวียตนาม ลาว และไทย
ครั้งที่ 4 ค.ศ. 1970 –1975 การอพยพออกจากประเทศลาว
ระบบการปกครองคอมมิวนิสต์ได้แผ่ขยายสู่กลุ่มประเทศอินโดจีน ทำให้กลุ่มม้งในลาวต้องแตกกระจายไปทั่วโลก การอพยพของชนชาติม้งในครั้งนี้นับได้ว่ามากที่สุดและอพยพไปไกลที่สุดเท่าที่ เคยมีมาในประวัติศาสตร์ของชนชาติม้ง ชาวม้งมากมายได้อพยพย้ายไปอาศัยอยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศศ ออสเตรเลีย แคนาดา อาร์เจนตินา ฝรั่งเศส และอิตาลี
การอพยพเข้าสู่ประเทศไทย
ชนชาติม้งกลุ่มแรกที่อพยพเข้าสู่ประเทศไทยนั้นไม่มีหลักฐานใดๆบ่งชี้ได้ชัดเจน แต่จากเอกสารของสถาบ้นวิจัยชาวเขาคาดว่าเริ่มต้นอพยพเข้ามาทางตอนเหนือของ ประเทศไทย ในราวปี พ.ศ. 2387 – 2417 จุดที่ชนเผ่าม้งเข้ามามีอยู่ด้วยกัน 3 จุดคือ
จุดที่ 1
เข้ามาทางห้วยทราย – เชียงของ อำเภอ เชียงของ จังหวัดเชียงราย ซึ่งอยู่ทางทิศเหนือสุด เป็นจุดที่เข้ามาก่อน และเข้ามามากที่สุด หลังจากนั้นแยกย้ากระจัดกระจายไปตามแนวทองของเส้นเขามุ่งไปทางทิศตะวันตกสู่ จังหวัดเชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ตากและสุโขทัย
จุดที่ 2
เข้ามาทางไชยบุรี ปัว และทุ่งช้าง เขตอำเภอทุ่งช้าง จังหวัดน่าน แล้วบางกลุ่มได้อพยพลงสู่ทางใต้และทางตะวันตกเข้าสู่จังหวัดแพร่ พิษณุโลก เพชรบูรณ์ กำแพงเพชร และจังหวัดตาก
จุดที่ 3
เข้าทางภูคา – นาแห้ว และด่านซ้าย อำเภอนาแห้ว และอำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย แล้วบางกลุ่มได้เข้ามาสู่จังหวัดเพชรบูรณ์ในที่สุด (สุนทรี, 2524 : อ้างโดยประสิทธิ์, 2531)
นอกจากทั้งสามจุดนี้แล้ว จุดหนึ่งที่ชาวม้งได้อพยพผ่านมาแต่ไม่มีใครกล่าวถึงคือ เข้ามาทางอำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ โดยผ่านมาทางประเทศพม่า ช่องดอยอ่างขาง ซึ่งเป็นที่กล่าวขันกันว่า ม้งกลุ่มนี้คือกลุ่มที่หลงทางจากการอพยพจากจุดที่1 ส่วนสาเหตุของการหลงทางครั้งนี้จากการบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่ได้เล่ากล่าว ไว้ว่ากลุ่มม้งที่อพยพมาก่อนเกิดความไม่ซื่อเมื่อมาถึงทางแยก(สองแพร่ง) ได้นำกิ่งไม้ขวางทางเส้นที่ตนเดินผ่าน กลุ่มหลังตามมาเข้าใจว่าทางที่นำกิ้งไม้มาขาวงนั้นมิใช่เส้นทางที่กลุ่มก่อน อพยพผ่าน จึงอพยพผ่านอีกเส้นทางหนึ่งซึ่งขึ้นไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ คือมุ่งเข้าสู่ประเทศพม่าตอนใต้ กลุ่มนี้มีน้อยได้กระจายสู่จังหวัดแม่ฮ่องสอนและจังหวัดเชียงใหม่ฝั่งตะวัน ตกเฉียงเหนือ
ขอบคุณเนื้อหาข้อมูลเเละผู้เขียนจาก
เว็บ http://www.hmongthailand.com/index.php?mo=5&qid=551734
ที่มา : http://www.geocities.com/hmongthailand/hmongknowledge.html
วันพุธที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2553
SUAV TEB...KUJ YOG HMOOB li CHAW
SUAV TEB...KUJ YOG HMOOB li CHAW...
Kuv xav hais rau 3 HMOOB tias CHINA/TUAM TSHOJ/TSHOOB KUJ peb hais tias yog SUAV TEB xwb no...Qhov TSEEB
CHINA/TUAM TSHOJ kuj yog HMOOB CHAW...Raws peb HMOOB KEEB KWM peb yeej tsis muaj zaj dab neeg twg hais
txog 1 lub teb chaws peb nyob yav nram ntej ua ntej lub teb chaw TUAM CHOJ li...
Nyob rau DAB NEEG KEEB KWM TUAM TSHOJ...SUAV yeej muaj ntaub ntawv tseg tias pib txij li thaum SUAV nyob lub teb chaw
TUAM TSHOJ nov twb pib yeej muaj HMOOB nyob lawm thiab...SUAV yeej lees paub tias HMOOB YOG SUAV 1 TUG KWV TIJ...
Txhais tau tias...SUAV TEB los kuj yog HMOOB CHAW tib yam...
Yog li 3 HMOOB yeej muaj cai nyob TUAM TSHOJ thiab muaj cai los ua TUS TSWV rau lub teb chaw TUAM TSHOJ tib yam li SUAV...
3 HMOOB yeej muaj cai los UA NOM...UA TSWV...TSWJ FWM lub teb chaws TUAM TSHOJ tib yam li haiv neeg SUAV...
Yav nram tej...3 HMOOB yeej nyob muaj VAJ NTXWV...HUAB TAIS...MUAJ CIAM DEJ CIAM AV ...MUAJ NROOG thiab MUAJ VAJ LOOG
MUAJ NTAUB NTAWV...MUAJ TXUJ CI HMOOB nyob nra pwb paub xws lwm haiv neeg...Tab sis tej nov raug rhuav tshem tawm tag
lawm xwb los ntawm haiv Neeg Suav...
Txawm 3 HMOOB tsis muaj ...PHAU NTAWV KEEB KWM ...sau tseg los lub NTUJ yeej muaj QHOV MUAG POM...daim AV yeej muaj txhais
tes npog cia...3 HMOOB TEJ KEEB KWM thiab tej ROJ NTSHA...POB TXHA ...LUB NEEJ...yeej muab FAUS TAS rau hauv AV lub teb chaws
ที่มาบทความจาก
http://blog.tojsiab.com/blog_read.php?id=209
tus xau hmoob lubroob
วันพฤหัสบดีที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2553
เป่าแคนม้งส่งดวงวิญญาณสู่บรรพชน
เมื่อเอ่ยถึงเครื่องดนตรีของชาวม้ง ชื่อของ "เฆ่ง" ในภาษาม้ง หรือ "แคน" ในภาษาไทยจะต้องมาเป็นอันดับแรกอย่างแน่นอน เพราะเครื่องดนตรีชิ้นนี้ดำรงอยู่คู่กับชนเผ่าม้งมานานหลายชั่วอายุคน และทำหน้าที่สำคัญในการนำทางดวงวิญญาณผู้ล่วงลับให้เดินทางกลับไปหาบรรพชนชาวม้งที่อยู่อีกภพหนึ่ง เสียงแคนที่ถูกบรรเลงทุกบทเพลงล้วนมีความหมายสอดแทรกบอกเล่าเรื่องราวต่างๆ ให้กับดวงวิญญาณได้รับรู้ เป็นเสมือนเครื่องดนตรีที่สื่อระหว่างโลกมนุษย์และโลกวิญญาณ ดังนั้น หากงานศพใดไม่มีเสียงแคน งานศพนั้นก็จะไม่สมบูรณ์เพราะดวงวิญญาณไม่สามารถไปสู่สุคติได้
แคนม้งแบบดั้งเดิมจะทำด้วยไม้ไผ่ 6 ลำ ขนาดไม่เท่ากัน ประกอบด้วย เสียงตัวโน้ต 6 เสียง คือ โด เร มี ฟา ซอล และลา เสียงโดจะเกิดจากไม้ไผ่ที่มีขนาดสั้นและลำปล้องหนาที่สุดในบรรดาไม้ไผ่ทั้งหก หลังจากนั้น ขนาดของไม้ไผ่จะบางลงและยาวมากขึ้นเรื่อยๆ โดยไม้ไผ่ที่ยาวที่สุดจะมีขนาดบางที่สุดเป็นแหล่งกำเนิดเสียงโน้ตลา ซึ่งเป็นโน้ตเสียงสูงที่สุดในบรรดาหกเสียง แต่ละปล้องไม้ไผ่จะเจาะรูหนึ่งรู ด้านในมีลิ้นโลหะเพื่อให้เกิดเสียงต่างๆ ไม้ไผ่ทั้งหกจะถูกยึดรวมกันไว้ด้วย "เต้า" ซึ่งทำจากไม้เนื้อแข็ง (ดูภาพประกอบ) เวลาเล่นจะใช้ปากเป่าที่ปลายเต้าแล้วใช้นิ้วมือเปิดปิดรูบนลำปล้องไม้ไผ่แต่ละลำสลับกันไปมาทำให้เกิดเป็นเสียงเพลง ส่วนแคนสมัยใหม่จะทำจากท่อพีวีซีซึ่งเพิ่มความดังของเสียงได้มากกว่าและมีเสียงเบส (เสียงทุ้ม) เยอะกว่าแคนไม้ไผ่ แต่ความไพเราะและความนิยม จะสู้แบบไม้ไผ่ไม่ได้ ราคาของแคนทั้งสองแบบพอๆ กันประมาณ 3,500 บาทในปัจจุบัน
คนม้งเล่าถึงตำนานเครื่องดนตรีสืบต่อกันมาว่า ในอดีตกาลมีคนม้งอยู่ครอบครัวหนึ่ง มีพี่น้อง 7 คน วันหนึ่งผู้เป็นบิดาสิ้นชีวิตลง และบรรดาพี่น้องทั้ง 7 คนต้องการจัดงานศพเพื่อเป็นเกียรติให้กับผู้เป็นบิดา แต่ไม่รู้ว่าจะทำอย่างไรดี จึงได้ขอคำปรึกษาจากเทพเจ้า "ซียี" ซึ่งคนม้งมีความเชื่อว่าเป็นเทพเจ้าที่พระเจ้าส่งมาเพื่อช่วยเหลือมวลมนุษย์ในโลกและเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการกำหนดพิธีกรรมที่สำคัญของคนม้ง เทพเจ้าซียีได้แนะนำให้คนหนึ่งไปหาหนังสัตว์มาทำกลองไว้ตีและอีกหกคนไปหาลำไม้ไผ่ที่มีขนาดและความยาวไม่เท่ากันมาคนละอัน เรียงลำดับตามขนาด และอายุของแต่ละคน เมื่อเตรียมพร้อมแล้วให้คนหนึ่งตีกลอง และอีก 6 คน ที่เหลือเป่าลำไม้ไผ่ของตนบรรเลงเป็นเพลงเดียวกัน และเดินวนไปรอบๆ คนที่ตีกลองพร้อมกับมอบบทเพลงต่างๆ ให้
เมื่อเทพเจ้าซียีกล่าวเสร็จ พี่น้องทั้งเจ็ดจึงได้กลับไปจัดงานศพให้บิดาตามที่เทพเจ้าซียีแนะนำ ต่อมามีพี่น้องคนหนึ่งได้ตายจากไป เหลือคนไม่พอที่จะเป่าลำไม้ไผ่ทั้งหก พี่น้องที่เหลือ 6 คน จึงได้ขอคำปรึกษาจากเทพเจ้าซียีอีกครั้ง เทพเจ้าซียีจึงแนะนำให้รวมลำไม้ไผ่ทั้งหกมาเป็นชุดเดียวกัน แล้วให้คนเดียวเป่าเท่านั้น ส่วนคนอื่นให้ทำหน้าที่ถวายเครื่องบูชา ตระเตรียมอาหาร และทำหน้าที่อื่นไป
ต่อมารูปแบบพิธีงานศพดังกล่าวก็ได้รับการถือปฏิบัติมาเรื่อยๆ จนกลายเป็นประเพณีในการจัดงานศพของคนม้งมาจนกระทั่งทุกวันนี้ ฉะนั้นในธรรมเนียมม้งจึงห้ามมิให้ฝึกเป่าแคนภายในบ้าน ส่วนใหญ่จะฝึกในที่ห่างไกลจากหมู่บ้านซึ่งมักจะเป็นที่พักพิงตามไร่สวน นอกจากงานศพแล้ว ชาวม้งยังนิยมเป่าแคนในงานรื่นเริง เช่น งานปีใหม่ โดยเนื้อหาของบทเพลงที่เป่าจะมีความหมายแตกต่างออกไป รวมทั้งมีท่าเต้นประกอบการเป่าเพื่อดึงดูดความสนใจของคนดู แตกต่างจากการเป่าในงานศพซึ่งจะย่อตัวและเป่าวนรอบศพเท่านั้น
ชาย เด็กหนุ่มชาวม้งวัย 21 ปีจากบ้านขุนแม่ว้า อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ เป็นหนึ่งในเด็กรุ่นใหม่ที่สนใจการเป่าแคนม้งมาตั้งแต่อายุ 14 ปี เล่าถึงจุดเริ่มต้นของความสนใจในเครื่องดนตรีชนิดนี้ให้ฟังว่า
"ผมเห็นคนในหมู่บ้านเขาเล่นกันก็เลยอยากลองบ้าง พ่อไปซื้อแคนมาจากจังหวัดตาก จริงๆ ที่หมู่บ้านของผมก็มีขาย แต่เป็นแบบดั้งเดิมทำจากไม้ไผ่ ผมอยากได้แบบใหม่ที่ทำจากท่อพีวีซี เพราะเสียงของพีวีซี จะดังกว่าและเสียงเบสจะเยอะกว่า ผมเคยเห็นเขามาเล่นโชว์แล้วเสียงดังสนุกดี เลยอยากเล่นบ้าง"
สิ่งแรกที่ต้องเริ่มฝึก คือ รู้จักชื่อเรียกของรูทั้งหกซึ่งให้เสียงแตกต่างกัน หลังจากนั้นต้องฝึกเป่าลม ตามด้วยฝึกโน้ต ซึ่งแต่ละขั้นต้องใช้เวลาฝึกฝนนานหลายเดือนหรืออาจนานนับปีหากผู้ฝึกฝนมีเวลาฝึกน้อย ชายเล่าถึงขั้นตอนยากที่สุดของการเรียนเป่าแคนม้งให้ฟังว่า
"สิ่งที่ยากที่สุด คือ การเรียนภาษาพูดของแคนผ่านการจำ เพราะบทเพลงที่เป่าออกมามีความหมายทุกคำ แต่ประโยคที่ใช้ในเพลงจะแตกต่างจากภาษาพูดของคนม้งในชีวิตประจำวัน คล้ายๆ กับเป็นบทกวีหรือคำสอนซึ่งผู้เรียนต้องจดจำประโยคเหล่านี้ให้ได้ หลังจากนั้นจึงมาเป่าเป็นโน้ตเพลงให้ออกเสียงตรงกับประโยคเหล่านั้นซึ่งเป็นสิ่งที่ยากมากเพราะไม่มีการเขียนบันทึกโน้ตเพลงเหล่านี้ออกเป็นตัวอักษร ต้องใช้การท่องจำ และจดจำเสียงที่ถูกต้องจากครูเพียงอย่างเดียว ผมฝึกอยู่ปีกว่า กว่าจะเล่นได้เป็นเพลง แต่ก็ยังไม่ถูกต้องทั้งหมด นอกจากนี้ ยังต้องฝึกเต้นไปด้วย ผมไปเรียนมา 7 ท่า ต้องควบคุมจังหวะลมให้ดี และท่าเต้นต้องได้ด้วย เวลาซ้อมต้องซ้อมกระโดดด้วยเพื่อให้ลมหายใจคงที่"
ความยากของการฝึกฝนทำให้ผู้เรียนจำนวนมากเกิดความท้อและล้มเลิกไปในที่สุด ชายก็เคยเป็นหนึ่งในนั้นเช่นกัน
"ตอนแรกท้อ จะไม่เล่นแล้ว เพราะต้องเรียนทุกวันตอนกลางคืน หลังจากเสร็จงานในไร่นาหรือกลับจากโรงเรียน ไม่งั้นก็จะลืมได้ง่ายๆ เพราะเป็นเสียงที่เราไม่คุ้นเคย เราไม่ได้ใช้ทุกวัน ไม่มีกระดาษเขียนต้องจำเสียงเอา ถ้าวันรุ่งขึ้นไปโรงเรียนก็ลืมแล้ว ถ้าไม่ได้เรียนต่อเนื่องก็ยาก ผมต้องเข้าไปเรียนในเมือง ช่วงปิดเทอมถึงจะได้กลับบ้านไปเรียนเป่าแคนทำให้ไม่ต่อเนื่อง และคิดอยากเลิกอยู่หลายครั้ง แต่พ่อไม่ให้เลิกเพราะอุตส่าห์ซื้อแคนให้แล้ว"
ผลจากยุคสมัยที่เปลี่ยนไปและสภาพเศรษฐกิจบีบรัดทำให้คนม้งรุ่นใหม่โดยเฉพาะในจังหวัดเชียงใหม่ไม่ค่อยนิยมเป่าแคนเหมือนในอดีต ต่างจากชาวม้งในจังหวัดเชียงรายและน่านซึ่งปัจจุบันยังมีคนนิยมเล่นเยอะ เพราะทำไร่นาฤดูเดียว หรือมีช่วงเวลาว่างจากไร่นาให้ศึกษาดนตรีมากกว่า ปัจจุบันในจังหวัดเชียงรายและน่านมีโรงเรียนเปิดสอนการเป่าแคนม้งโดยเฉพาะ ทำให้เด็กรุ่นใหม่มีโอกาสเล่นเครื่องดนตรีชนิดนี้กันมากขึ้น โดยส่วนใหญ่ผู้ชายจะนิยมเป่าแคนม้งมากกว่าผู้หญิงซึ่งมีภารกิจงานบ้านรัดตัว
ปัจจุบัน การเป่าแคนยังคงมีความสำคัญมากในงานศพของชาวม้ง โดยแต่ละงานต้องมีคนเป่าแคนเก่งระดับชั้นครูมาช่วยกันเป่าอย่างน้อยสามถึงสี่คนสลับกัน เพราะต้องมีเสียงแคนบรรเลงตลอดเช้ากลางวัน และเย็นตลอดระยะเวลางานสามถึงสี่วัน ดังนั้น คนเป่าแคนเก่งๆ จะได้รับเชิญให้เดินทางไปร่วมงานศพตามหมู่บ้านชาวม้งเสมอ เพราะหากไม่มีแคนบรรเลง ดวงวิญญาณที่ล่วงลับของชาวม้งก็ไม่อาจจะเดินทางกลับไปหาบรรพบุรุษที่รออยู่ในอีกภพหนึ่งได้ แคนหรือเฆ่งของชาวม้งจึงเป็นเครื่องดนตรีสำคัญที่ลูกหลานชาวม้งจะต้องร่วมกันสืบทอดต่อไป
--------------------------------------------------------------------------------
เนื้อเพลงเฆ่งในพิธีงานศพโดยทั่วไปจะมีลำดับการเป่าดังนี้
ดี๋ (ntiv) ซึ่งเป็นการโหมโรง
ปลั่วจี๋เฆ่งจี๋ จรั่ว (pluas cim qeej cim nruag) รัวกลองพร้อมกันไปกับเพลงเฆ่ง
ลื๋อฆะจรั่ว (lwm qab nruag) การลอดใต้คานที่แขวนกลองของผู้เป่าเฆ่ง
ซุตัว (xub tuag) เป็นการแนะนำเพลงเฆ่ง
ฆัวซุตัว (quas xub tuag) เป็นการลงท้ายบทแนะนำเพลง
ยซ่าเฆ่งตัว (zaj qeej tuag) เริ่มต้นเนื้อเพลง
ฆัวยซ่าเฆ่งตัว (quas zaj qeej tuag) เป็นการร่ายเนื้อเพลงเพื่อเข้าสู่ปรโลก
เฆ่งตร๋อฆ้าง (qeej rov qaab หรือ raib leev) เป็นขั้นตอนการกลับจากปรโลก
ยซายตร้อยซายเหนง (zais roj zais neev) เป็นขั้นตอนการกลบเกลื่อนเส้นทางกลับจากปรโลก เพื่อมิให้มีวิญญาณติดตามมาได้
เส่าเฆ่ง (xaus qeej) ลงท้ายบทเพลง
ประเภทของบทเพลงที่ใช้ในพิธีงานศพมีดังนี้
เฆ่งตูสา (qeej tu sav) เพลงแรกหลังจากผู้ตายได้สิ้นลมหายใจแล้ว
เฆ่งฆฮัวะเก (qeej qhuab ke) เพลงนำทางดวงวิญญาณไปสู่ปรโลกหรือแดนแห่งบรรพบุรุษ
เฆ่ง นเจเหน่ง (qeej nce neeg) เพลงเคลื่อนย้ายศพขึ้นหิ้ง (แคร่ลอย)
เฆ่ง เฮลอเด๋อ (qeej hlawv ntawv) เพลงเผากระดาษเงินกระดาษทองให้ผู้ตาย
เฆ่งเสอเก๋ (qeej sawv kev) เพลงเคลื่อนย้ายศพออกจากบ้าน นอกจากจะใช้ในพิธีงานศพแล้ว ยังมีการใช้เฆ่ง เพื่อความบันเทิงในงานรื่นเริงต่างๆ ด้วย โดยเฉพาะการเต้นรำเฆ่งในงานฉลองเทศกาลปีใหม่ม้ง ซึ่งบทเพลงเฆ่ง เพื่อความบรรเทิงจะมีลำดับการเป่าดังนี้
ดี๋ (ntiv) โหมโรง
ซุ (xub) แนะนำ
นู่ นตรื่อ (nuj nrws) เนื้อเรื่อง
ฆัวนู่ นตรื่อ (quas nuj nrws) ทวนเนื้อเรื่อง
ปลั่ว (pluas) สรุป
เส่า (xaus) ลงท้าย
ที่มา http://www.hilltribe.org/thai/hmong/hmong-music.php
http://www.salweennews.org :
วันอังคารที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2553
โอ้ละหนอเชียงใหม่ เปิดประตูสู่ภาคเหนือ
เพลงโอ้ละหนอเชียงใหม่ เป็นเพลงเปิดประตูสู่เชียงใหม่ ซึ่งเนื้อหาเพลงส่วนใหญ่ ก็บงบอกความเป็นเชียงใหม่ไว้หมดเเล้ว เป็นเพลงที่น่ารักสนุกๆของงวนกเเลยุคใหม่ สมาชิกในวงจะเเต่งตัวเป็นเด็กชาวม้งน่ารักๆซึงบงบอกถึงถิ่นภาคเหนือโดยรวม โดยการสื่อให้รู้ว่าถ้ามาเที่ยวเหนือเเล้วต้องพบเห็นเด็กๆชาวม้งเเละชาวม้งอยู่เเล้ว ซึ่งเป็นตัวเเทนของชนเผ่าต่างๆที่อยู่ที่ภาคเหนือ เเละในบางเพลงของวงนกเเลยุคใหม่สื่อให้เห็นของความพัฒนาของชนเผ่าม้งเเต่ยังรักษาไว้ซึ้งวัฒนธรรมเอกลักษณ์การเเต่งตัวของชาวม้งที่ยังคงรักษาไว้ไม่เปลี่ยน ซึ้งยังคงเป็นสิ่งที่ดึงดูดให้นักท่องเที่ยวหลั่งไหลเข้ามาสู่เชียงใหม่ บางคนมาเพื่อจะให้เห็นได้สัมผัสกับชนเผ่าทางภาคเหนือ บทเพลงหลายบทเพลงในนกเเลยุคใหม่ได้สื่อให้เห็นถึงชนเผ่าโดยรวมไว้หมดเเล้ว เชิญทุกท่านมาท่องเที่ยวเเละสัมผัสความเป็นเชียงใหม่ล้านนา กับบทเพลงน่ารักๆของนกเเลยุดใหม่กันนะครับ
วันอาทิตย์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2553
เสื้อสั่งทำ
ถนนคนเดินที่เชียงใหม่เมื่อผมเดินเข้ามาในวัดที่อยู่ติดกับถนนคนเดิน ก็สังเกตุเห็นร้านหนึ่งเเขวนเสื้อเต็มไปหมดเลย เเละบนเสื้อมีข้อความว่า เสื้อสั่งทำ 20 นาที่มารับได้ ก็เข้าไปคุยกับเจ้าของร้าน คุยไปคุยมาผมก็อยากได้เสื้อตัวหนึ่งที่มีข้อความว่า LOVE HMONG เเล้วพี่เเก่ก็เเนะนำว่าพี่เเก่ก็เป็นม้ง ตอนเเรกผมไม่รู้ว่าพี่เเก่เป็นคนม้ง ชื่อ พี่สมชาย อยู่เชียงใหม่เเละพี่สมชายก็ทำอาชีพนี้มานานเเล้ว(ดูจากความคล่องเเคล่วที่เอาตัวหนังสือเเปะลงบนเสื้อ)ลูกค้าก็เยอะทั้งขาจรเเละขาประจำ เเละรับออเดอร์สั่งทำครั้งละมากๆ พี่น้องม้งท่านใดที่สนใจอยากได้เสื้อที่มีข้อความบนเสื้อหรือตัวอักษรตัวเลข ลงบนชุดกีฬา ก็ติดต่อพี่สมชายได้ครับ มือถือ 080-4304138 เบอร์บ้าน 053-297530
วันพฤหัสบดีที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2553
ถนนคนเดินที่เชียงใหม่
ทุกเย็นวันอาทิตย์ย่านถนนท่าเเพประตูท่าเเพเมืองเชียงใหม่จะเต็มไปด้วยนักท่องเที่ยว จากทั่วทุกสารทิศทั้งในประเทศเเละนอกประเทศเเละพ่อค้าเเม่ค้า จะออกมาเดินหาซื้อสิ้นค้าประเภทเเฮนเเมคสิ้นค้าพื้นเมืองกันอย่างคึกคัด ทั่วถนนเส้นนี้ เพราะถนนเส้นนี้คือถนนคนเดินนั้นเองครับ เเม้ช่วงนี้จะเป็นช่วงหน้าฝนเเต่นักท่องเที่ยวก็เยอะมากพอๆกัน พ่อค้าเเม่ค้าเเถวนี้ก็ยังยิ้มได้บ่างเเต่ก็ยังขายไม่ได้ไม่มากเท่าใดนัก เเต่ละคนก็เฝ้ารอช่วงหน้าหนาวเเละคิดว่าปีนี้นักท่องเที่ยวคงจะเข้ามาเที่ยวเชียงใหม่กันมาก สำหรับใครที่คิดจะไปเที่ยวที่ยังนึกไม่ออกว่าจะไปที่ใหน ที่เชียงใหม่ยินดีต้อนรับทุกท่านครับ
วันพุธที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2553
qeej hmoob
qeejhmong หรือว่า เเคนม้ง เป็นเครื่องดนตรีม้งที่ใช้ในงานพิธีกรรมต่างๆ ในประเทศไทยส่วนมากใช้ในงานศพ ในประเทศจีนใช้เป่าได้ทุกงานทุกโอกาศ เช่น ปีใหม่ เเต่งงาน เเคนม้งยังไม่รู้ว่า ชาวม้งทำเเดนม้งในสมัยใดเเละเมื่อไรเเล้วนั้น เเต่ที่รู้คือว่าคนม้งใช้เเคนเป๋าในพิธีศพมานานเเล้ว ม้งอยู่ที่ใหนมักจะมีเเคนม้งเป็นสัญลักษณ์ เเสดงให้เห็นว่าเรายังเป็นม้งอยู่ ไม่ว่ากาลเวลาจะเปลี่ยนไป ความเจริญเข้ามา ม้งจะอยู่ที่ส่วนในของโลก ม้งไม่ลืมที่จะนำเเคนไปด้วยสอนเเละเป๋าเเคน ถ่ายทอดเสียงดนตรีในเเคนให้ลูกหลานต่อไปอย่างไม่รู้จบ
วันพฤหัสบดีที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2553
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)