วันอาทิตย์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2554

กำเนิดอักษรภาษาม้ง ntawv hmoob thoob teb

ประวัติ Txiv plig Nyiaj pov
บาทหลวง Txiv plig nyiaj pov เกิดเมื่อวันที่ 29 เดือน กรกฏาคม 1921 ประเทศผรั่งเศส ท่านเข้าเรียนหนังสือเมื่ออายุ 5 ขวบ เข้าเรียนในโรงเรียน ซึ่งอยู่ในหมู่บ้านของท่านเอง เมื่ออายุได้ 13 ปี ท่านได้จากครอบครัวไปศึกษาต่อไกลจากบ้านเป็นระยะทางประมาณ 50 กิโลเมตร และ ท่านได้เรียนอย่างต่อเนื่องจนถึงปี ค.ศ 1954 ท่านก็เข้าเรียนต่อในระดับอุดมศึกษาและสำเร็จการศึกษาในปี 1947
                เดือน ธันวาคม ปี 1947  ในเมือง Marseille บาทหลวง Txiv nyiaj pov นั่งเครื่องบินมาถึง Sagon (H. chi Minh villege) ปี 1947 ได้มาถึงที่เวียงจันทร์ ประเทศลาว ท่านได้เริ่มเรียนภาษาลาวเป็นอันดับแรกจนถึงเดือนธันวาคม ปี 1949 ในหมู่บ้านหนึ่งชื่อว่า Paksan อยู่ติดกับริมแม่น้ำโขง ผู้ปกครองของท่านจึงได้ส่งท่านไปอยู่ที่หลวงพระบาง ซึ่งอยู่ทางตอนเหนือของประเทศลาว
เกี่ยวกับภาษาม้ง R.P.A.
ที่ภูวัวป่า (Roob Nyuj Qus)
                เดือนธันวาคม ค.ศ. 1949  บาทหลวง Yves Bertais (txiv plig nyiaj pov) ได้เดินทางมาถึงที่หลวงพระบาง  บริเวณที่เขามาอยู่นั้นรอบ ๆ มีหลายชนชาติอยู่ด้วยกัน เช่น  ลาว, ขมุ, เมี่ยน, และม้ง  (ในเวลานั้นรู้จักม้งในชื่อว่า แม้ว เท่านั้น  บาท หลวงจะไปอยู่ด้วยกับชนเผ่าไหนก็ยังไม่สามารถรู้ได้เลย แม้ผู้ดูแลบาทหลวงเองก็ไม่ได้เอ่ยสักคำว่าจะให้ไปอยู่กับใคร บาทหลวงก็เลยไปด้วยกับหนุ่มลาวคนหนึ่งไปเยี่ยมชมหมู่บ้านต่างๆที่อยู่รอบๆ ในระแวกนั้น ในเดือนมีนาคม ปี 1950 บาทหลวงจึงได้ตัดสินใจว่าจะไปอยู่กับชาวม้งที่หมู่บ้านหนึ่งชื่อว่า ภูวัวป่า (roob nyuj qus) วันที่ 17 เดือน เมษายน ค.ศ. 1950 ตั่งแต่นั้นมาบาทหลวงก็ได้คลุกคลีและไม่ได้ไปจากกลุ่มชนม้งเลย
                ในช่วงเวลานั้น หมู่บ้านภูวัวป่า มี 70 หลังคาเรือน พวกเขาเป็นชาวม้ง ลักษณะของภูวัวป่านั้นมีความสูงจากระดับน้ำทะเล 1,400 เมตร หมู่บ้านภูวัวป่า ก็ตั้งอยู่บริเวณยอดเขาลูกนี้ มีเส้นทางเป็นดินแดงผ่านทางท้ายหมู่บ้าน
                คนม้งที่ให้ที่พักอาศัยกับบาทหลวงชื่อ ย่า เจ่อจื้อ (Yaj Txawj Tswb) ลูกชายเขาชื่อ ย่า หย่า น้อ (Yaj Zam Nob) บาทหลวงอยู่ในบ้านของ yaj txawj tswb เป็นเวลา 3 เดือน เขาไม่มีเงินจ้างคนมาสร้างบ้าน เขาก็เลยขอให้ เจ่อ จื้อ ช่วย บาทหลวงพูด กับชาวบ้านว่าอยากจะอยู่กับชาวบ้าน และขอให้ชาวบ้านมาช่วยสร้างบ้านหลังหนึ่งให้ ชาวบ้านทั้งหมดต่างก็ยังนับถือบรรพบุรุษ เขาคนเดียวที่เป็นบาทหลวงสอนศาสนาคริสต์ ชาวบ้านก็ไม่เข้าใจว่า เพราะเหตุใดบาทหลวงจึงอยากที่จะอยู่ด้วยกับพวกชาวบ้าน เพราะชาวบ้านต่างก็อยากจะนับถือบรรพบุรุษ เช่นเดิมและก็ไม่ได้ขอให้บาทหลวงมาอยู่กับชาวบ้าน เจ่อจื้อและ หย่า น้อ สองพ่อลูกต่างก็เป็นร่างทรง (txiv neeb txiv yaig) บาทหลวงก็ได้พูดกับพวกเขาว่า ตนเองเป็นบาทหลวงสอนศาสนาคริสต์คนหนึ่ง และตนรู้อยู่ว่าพวกเขาคงไม่ยอมรับความเชื่อในเวลาอันสั้น ตนเพียงแต่ต้องการอยากจะอยู่กับพวกเขา เรียนรู้ภาษาม้งใช้ชีวิตเหมือนม้งเท่านั้น ตนก็รู้จักยาของผรั่งเศสบ้าง และหนุ่มลาวที่อยู่ด้วยกับเขาก็รู้หนังสือลาว ถ้าพวกเขาช่วย ตนสร้างบ้านตนเองก็จะ ช่วยรักษาคนไข้ของพวกเขา และช่วยสอนหนังสือลาวให้กับลูกหลานของพวกเขา  ในเดือนกรกฏาคม พวกเขาก็สร้างบ้าน เสร็จเรียบร้อย หลังคามุงด้วยใบลาน
                ชายหนุ่มม้ง 3 คนอายุ 12 ปี มาอยู่ด้วย เป็นเพื่อนบาทหลวง พวกเขาทั้ง 3 คน ชื่อ yaj yeeb, thoj hwj และ tsab huas  พวก เขาทั้งสามคนเป็นคนที่มีชื่อเสียงดี ในหมู่บ้านของพวกเขา พวกเขาทั้งสามคนช่วยกันสอนภาษาม้งให้บาทหลวง พวกเขาเรียนหนังสือ ภาษาฝรั่งเศส และภาษาลาว ในบ้านของบาทหลวงและพวกเขาเองก็สอนภาษาม้ง (ภาษาพูด) ให้กับบาทหลวง พวกเขาทั้งหมด รวมทั้งบาทหลวงด้วยได้ไปเที่ยวป่า ไปในเมือง ไปตัดฟืน  ปลูกผักกิน ไปเยี่ยมชมชาวบ้าน ช่วยรักษาคนไข้ พวกเขาไปไหนมาไหนด้วยกัน จึงทำให้บาทหลวงเรียนรู้ภาษาม้งไปด้วย เวลานั้นบาทหลวงมีอาย 29 ปี
                บาท หลวงเรียนภาษาม้งไม่ได้ง่ายเลย เพราะว่าไม่มีตัวอักษรเขียนจดภาษา เดือนแรกๆ บาทหลวงก็ได้ทดลองใช้ภาษาม้ง(ตัวเขียน) ตามตัวอักษรฝรั่งเศส ชายหนุ่มม้งสามคนที่อยู่ด้วยกับเขาก็เต็มใจเรียนด้วย ภาษาม้ง(ตัวเขียน) อย่างแรกๆ นั้น บาทหลวงใช้เป็นระยะ เวลาช่วงหนึ่งคือ สามปี
ในหมู่บ้านนั้น บาทหลวงมีเพื่อนหลายคนซึ่งอายุ 30 ปี ราวๆ กับตน เวลากลางคืน ตนก็ไปพูดคุยกับพวกเขาถามถึงประเพณีและวัฒนธรรมของม้ง พวกเขาก็สอนให้ และก็สอนนิทานบางเรื่องให้ ตนก็นำมาบันทึกเป็นตัวหนังสือเอาไว้ ในปี 1951 ผู้เฒ่าผู้แก่ในหมู่บ้านก็ได้ฆ่าหมูตัวหนึ่ง ทำพิธีในบ้านของบาทหลวงและตั้งชื่อให้กับบาทหลวงชื่อว่า เยี่ย ป๋อ (Nyiaj pov)
ปี 1953 ประดิษฐ์ตัวอักษรม้ง Thoob teb (ทั่วโลก)
ในช่วงเวลาเดียวกันที่บาทหลวงได้ไปปลูกบ้านอยู่กับชาวม้งที่ภูวัวป่า ห่างไกลจากหลวงพระบาง 80 กิโลเมตรทางอากาศ ตนเองก็ได้ข่าวว่าที่เชียงขวางซึ่งห่างไกลประมาณ 250 กิโลเมตร ไปทางทิศตะวันออก มีอาจารย์คริสเตียนท่านหนึ่งเป็นชาวอเมริกัน มาเผยแพร่ศาสนาคริสต์ ในหมู่บ้านม้งเขาก็ประดิษฐ์ภาษาม้งของเขาเองด้วย
ปี 1953 เดือนมีนาคม บาทหลวงได้ไปอยู่ที่หลวงพระบางได้ 2-3 วัน ก็ได้เจอกับอาจารย์คริสเตียนอีกท่านหนึ่งชื่อ Roff ตนก็เลยพูดกับเขาว่า ชาว โปรตสแตนส์ พวกท่านมีอาจารย์ท่านหนึ่งอยู่ที่เชียงขวาง เขาประดิษฐ์อักษรตัวหนึ่ง และเราเองอยู่ที่นี่เราก็สร้างอีกตัวหนึ่งด้วย อีกไม่นานพวกท่านก็จะสอนภาษาม้ง แบบของพวกท่าน เราเองก็จะสอนภาษาม้งแบบที่เป็นของเราเองที่นี่ พวกเรามี ภาษา 2 แบบ และต่อไปชาวม้งในลาวก็จะมีภาษา 2 แบบ ที่แตกต่างกัน พวกเรามาพบปะกันนั่งคุยกันจะได้ไหม ให้มาตกลงกันให้มาใช้ภาษาม้งแบบเดียวกันมาบันทึกภาษาพูดของชาวม้งจะได้เป็น ผลดีกับชาวม้งไหม?
Roff ได้ยินบาทหลวงพูดเช่นนั้นก็เห็นด้วย หลังจากนั้นอีก 2-3 วัน Roff ก็ได้มาหาบาทหลวงและพูดกับบาทหลวง ว่า เขาได้คุยกับเพื่อนของเขาที่เชียงขวางและได้นัดเวลาให้พวกเราได้มาพบกันในหลวงพระบาง เขาบอกว่าจะเชิญนักวิชาการ Linguist มา ด้วย บาทหลวงเองก็บอกว่าจะพาชายหนุ่มม้งสองคนไปด้วย พวกเราต้องการจะประดิษฐ์อักษรม้งตัวหนึ่งควรจะมีม้งมาร่วมกับพวกเราด้วย เพราะว่าพวกเขาพูดภาษาม้งได้ชัดเจนกว่า พวกเรา ชาวต่างชาติ กับนักวิชาการ Linguist ได้ฟัง
เดือน เมษายน ปี 1953 พวกเขาได้มาพบกันที่หลวงพระบางเป็นเวลา 1 เดือนกว่า กลุ่มคนที่มาพบปะกันและได้พูดคุยกันในครั้งนี้ คือ
คุณ Berney ซึ่งเป็นอาจารย์คริสเตียนที่อยู่ที่เชียงขวาง (Evangelist) เขากำลังเรียนภาษาม้งเขียว เขาก็มีแบบของภาษาที่เขาประดิษฐ์ขึ้น จะสอนเกี่ยวกับระดับเสียงสูง-ต่ำ เขาจะใช้ตัวเลข 1, 2 , 3 ยกตัวอย่างเช่น kuv mus ua teb : ku3 mu2 ua4 te7
คุณ smalley ซึ่งเป็นนักวิชาการที่เชี่ยวชาญด้านภาษาศาสตร์และ phonetic แต่ว่าไม่รู้ภาษาม้ง
ม้ง 2 คนคือ ย่าเน้ง(yaj neeb)และ ท่อ ฮื่อ (thoj Hwj)ที่มากับบาทหลวงซึ่งทั้งสองคน อยู่ด้วยกับบาทหลวงที่ภูวัวป่า(Roob nyuj qus) ได้สามปี ซึ่งพวกเขาสามารถเขียนภาษาม้งแบบของบาทหลวงได้แล้ว ซึ่งเขียนระดับสูงต่ำตามนี้ เช่น ku mu ua te.
เวลานั้นบาทหลงเองก็ได้เก็บรวบรวมภาษาม้งขาวที่ตนเองจดบันทึกได้มากพอสมควรแล้ว ซึ่งมีถึง 3,000 กว่าหน้าที่บันทึกเป็นภาษาม้ง, ที่จะเตรียมทำเป็นพจนานุกรม แปลภาษาม้ง- ฝรั่งเศส
พวกเขาได้มาคุยกันได้ 3 วันกว่า Dr. smalley ได้ดูแบบภาษาม้งของคุณ Burney ซึ่งใช้อยู่ที่เชียงขวาง และดูแบบของบาทหลวงซึ่งใช้อยู่ที่ภูวัวป่า Dr. smalley ได้ถามชายหนุ่มม้งสองคนนั้นหลายๆที ให้ทั้งสองพูดภาษาม้งให้ชัดๆ ให้เขาฟังกับหูของเขาเอง
พวกเขาได้คุยกันและตกลงกันให้ประดิษฐ์แบบภาษาม้งซึ่งมีลักษณะดังนี้คือ
1.             ให้หาตัวอักษรที่มีใช้อยู่ในเครื่องพิมพ์
2.             ต้องประดิษฐ์แบบอักษรหรือภาษา(ตัวเขียน)ที่เข้าตามหลัก Phonetic และให้เป็นระบบ Logical system
3.             ต้อง การที่จะสอนระบบเสียงสูงต่ำ จะต้องไม่ใช้ตัวเลขเพราะดูไม่ดี และต้องใช้สัญลักษณ์ต่างๆ ซึ่งอยู่เหนือเส้นบรรทัดหรืออยู่ใต้เส้นบรรทัด เนื่องจากดูไม่ดีแล้ว เครื่องพิมพ์ดีดฝรั่งเศส หรือ เครื่องพิมพ์ดีดอเมริกาก็ยังไม่สามารถพิมพ์สัญลักษณ์เหล่านั้นได้ด้วย
พวกเขาทั้งหมดตกลงให้ Dr. smalley ตัดสินใจให้ว่าจะใช้แบบไหนและควรปรับปรุงเพิ่มเติมอย่างไรเพื่อให้งานจะได้ข้อยุติลงได้ วันที่ 5 ได้ ข้อยุติเป็นที่เรียบร้อยแล้วพวกเขาก็ได้ตกลงร่วมกันว่า ต่อจากนี้ไปพวกเขาจะใช้ภาษาม้งตามแบบที่ตกลงกันเอาไว้และห้ามมิให้มีใคร เปลี่ยนแปลงแต่อย่างใด ภาษาม้ง (ตัวเขียน) ดังกล่าวดีสำหรับในการเขียนบันทึกทั้งที่เป็นภาษาม้งขาวและภาษาม้งเขียว ในช่วงหลังจากนั้น พวกเขาได้ตั้งชื่อให้กับภาษาม้งตัวนี้ว่า ภาษาม้ง R.P.A (ntawv hmoob R.P.A) ซึ่งย่อมาจากคำว่า Romanized Popular Alphabet หลังจากที่พวกเขาได้ตกลงกันเป็นที่เรียบร้อยแล้วต่างคนก็ต่างกลับไป
มาถึงปี 1997 พวกเขาจึงได้เปลี่ยนชื่อเรียกว่า “ntawv hmoob thoob teb” (ภาษาม้งทั่วโลก) เนื่องจากพวกเขาเห็นว่า ภาษาม้งตัวนี้ได้แพร่ออกไปไกลเรื่อยๆ และชาวม้งก็นิยมใช้กันทั่วโลก
ม้งกลุ่มแรกที่เรียนภาษาม้งอยู่ที่ภูวัวป่า (Roob nyuj Qus)
                การได้มาซึ่งภาษาม้งตัวหนึ่งที่ทุกคนได้ตกลงร่วมกันทำให้บาทหลวงดีใจอย่างมาก ในช่วงเวลานั้นเองที่อยู่ที่ภูวัวป่า (roob nyuj qus) บาทหลวงได้จัดทำหนังสือสอนอ่านภาษาม้งเล่มแรก ซึ่งเขาเขียนด้วยมือ เนื่องจากเวลานั้นยังไม่มีเครื่องพิมพ์ดีด เมื่อปี 1954  ก็ ได้เครื่องพิมพ์ดีดมาเครื่องหนึ่ง มาตั้งเอาไว้ในหมู่บ้านที่บาทหลวง หนุ่มสาวในหมู่บ้านต่างก็พากันมาเรียนภาษากับบาทหลวงทุกๆคืนคนแก่บางคนก็มา เรียนด้วย รวมทั้งม้งบางคนที่อยู่ในหมู่บ้านที่ใกล้เคียงเมื่อเขาได้ข่าวว่ามีภาษาม้ง แล้ว พวกเขาก็พากันมาเรียนด้วย ซึ่งเป็นเช่นนี้ไปจนถึงปี 1959 ก็ ได้พิมพ์หนังสือเล่มหนึ่งออกซึ่งเป็นหนังสือเกี่ยวกับนิทาน เนื่องจากว่าภาษาม้งไม่ได้แพร่ออกไปเร็วนัก เพราะในหมู่บ้านที่บาทหลวงอยู่นั้นไม่มีผู้หลักผู้ใหญ่ (ทางราชการ) ซึ่งเป็นชาวม้ง ให้ความสนใจและสั่งสอนหรือส่งเสริมให้ชาวบ้านตั่งใจศึกษา และผู้นำ(ผู้ว่าหรือเจ้าแขวง)ที่อยู่ ที่เวียงจันทร์เมื่อได้ข่าวว่า พวกเขาประดิษฐ์ภาษาม้งขึ้นใช้แล้ว ซึ่งทำให้ผู้นำดังกล่าวไม่เห็นด้วย และพูดว่าถ้าหากพวกเขาจะคิดค้นหรือประดิษฐ์ภาษาม้งขึ้นใช้ทั้งนี้พวกเขาจะ ต้องใช้อักษรลาว มาเป็นแบบเทียบเสียงจึงจะถูก แต่เนื่องจากว่าพวกเขาอยู่ไกลจากเวียนจันทร์มากทำเป็นไม่สนใจ
                ปี 1959 มีประมาณ 100 คนที่รู้หนังสือม้ง ครึ่งหนึ่งเป็นคนในหมู่บ้านภูวัวป่า ส่วนอีก ครึ่งหนึ่งเป็นคนม้งทีอยู่บ้านห่างออกไป ที่ต้องเดินเท้าประมาณ 1-2 วัน ในบริเวณ เขาลูกนั้น เช่น บ้าน ภา ลู ลา (Phas lus mas ) บ้านภู ซา เนง (Phus xas nees)  หรือ บ้าน ภ่า ท้ง (Phaj Thoob)
                ตั่งแต่ปี 1954 จนถึงปี 1959 มีเพียงม้ง 5-6 ครอบ ครัว เท่านั้นที่รับเชื่อในพระเยซูพวกเขาก็ได้เรียนรู้ภาษาม้งของบาทหลวง บาทหลวงเองก็เริ่มแปรคำสอนของคาเทอลิค เป็นภาษาม้งของชาวม้ง ในปี 1955 มีม้งคนหนึ่งเป็นคนแซ่ย่าง ได้สอนให้บาทหลวงเขียนเกี่ยวกับการอัวเน้ง(kev ua neeb/ thaj neeb)และหลังจากนั้นมีหมอชาวฝรั่งเศสคนหนึ่งแปรออกเป็นภาษาฝรั่งเศส ลงไว้ในหนังสือชื่อดังเล่มหนึ่งใน แวดวงของกลุ่มนักวิชาการ ชื่อว่า Bulletin de I’cole Francaise d’Extreme Orient ซึ่งเป็นครั้งแรกที่ภาษาม้ง Thoob Teb ได้ปรากฏอยู่ในหนังสือของกลุ่มนักวิชาการ นับตั่งแต่นั้นมากลุ่มนักวิชาการชาว… (xib fab) เขียนถึงชาวม้งในภาคพื้นเอเชียใต้ ทีไร ก็จะเขียนเป็นภาษาม้ง Thoob teb
สถานการณ์ปัจจุบัน
                ปัจจุบัน อักษรตัวนี้เป็นที่แพร่หลายกันมากที่สุด คนทั่วไปต่างรู้จักใช้กัน และเป็นที่ใช้ติดต่อสื่อสารกันของชาวม้ง เพราะว่าสะดวกต่อการสื่อสารเพียงใช้แป้นพิมพ์ภาษาอังกฤษก็สามารถใช้ได้แล้ว
อ้างอิง : แปลมาจากหนังสือชีวะประวัติของท่าน

ขอขอบคุณบทความนี้จากเว็บไซต์ : Hmong19.com  

เรียนภาษาม้ง  
Kawm ntawv hmoob








ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น