วันจันทร์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2553

ม้งอีกประวัติหนึ่งที่น่าศึกษา

ม้ง เป็นชนเผ่าหนึ่งที่รักความสงบและความยุติธรรม โดยแต่เดิมชอบอยู่อย่างโดดเดี่ยวตามบริเวณเทือกเขาที่สูงมีอากาศที่หนาวเย็น ในประเทศต่างๆทางทิศเหนือ ทิศตะวันออกและทิศตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปเอเชีย ส่วนในทางมนุษยวิทยาถือว่าม้งเป็นชนเผ่าที่มีขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรมใกล้เคียงกับชนชาติจีนหรืออีกนัยหนึ่งคือจัดอยู่สายตระกูลจีน ธิเบต(Sino Tibetan Stock) ซึ่งมีชนชาติเย้าหรือเมี่ยนรวมอยู่ด้วย



คำว่า “ม้ง”(Mong)หรือ “ฮม้ง” (Hmong) จากการให้ความหมายของ “นายกั้งซุ แซ่ย่าง” ซึ่งเป็นผู้เฒ่าผู้แก่ที่น่าเคารพคนหนึ่งของชาวม้ง(ปัจจุบันปีคศ. 2000 รวมมีอายุได้ 66 ปี อาศัยอยู่ที่ บ้านใหม่หนองหอย อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่) ได้ให้ความหมายไว้ว่า “ม้ง” หรือ “ฮม้ง” คือ กลุ่มหรือความเป้ฯชนชาติในตัวเอง แต่ในขณะเดียวกันม้งชอบเรียกตัวเองว่า “เป๊ะม้ง” และตามด้วยสายสกุลของตัวเอง เช่น เป๊ะม้งย่าง ก็หมายถึงสายสกุลแซ่ย่างเป็นต้น คำว่า “เป๊ะ” แปลตรงตัวได้ว่า “สาม” และบางทีก็หมายถึง “พวกเรา” “เป๊ะ”นี้มีต้นสายปลายเหตุมาจากนิยายปรัมปราที่เป็นการให้เกียรติแก่ กษัตริย์ม้งพระองค์หนึ่งซึ่งมีอยู่ 3 เศียร (ดูรายละเอียดประวัติม้ง) ถึงแม้ว่าชนเผ่าม้งจะเป็นชนกลุ่มหนึ่งที่รักความสงบและความยุติธรรม แต่ในยามศึกศึกสงคราม จะเป็นนักรบที่กล้าหาญต่อสู้อย่าดุดันและเหี้ยมโหด เด็ดขาด แต่ม้งจะถูกเรียกจากชนชาติอื่นๆว่า “แม้ว” “เมี่ยว” หรือ “เมี๊ยวจซึ”(ออกเสียงตัวจอควบกล้ำกับซึ) ซึ่งในภาษจีนแปลว่า “หนูตาบอด” สาเหตุเนื่องจากการก่อทำศึกสงครามกันระหว่างชนชาติจีนและม้งในอดีตที่ ยาวนานซึ่งนับได้ว่าม้งเป็นศัตรูตัวฉกาจตัวหนึ่งของชนชาติจีนมาโดยตลอด และด้วยจำนวนประชากรม้งที่น้อยกว่าจึงมักจะแพ้สงครามอยู่เสมอๆและต้องแตกทัพ หนีกระจายเอาตัวรอดเหมือนหนูตาบอด ละทิ้งชาติของตัวเองเพื่อเอาชีวิตรอด ดังนั้นม้งจึงไม่นิยมชมชอบให้ใครมาเรียกสรรพนามตัวเองว่า “แม้ว” “เมี๊ยว”หรือ “เมี๊ยวจซึ”



ประวัติศาสตร์และความเป็นมาของชนเผ่าม้ง



ตาม ตำนานเล่าขานกันว่า ชนเผ่าม้งอาศัยอยู่ในดินแดนที่หนาวเหน็บมีกลาวันหกเดือนและกลางคืนหกเดือน ม้งเป็นชนชาติหนึ่งที่แปลกแยกไปจากคนเอเชีย และโดยแท้จริงแล้วม้งอาจจะมิใช่คนเอเชีย เป็นกึ่งฝรั่งกับเอเชีย หรือกึ่งคอเคเซียมกึ่งมองโกลอย นอกจากนั้นม้งยังมีนิทานปรัมปราเล่าถึงตำนานการสร้างโลก สร้างมนุษย์และความเชื่อเกี่ยวกับการคืนชีพของกษัตริย์ม้ง จากการที่ได้พูดคุยกับผู้เฒ่าผู้แก่และผู้ที่มีความรู้เกี่ยวกับชนเผ่าม้ง จากการเล่านิยายปรัมปราและนิทาน(เนื่องจากม้งไม่มีภาษาเขียนเป็นของตัวเอง และไม่เคยมีการบันทึกเหตุการณ์ต่างๆเป็นลายลักษณ์อักษรจึงใช้วิธีการบอกเล่า แบบรุ่นสู่รุ่น) ซึ่งไม่สามารถจำชื่อกษัตริย์และผู้นำของจีนได้มากนัก แต่พอจะสรุปได้ดังนี้



มีกษัตริย์ม้งผู้ครองเมืองหนึ่งมีพระมเหสี 7 พระองค์ กษัตริย์พระองค์นี้เกิดความไม่พอใจพระธิดาองค์หนึ่งจึงได้ทำการเนรเทศพระ ธิดาองค์ดังกล่าวออกไปจากนคร พระธิดาฯได้ตกทุกข์ได้ยากมากจึงกราบวิงวอนขอความช่วยเหลือจากเทวดา เทวดาจึงประทานผลไม้ให้รวมทั้งได้ช่วยให้พระธิดามีพระราชโอรสสามพระองค์ ต่อมาเมื่อพระโอรสองค์เล็กประสูตรออกมาปรากฏว่ามีสามเศียรในร่างเดียว และก่อนที่พระธิดาจสิ้นพระชนม์ได้บอกชื่อผู้ครองเมืองและทิศทางการกลับสู่ เมื่องให้ทั้งโอรสทั้งสามพระองค์ทราบ และบอกว่าเจ้าผู้ครองเมืองนั้นแท้จริงก็คือปู่ของพระโอรสทั้งสามนั่นเอง และได้ให้พระโอรสทั้งสามขอสิ่งที่อยากได้จากผู้เป็นพระมารดา องค์ที่มีสามเศียรได้ขอให้มีสติปัญญาเฉลียวฉลาด ภายหลังเมื่อพระมารดาเสด็จสวรรคตแล้วทั้งสามพระองค์ก็ได้ออกเดินทางตามหาปู่ ตามรับสั่งของพระมารดาเมื่อทรงพบปู่แล้วก็ทรงเล่าเรื่องทั้งหมดให้ผู้เป็น ปู่ทราบและได้ทำการศึกษาเล่าเรียนหนังสือ พระโอรสองค์ที่มีสามเศียรทรงพระปรีชา สามารถกว่าอีกสองพระองค์ กษัตริย์จึงได้ตรัสว่าหากพระองค์สวรรคตให้แต่งตั้งหลานที่มีสามเศียรนี้ขึ้น ครองราชแทน เมื่อข่าวทราบถึงพระมเหสีทั้งเจ็ดของกษัตริย์เจ้าครองเมือง พระมเหสีทั้งเจ็ดก็ทรงไม่พอใจเป็นอย่างยิ่งหาลู่ทางจะประทุษร้ายหลานทั้งสาม ของพระราชา ทั้งสามพระองค์จึงได้หลบหนีออกจากนครไปและได้ไปร่ำเรียนวิชาความรู้ต่างๆกับ พระอาจารย์คนหนึ่ง เมื่อร่ำเรียนจนเก่งกล้าซึ่งวิชาความรู้แล้วจึงได้ร่ำลาอาจารย์ออกเดินทาง ต่อ ประจวบเหมาะกับในช่วงเวลาดังกล่าวได้เกิดช่วงเริ่มต้นของการก่อศึกสู้รบทำ สงครามกันระหว่างชนเผ่าม้งกับชนชาติจีน หลังจากการทำสงครามเป็นระยะเวลาที่ยาวนานก็ไม่ปรากฏว่ามีผู้ใดพ่ายแพ้หรือ ชนะ แต่สภาวะการณ์ของชนชาติม้ง(ในขณะนั้นยังมีเมืองและประเทศของตนเองจึงยังมี ชาติเป็นของตัวเองอยู่)เสียเปรียบอย่างเห็นได้ชัด กษัตริย์ทรงเห็นว่าหากปล่อยให้เหตุการณ์เป็นเช่นนี้อีก ชนชาติม้งอาจเสียทีได้ จึงได้มีรับสั่งให้ตามหาหลานชายที่มีสามเศียรมาครองราชบัลลังค์ออกรบแทน เนื่องจากตนเองก็ชราภาพมากแล้วประกอบกับหลานที่มีสามเศียรคนนี้เป็นคนเฉลียว ฉลาด ปฏิภาณ ไหวพริบดีเป็นเลิศ เมื่อหลานชายฯขึ้นครองราชย์แล้วก็ได้ทำการต่อสู้กับกองทัพจีนด้วยความหาญ กล้าและไม่เสียทีข้าศึกง่ายๆเหมือนดังเช่นแต่ก่อนอีก ไม่มีฝ่ายใดแพ้ ชนะ แต่ผู้คนพากันล้มตายเป็นจำนวนมาก กษัตริย์ทั้งสองฝ่ายจึงได้ทำสัญญาตกลงสงบศึกแล้วมีการแบ่งเขตแดนการปกครอง กัน ให้กษัตริย์ม้งปกครองเมืองป้างเต่อหล่าง (สันนิษฐานว่าปัจจุบันคือประเทศมองโกเลีย) และกษัตริย์จีนปกครองเมืองปี่เจิ้ง ความสงบสุขจึงกลับคืนมาอีกครั้ง ต่อมาเมื่อกษัตริย์ทั้งสองพระองค์เสด็จสวรรคตและกษัตริย์องค์ใหม่ขึ้นครอง ราชแทน ต่างฝ่ายก็ต่างอ้างกรรมสิทธิ์ในดินแดนต่างๆว่าเป็นของตัวเอง จึงมีการตรวจสอบหลักฐานการแบ่งเขตแดนจากกษัตริย์ทั้งสองพระองค์ก่อน ปรากฏว่าเมื่อครั้งที่ทหารจีนและทหารม้งทำการแบ่งเขตแดนนั้น ทหารจีนใช้เสาดินปักหลักเป็นหลักฐาน ส่วนทหารม้งใช้กอหญ้ามัดเป็นจุดๆ และทหารจีนได้แอบเผากอหญ้าม้งจนไหม้เป็นจุนหมด ดังนั้นเมื่อเกิดการตรวจสอบขึ้นจึงไม่เหลือสัญลักษณ์ที่แสดงอาณาเขตดินแดน ของม้งอีก กลายเป้ฯสาเหตุของการประทุก่อศคึกสงครามขึ้นมาใหม่ ขณะเดียวกันชนชาติม้งได้แตกแยกออกเป็นสามกลุ่ม มีสองกลุ่มได้ยอมสวามิภักดิ์กับกษัตริย์จีน เป็นผลให้ชนชาติม้งต้องพ่ายแพ้สงครามอย่างย่อยยับและได้แตกกระจายอพยพเข้า สู่เวียตนามแลถอยร่นลงมาทางตอนใต้ของประเทศจีนคือ ยูนาน ดังนั้นความเป็นชาติผืนแผ่นดินของม้งและการมีพระมหากษัตริย์เป็นผู้นำของชน ชาติม้งจึงได้สิ้นสุดลงที่นครป้างเตอหลาง อันเป็นนครอันเป็นที่รักของชนชาติม้งในอดีต หรือนครที่ชาวจีนเรียกกันว่า “เมี้ยวจซึ” แต่นั้นมา

ตังแต่นั้นมาม้งก็ไม่มีประเทศชาติ รวมทั้งราชธานีและกษัตริย์เป็นของตนเองอีก นอกจากหัวหน้าหรือผู้นำที่สำคัญๆเท่านั้น ในกลุ่มที่อพยพลงมาทางใต้ของจีนมณฑลยูนานในปัจจุบันนี้ ได้มีผู้นำม้งเกิดขึ้นอีกหลายคน ผู้นำคนแรกนั้นแม้แต่คมหอก คมดาบก็ไม่สามารถที่จะระคายผิวได้ จุดเดียวที่จะสามารถทำให้ผู้นำม้งคนนี้ตายได้ก็คือ จุดตรงทวารหนัก ซึ่งจุดนี้ทหารจีนไม่อาจล่วงรู้ได้เลย จึงวางแผนออกอุบายให้สาวชาวจีนซึ่งมีใบหน้าและรูปร่างที่สวยงามนางหนึ่งมา แต่งงานกับผู้นำม้งคนนี้ เมื่อแต่งงานอยู่กินกันนั้น สาวจีนผู้นี้ได้ปรนนิบัติผู้นำม้งได้อย่างดียิ่ง จนเป็นที่พอใจของผู้นำม้งเป็นอันมาก วันหนึ่งสาวชาวจีนก็ได้แกล้งถามผู้นำม้งว่าทำไมในเวลาออกศึกสู้รบทำสงคราม จึงไม่มีอะไรทำอันตรายได้เลย และด้วยความไว้ใจผู้นำม้งจึงตอบโดยไม่ได้เฉลียวใจว่าแท้จริงแล้วจุดที่ สามารถทำให้ตายได้อยู่ที่ทวาร เมื่อสาวจีนรู้ความจริงกระจ่างชัด จึงได้วางกลอุบายว่าไหนๆก็ร่วมทุกข์ร่วมสุขกันมานานแล้วแต่เหลืออย่างเดียว ที่ไม่เคยได้ปรนนิบัติผู้นำม้งเลยก็คือ การช่วยชำระทำความสะอาดให้ผู้นำม้งหลังการขับถ่าย และด้วยความไว้ใจประกอบกับความรักที่มีให้สาวชาวจีนอย่างเต็มล้นจึงได้ ยินยอมให้สาวชาวจีนปรนนิบัติ เมื่อทำกิจธุระเสร็จจึงยินยอมให้สาวจีนมาช่วยชำระล้างทวารให้ และเมื่อสบโอกาสสาวชาวจีนผู้นั้นก็ได้ใช้มีดที่เตรียมไว้จ้วงแทงทวารของผู้ นำม้งจนตายและตั้งแต่นั้นมาชนชาติม้งก็แตกและหนีกระจายอีกครั้งหนึ่ง ต่อมามีผู้นำม้งอีกคนหนึ่ง คนนี้ชื่อว่า “ว่างพั้วะซึ” และได้ทำศึกสงครามกับจีนแต่แพ้สงครามผู้นำของจีนคือ “ซอยี่” ได้สมรสกับภรรยาของผู้นม้ง และต่อมาก็มีผู้นำม้งอีกคนหนึ่งชื่อว่า “หว่างหวือ ย่าง” ได้ทำศึกสงครามกับผู้นำจีน (ซ่อยี่) และได้รับชัยชนะ จึงสถาปนาตัวเองเป็นผู้นำม้งขึ้นปกครองเมืองแทน และได้สมรสกับภรรยาของซอยี่ (เดิมเป็นภรรยาของว่างพัวะซึ) ครองเมืองจนเสียชีวิตลงได้มีตะกูแลแซ่เฒ่าขึ้นมาเป็นผู้นำครองเมืองแทน (ปัจจุบันตระกูลสายนี้มีอยู่เขตเชียงใหม่) และได้ทำศึกสงครามกับจีนมาเป็นเวลานานไม่มีผู้แพ้ชนะ จึงได้ทำสัญญาสงบศึกอีกครั้งและทำการส่งลูกหลานแต่งงานข้ามชนชาติกันขึ้น ทั้งนี้ผู้นำม้งคนนี้มีเต่าหินอยู่ตัวหนึ่งทุกปีตกไข่ 1 ฟอง 9 ปี ตก 9 ฟอง ซึ่งคนจีนเชื่อว่าเป็นสาเหตุที่จีนไม่สามารถชนะสงครามกับม้งได้ ชนชาติจีนจึงออกอุบายเพื่อยืมเต่าหินนั้นไปแล้วทำการต้ม 3 วัน 3 คืน จึงนำกลับมาส่งแล้วติดตามผลปรากฏว่าเต่หินไม่สามารถตกไข่ได้อีก ชนชาติจีนจึงได้ทำสงครามกับม้งอีกครั้งหนึ่ง เมื่อเกิดการสู้รบฝ่ายทายาทจีนที่ได้ส่งมาแต่งงานกับชนชาติม้งได้ทำการก บฎต่อสู้จากในเมืองออกในขณะเดียวกันกองทัพจีนก็ได้กรีฑาทัพจากข้างนอกบุก เข้ามาในตัวเมืองด้วย ในที่สุดม้งแพ้สงครามและถูกฆ่าล้างเผ่าพันธ์ที่นี่ ส่วนที่เหลืออพยพเข้าสู่ลาว ประมาณ 300 ปี หรือประมาณ พ.ศ. 2200 เป็นการทำศึกสงครามกับชนชาติจีนเป็นครั้งสุดท้ายในประวัติศาสตร์ของชนชาติ ม้ง

เมื่อชนชาติม้งถูกไล่ล่าจึงล่าถอยอพยพขึ้นสู่ภูเขา เนื่องจากเหตุการณ์บังคับให้ต้องหนี่ขึ้นที่สูง หากยังอาศัยอยู่ในที่ราบจะถูกฆ่าล้างเผ่าพันธ์ ส่วนที่เหลือจะถูกตรวนโซ่ที่คือและแขน จากนั้นผู้นำของจีนและม้งก็ได้ทำการสาปแช่งกันไว้ว่า ในเมื่อม้งเป็นพี่ จีนเป็นน้อง แต่ทำไมต้องฆ่าล้างเผ่าพันธ์กันขนาดนี้ เมื่อม้งตายไปจะกลับมาเกิดเป็นเสือและจะทำร้ายคนจีน (ม้งตระกูลแซ่ย่าง แซ่หางเชื่อว่าเมื่อเสียชีวิตแล้วจะกลายเป็นเสือ ความเชื่อนี้ยังมีหลงเหลืออยู่บ้างในปัจจุบัน) ส่วนผู้นำจีนได้สาปแช่งว่า หากวันใดม้งกลับลงมาสู่พื้นราบจะเจ็บไข้ได้ป่วยล้มตาย จากนั้นม้งจึงอยู่อาศัยแต่บนภูเขาไม่ยอมลงสู่พื้นราบอีก ผู้นำม้งจึงกล่าวว่าในเมื่อไม่สามารถกลับลงมาสู่พื้นที่ราบได้อีกแล้วสิ่ง ที่จำเป็นต้องใช้ในชีวิตประจำวันได้แก่ เกลือ ไหม ด้าย ฝ้ายต่างๆจะหาจากที่ไหนได้ ผู้นำจีนตอบผู้นำม้งว่าไม่ว่าชนชาติม้งจะไปถึงไหน คนจีนจะนำสิ่งจำเป็นเหล่านี้ตามไปขายให้ถึงที่นั้น ฉะนั้นจึงเห็นได้ว่าไม่ว่าจะเป็นอดีตหรือกระทั่งปัจจุบันนี้ไม่ว่าชนชาติม้ง จะอยู่ไกลสุดยอดเขา ปลายฟ้าเพียงใดชนชาติจีนก็จะนำฝ้าย ไหม ด้าย เกลือไปขายถึงที่นั่นเป็นคู่ตลอดกาลหลายชั่วอายุคน ส่วนคำสาปแช่งของผู้นำจีนที่มีต่อม้ง หลังจากนั้นม้งลงสู่พื้นราบก็จะเกิดการเจ็บป่าวยล้มตายตามคำสาปแช่ง ท่านผู้เฒ่า “จ้งเปา แซ่ย่าง” (ขณะนี้คือปี2000 ท่านผู้เฒ่ามีอายุได้ 86 ปี อาศัยอยู่ที่ บ้านใหม่หนองหอย อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่) ได้เล่าให้ฟังว่า เมื่อประมาณเจ็ดสิบกว่าปีมาแล้วเมื่อสมัยที่ตัวเองยังเป็นหนุ่มอยู่ตนเองและ พรรคพวกที่เป็นพี่น้องม้งด้วยกันมีความจำเป็นต้องลงมาหาซื้อ เกลือ เสื้อผ้า และของใช้ที่จำเป็นต่างๆในตัวเมืองอำเภอฝาง และอำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่



เพื่อนำกลับขึ้นไป ใช้ ปรากฏว่าบางคนต้องล้มป่วยเสียชีวิตระหว่างทาง หรือพอกลับถึงบ้านบนภูเขาก็มีอาการเจ็บป่ายล้มหมอนนอนเสื่อเป็นเวลาเดือนๆ ซึ่งช่วงเวลาดังกล่าวน่าจะเป็นช่วงประมาณปีพ.ศ. 2475 – 2500 และว่ากันว่าคำสาปแช่งดังกล่าวจะสิ้นสุดลงประมาณ ปี พ.ศ. 2500 และก็เป็นเช่นนั้นจริงดังจะเห็นได้ว่าหลังจากนั้นชาวม้งก็เริ่มค่อยๆลงกลับ ลงมาสู่พื้นที่ราบได้ตามลำดับในช่วง 30 ปีหลังๆนี้เท่านั้นเอง เริ่มมีการส่งบุตรหลานเข้ามาเรียนหนังสือในตัวเมืองมากขึ้น รวมทั้งเศรษฐกิจการค้าต่างๆก็เริ่มมีปฏิสัมพันธ์กับสังคมพื้นราบมากขึ้น จะเห็นได้ว่าความเจริญและโครงการพัฒนาต่างๆก็เพิ่งจะเริ่มเข้าไปในหมู่บ้าน ม้งได้เพียงไม่กี่ปีที่ผ่านมาแค่นั้นเอง



ย้อนกลับไปยังกลุ่มม้งที่ได้อพยพเข้าสู่ประเทศลาว ก่อนจะอพยพเคลื่อนสู่ประเทศไทยพอจะสรุปคร่าวได้ดังนี้ สำหรับกลุ่มม้งที่อพยพเข้าสู่ประเทศลาว ส่วนมากจะอยู่เย็นเป็นสุขถึงแม้ว่าจะได้มีการทำสงครามครังใหญ่ในช่วงประมาณ 3,500 ปีที่ผ่านมาก็ตามคือประมาณปี พ.ศ . 2180 แต่ก็เป็นสงครามใหญ่ครั้งเดียวเท่าน (นี้ไม่ได้รวมถึงการทำสงครามการปฏิวัติในประเทศลาวช่วงปี พ.ศ.2180 ในสมัยของนายพลวั่ง เปา) ซึ่งได้ทำสงครามกับลื้อ หรือไทลื้อเป็นเวลานานเพราะลื้มีจำนวนทหารมากกว่าชนชาติม้งหลายสิบเท่า ทั้งสองฝ่ายล้มตายเสียหายอย่างมาก ซึ่งม้งกำลังตกอยู่สภาวะการณ์เสียงเปรียบอย่างมาก ในขณะนั้นม้งกลุ่มหนึ่งได้อพยพหนีภัยสงครามเข้าไปในถ้ำได้พบเห็นปืนใหญ่อยู่ 3 กระบอก 2 กระบอกใหญ่ไม่สามารถที่จะขยับเคลื่อนไหวได้มีเพียงกระบอกเล็กที่สามารถขยับ ได้ แต่ไม่สามารถดึงได้ จึงได้บนบานความยเผือกตัวผู้ 13 ตัว จึงสามารถดึงปืนกระบอกเล็กออกมาได้ และอนุภาพของการยิงที่ร้ายแรงมาก เพราะถือเป็นปืนเทวดา จากนั้นจึงทำการสู้รบกับไทลื้อต่อ จากคำบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่ต่างๆ(เนื่องจากประวัติศาสตร์ไม่มีตัวหนังสือ ไว้บันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรจึงอาศัยการเล่าปากต่อปากรุ่นต่อรุ่นๆไป) ได้กล่าวว่า มีการสู้รบมาถึงเมืองเชียงแสน แต่หลักฐานไม่เด่นชัดว่าในปัจจุบันคืออำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงรายหรือไม่ ในที่สุดไทลื้อแพ้สงครามสงบศึก ม้งถอยทัพกลับเข้าสู่ประเทศลาวแต่ระหว่างการถอยทัพกลับนี้ไทลื้อหักหลังรวบ รวมพลครั้งใหญ่ทำสงครามกับม้งอีกครั้ง และการทำสงครามในครั้งนั้นเกิดการฆ่าล้างเผ่าพันธ์โดยม้งทำการฆ่าไทลื้อ อย่างเหี้ยมโหดในประวัติศาสตร์ม้งเท่าที่เคยมีมาของการทำสงครามของม้ง เด็กเล็กเด็กแดงถ้าเป็นผู้ชายจะถูกฆ่าหมด แม้แต่สตรีที่ตั้งทองก็ต้องฆ่าแม่ด้วยจนไทลื้อแพ้สงครามในที่สุดและถูกฆ่า ล้างเผ่าพันธ์ ส่วนหนึ่งได้อพยพมาเข้าสู่ประเทศไทย และผู้นำม้งคนสุดท้ายเสียชีวิตในสนามรบครั้งนี้ก็คือ สายตระกูลแซ่หาง ซึ่งเป็นครั้งสุดท้ายของการทำสงครามของม้ง



จากนั้นชนเผ่าม้งอพยพเข้าสู่ประเทศไทยโดยประมาณ 200 กว่าปีที่ผ่านมา จากหลักฐานที่น่าเชื่อถือได้ชี้ให้เห็นว่าการทำสงครามระหว่างม้งกับไทลื้อ คือ เชื้อสายตระกูลแซ่หาง ซึ่งปัจจุบันยังมีอยู่ในจังหวัดเชียงใหม่และที่สำคัญคือพิธีบวงสรวง เซ่นไหว้ ด้วยควายเผือกในปัจจุบันถึงก็ยังคงมีอยู่แต่ด้วยระยะเวลาที่ผ่านมาเนิ่นนาน ในปี พ.ศ. 2538 ในจัดพิธีบูชาเพื่อระลึกและขอบคุณปืนสามกระบอกดังกล่าวที่อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ปรากฏว่าคงเหลือแค่การเซ่นไหว้ที่ไม่มีพิธีรีตองมากเหมือน เดิมอีก จากใช้ควยเผือก 13 ตัวก็เหลือแค่ 1 ตัวพร้อมด้วยดอกไม้ กระดาษเงินกระดาษทอง และสถานที่ก็ไม่จำเป็นต้องเป็นผาและถ้ำที่เคยพบปืนสามกระบอกนั้นอีก ขอเพียงเป็นแหล่งที่มีหน้าผาและถ้ำก็สามารถใช้ประกอบพิธีกรรมได้



ประวัติศาสตร์ชนชาติม้งจากการศึกษาของนักวิชาการ



ดร.ลิ ติ่ง กุย (Dr.Li Ting Gui) อ้างโดยเลอภพ (2536) ได้สรุปว่าการอพยพครั้งใหญ่ๆในอดีตของชนชาติม้งตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันมี อยู่ทั้งสิ้น 4 ครั้งด้วยกันคือ



ครั้งที่ 1 อพยพออกจากบริเวณทางใต้ของสองฝั่งแม่น้ำเหลือหรือแม่น้ำฮวงโห (Southern Poition of the Yellow River)



ราวๆ 5,000 ปีที่ผ่านมา ม้งได้อาศัยอยู่ 2 ฝั่งทางตอนใต้ของแม่น้ำเหลือง ในขณะนั้นม้งมีชื่เรียกว่า จู่ลี่ (Tyuj Liv) ชนกลุ่มจู่ลี่นี้เป็นชนกลุ่มแรกที่รู้จักใช้ทองสัมฤทธิ์(Brouze) รู้จักปลูกข้าว และการเลี้ยงปลาในนาข้าว ประชากรทุกคนมีความผาสุขภายใต้การปกครองของกษัตริย์ “ชิยู” (Chi Yu) ในขณะเดียวกันได้มีชนกลุ่มหนึ่งคือ “ชาวฮั่น” (Huaj) ได้อพยพมาจากทางทิศตะวันตกเข้ามาอยู่ในบริเวณของชนชาติจู่ลี่ ผู้นำของชนกลุ่มฮั่นคือ ฮั่นหย่า (Hran Yuan) ทั้งสองกลุ่มนี้อยู่ด้วยกันไม่นาเกิดความขัดแย้งกันจนถึงขั้นสู้รบกัน ผลสุดท้ายชนชาติจู่ลี่พ่ายแพ้แก่ชนชาติฮั่น ทั้งนี้เพราะชนชาติฮั่นมีประชากรเยอะกว่า ในขณะที่ชนชาติจู่ลี่เป็นเกษตรกร ชาวไร่ ชาวนา จึงได้ถอยร่นลงมาทางใต้ใกล้กับแม่น้ำแยงซี (Tangrse River)



ครั้งที่ 2 อพยพออกจากบริเวณปกครองม้ง (San Miao)



หลังจากที่ชาวจู่ลี่ได้อพยพลงมาทางตอนใต้ ได้มีการรวมกับชนพื้นเมือง “ซานเมียว” (San Miao) ขึ้น ชาวม้งและชนพื้นเมืองมีความรักใคร่อย่างแน่นแฟ้น ชาวม้งจึงเรียกกลุ่มนี้ว่า “จีน”(Suay) แต่กลุ่มฮั่นยังคงติดตามมารุกรานคอยทำร้ายฆ่าฟันชาวม้งหรือจู่ลี่อยู่ เรื่อยๆ ชาวม้งจึงได้แตกออกเป็น 3 กลุ่ม หนีลงทางใต้ ในปัจจุบันนี้คือ มณฑลกวางสี (Guang – ti) มรฑลกวางโจและมณฑลยูนาน (Yuu-nan) อีกส่วนหนึ่งหนีร่นลงมาทางตะวันตกมุ่งหน้าไปยังซานเหวย (San Wei) ซึ่งกลับกับประเทศมองโกเลีย และตอนหลังก็ได้อพยพลงมาอยู่ในมณฑลยูนาน (Yuu-nan)



ครั้งที่ 3 อพยพออกจากการปกครองของกษัตริย์จู (Chou Kingdom/Chou State)



ประมาณ 1,000 ปีก่อนคริสตกาลประชาชนได้แก่กลุ่มชน 7 กลุ่ม ซึ่งแยกตัวเองออกเป็นประเทศปกครองและในจำนวน 1 ใน 7 ประเทศเหล่านั้น มีม้งเป็นประเทศหนึ่ง มีกษัตริย์ชื่อว่า “จู” ซึ่งมีอยู่สองคนในตระกูลซังหรือแซ่โซ้ง คนที่หนึ่งชื่อ “ชงยี่” คนที่สองชื่อ “ซงจี” ปีค.ศ. 221 ได้มีชนกลุ่มชิน (Chin) ได้เข้ามาต่อสู้แย่งชิงประเทศของกษัตริย์จูจนพ่ายแพ้ ชาวม้งได้แตกระส่ำระสายไปตามที่ต่างๆ มีกลุ่มหนึ่งลุกขึ้นต่อสู้ อีกกลุ่มหนึ่งถอยร่นลงไปอยู่กับกลุ่มม้งในมณฑลกวางโจ เสฉวน และมณฑลยูนาน ต่อมาในปี ค.ศ. 1640 – 1919 ได้มีชาวม้งกลุ่มหนึ่งอพยพลงมาอยู่ในกลุ่มประเทศอินโดจีน(Indochina) ทางตอนใต้ของจีนซึ่งก็ได้แก่กลุ่มประเทศเวียตนาม ลาว และไทย



ครั้งที่ 4 ค.ศ. 1970 –1975 การอพยพออกจากประเทศลาว



ระบบการปกครองคอมมิวนิสต์ได้แผ่ขยายสู่กลุ่มประเทศอินโดจีน ทำให้กลุ่มม้งในลาวต้องแตกกระจายไปทั่วโลก การอพยพของชนชาติม้งในครั้งนี้นับได้ว่ามากที่สุดและอพยพไปไกลที่สุดเท่าที่ เคยมีมาในประวัติศาสตร์ของชนชาติม้ง ชาวม้งมากมายได้อพยพย้ายไปอาศัยอยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศศ ออสเตรเลีย แคนาดา อาร์เจนตินา ฝรั่งเศส และอิตาลี



การอพยพเข้าสู่ประเทศไทย



ชนชาติม้งกลุ่มแรกที่อพยพเข้าสู่ประเทศไทยนั้นไม่มีหลักฐานใดๆบ่งชี้ได้ชัดเจน แต่จากเอกสารของสถาบ้นวิจัยชาวเขาคาดว่าเริ่มต้นอพยพเข้ามาทางตอนเหนือของ ประเทศไทย ในราวปี พ.ศ. 2387 – 2417 จุดที่ชนเผ่าม้งเข้ามามีอยู่ด้วยกัน 3 จุดคือ



จุดที่ 1



เข้ามาทางห้วยทราย – เชียงของ อำเภอ เชียงของ จังหวัดเชียงราย ซึ่งอยู่ทางทิศเหนือสุด เป็นจุดที่เข้ามาก่อน และเข้ามามากที่สุด หลังจากนั้นแยกย้ากระจัดกระจายไปตามแนวทองของเส้นเขามุ่งไปทางทิศตะวันตกสู่ จังหวัดเชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ตากและสุโขทัย



จุดที่ 2



เข้ามาทางไชยบุรี ปัว และทุ่งช้าง เขตอำเภอทุ่งช้าง จังหวัดน่าน แล้วบางกลุ่มได้อพยพลงสู่ทางใต้และทางตะวันตกเข้าสู่จังหวัดแพร่ พิษณุโลก เพชรบูรณ์ กำแพงเพชร และจังหวัดตาก



จุดที่ 3



เข้าทางภูคา – นาแห้ว และด่านซ้าย อำเภอนาแห้ว และอำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย แล้วบางกลุ่มได้เข้ามาสู่จังหวัดเพชรบูรณ์ในที่สุด (สุนทรี, 2524 : อ้างโดยประสิทธิ์, 2531)



นอกจากทั้งสามจุดนี้แล้ว จุดหนึ่งที่ชาวม้งได้อพยพผ่านมาแต่ไม่มีใครกล่าวถึงคือ เข้ามาทางอำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ โดยผ่านมาทางประเทศพม่า ช่องดอยอ่างขาง ซึ่งเป็นที่กล่าวขันกันว่า ม้งกลุ่มนี้คือกลุ่มที่หลงทางจากการอพยพจากจุดที่1 ส่วนสาเหตุของการหลงทางครั้งนี้จากการบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่ได้เล่ากล่าว ไว้ว่ากลุ่มม้งที่อพยพมาก่อนเกิดความไม่ซื่อเมื่อมาถึงทางแยก(สองแพร่ง) ได้นำกิ่งไม้ขวางทางเส้นที่ตนเดินผ่าน กลุ่มหลังตามมาเข้าใจว่าทางที่นำกิ้งไม้มาขาวงนั้นมิใช่เส้นทางที่กลุ่มก่อน อพยพผ่าน จึงอพยพผ่านอีกเส้นทางหนึ่งซึ่งขึ้นไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ คือมุ่งเข้าสู่ประเทศพม่าตอนใต้ กลุ่มนี้มีน้อยได้กระจายสู่จังหวัดแม่ฮ่องสอนและจังหวัดเชียงใหม่ฝั่งตะวัน ตกเฉียงเหนือ





ขอบคุณเนื้อหาข้อมูลเเละผู้เขียนจาก
เว็บ http://www.hmongthailand.com/index.php?mo=5&qid=551734

ที่มา : http://www.geocities.com/hmongthailand/hmongknowledge.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น