วันพฤหัสบดีที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2554

"ปีใหม่ม้ง"บ้านบวกเต๋ย

วันนี้ (28ธ.ค.) ที่บ้านบวกเต๋ย ต.โป่งแยง อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ ชุมชน 12 เครือข่ายชาวเขาเผ่าม้งในจังหวัดเชียงใหม่ จัดงานสืบสานประเพณีปีใหม่ม้งหรือ น่อ เป๊ โจ่ว ประจำปี 2555 เพื่ออนุรักษ์วัฒนธรรมพื้นบ้านขนบธรรมเนียมของชาวเขาเผ่าม้ง พร้อมทั้งสร้างความสามัคคีในหมู่คณะ ตลอดจนช่วยเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ประเพณีของชาวเขาเผ่าม้งออกสู่สายตาสาธารณชนและนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ โดยเปิดโอกาสให้ผู้ที่สนใจเข้าชมกิจกรรมประเพณีดังกล่าว ทั้งนี้ นายบุญเลิศ บูรณุปกรณ์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ เป็นประธานเปิดงาน มีขบวนแห่ในชุดชาวเขาที่สวยงาม เพื่อรณรงค์กิจกรรมการทำดีของชาวเขา ตลอดจนต่อต้านยาเสพติดและอบายมุขทุกชนิด โดยในช่วงเช้ามีกิจกรรมการถวายพระพร การแสดงเต้นประกอบเพลงภาษาชาวเขา การแข่งขันการเล่นลูกข่างไม้ การแข่งขันยิงหน้าไม้ การโยนลูกช่วง การฟัดข้าว

สำหรับกิจกรรมที่โดดเด่นของงานนี้ก็คือ การแข่งขันรถล้อเลื่อนไม้หรือการแข่งขันรถภูเขา ที่ทำจากไม้ไหลลงมาจากบนดอยสูง โดยผู้ขับต้องใช้เท้าทั้งสองสองบังคับรถ แล้วใช้มือดึงคันโยกในการเบรค โดยในการแข่งขันมีการเฉี่ยวชนกันบ้างแต่ไม่ได้รับบาดเจ็บอะไร มีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศให้ความสนใจเข้าชมจำนวนมาก

นายบุญเลิศ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ เปิดเผยว่า สำหรับวันปีใหม่ม้งจะจัดขึ้นเป็นประจำทุกปีในวันขึ้น 4 ค่ำ เดือน 2 หลังจากฤดูกาลเก็บเกี่ยวผลผลิต เพื่อผ่อนคลายความเหนื่อยล้าจากการทำงาน และร่วมกินเลี้ยงฉลองกัน 3 วัน 3 คืน โดยจัดกิจกรรมเวียนไปตามหมู่บ้านต่างๆ 12 แห่งในจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งปีนี้หมู่บ้านบวกเต๋ย รับเป็นเจ้าภาพ โดยมีการจัดกิจกรรม ซึ่งเป็นวิถีชีวิตของชาวเขาเผ้าม้งหลายอย่าง ทั้งการละเล่นทอยลูกข่างไม้ซึ่งเป็นของเล่นของเด็ก การฟัดข้าวแข่งขัน ซึ่งเป็นหน้าที่ของหญิงสาวและแม่บ้าน การโยนลูกช่วงซึ่งเป็นการหาคู่ของชนเผ่า และการเล่นล้อเลื่อนไม้ ซึ่งแต่เดิมชาวเขาเผ่าม้งใช้ในการเลื่อนขนไม้ขนฟืนในป่าลงจากยอดดอยมาในหมู่บ้าน แต่ได้ปรับเปลี่ยนเรื่อยมานำมาเลื่อนแข่งกัน และถูกบรรจุเป็นกีฬาเอ็กซ์ทรีมชนิดหนึ่งซึ่งได้รับความสนใจจากชาวต่างประเทศอย่างมาก

ข่าวจาก เดลินิวส์
 

วันอาทิตย์ที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2554

เชิญเที่ยวงานปีใหม่ม้งประกวดสาวงาม

น.ส.กมล นิตย์ อมรวศินกุล ผู้จัดการฝ่ายโครงการกองการประกวดมิสม้งไทยแลนด์ 2012 เปิดเผยว่า ด้วย จ.เชียงราย มีชาวม้งอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก ถือเป็นโอกาสอันดีที่ชาวม้งจะได้สร้างคุณประโยชน์ต่อถิ่นที่อยู่อาศัย จึงร่วมมือกับเทศบาลตำบลเวียง อ.เชียงของ จ.เชียงราย จัดงาน "เทศกาลประเพณีปีใหม่ม้ง ประจำปี 2555" ในวันที่ 30 ธ.ค. ถึงวันที่ 1 ม.ค. 2555 ที่ท่าเรือบั๊ก อ.เชียงของ อีกทั้งเพื่อร่วมเฉลิมฉลองเนื่องในโอกาสก่อตั้งเมืองเชียงรายครบ 750 ปี
  น.ส.กมล นิตย์กล่าวว่า ภายในงานมีกิจกรรมมากมาย อาทิ การแต่งกายด้วยชุดประจำเผ่าที่มีความสวยงาม และเป็นเอกลักษณ์ของชาวม้ง การละเล่นพื้นบ้าน การโยนลูกช่วง ประเพณีสร้างสายสัมพันธ์ที่สืบทอดกันมาอย่างยาวนาน การแสดงจากศิลปินดารานักร้องที่มีชื่อเสียงของชาวม้ง ทั้งในประเทศไทย สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว สาธารณรัฐประชาชนจีน และสหรัฐอเมริกา โดยมีไฮไลต์คือการประกวดมิสม้งไทยแลนด์ 2012 จึงขอเชิญชวนนักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวเชียงของ ร่วมกิจกรรมเคานต์ดาวน์ในคืนวันที่ 31 ธ.ค.ด้วย

ติดตามได้ในเว็บ hmongthailand.com
หน้าเเรกข้อมูลจากข่าวสดรายวัน

วันอาทิตย์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2554

กำเนิดอักษรภาษาม้ง ntawv hmoob thoob teb

ประวัติ Txiv plig Nyiaj pov
บาทหลวง Txiv plig nyiaj pov เกิดเมื่อวันที่ 29 เดือน กรกฏาคม 1921 ประเทศผรั่งเศส ท่านเข้าเรียนหนังสือเมื่ออายุ 5 ขวบ เข้าเรียนในโรงเรียน ซึ่งอยู่ในหมู่บ้านของท่านเอง เมื่ออายุได้ 13 ปี ท่านได้จากครอบครัวไปศึกษาต่อไกลจากบ้านเป็นระยะทางประมาณ 50 กิโลเมตร และ ท่านได้เรียนอย่างต่อเนื่องจนถึงปี ค.ศ 1954 ท่านก็เข้าเรียนต่อในระดับอุดมศึกษาและสำเร็จการศึกษาในปี 1947
                เดือน ธันวาคม ปี 1947  ในเมือง Marseille บาทหลวง Txiv nyiaj pov นั่งเครื่องบินมาถึง Sagon (H. chi Minh villege) ปี 1947 ได้มาถึงที่เวียงจันทร์ ประเทศลาว ท่านได้เริ่มเรียนภาษาลาวเป็นอันดับแรกจนถึงเดือนธันวาคม ปี 1949 ในหมู่บ้านหนึ่งชื่อว่า Paksan อยู่ติดกับริมแม่น้ำโขง ผู้ปกครองของท่านจึงได้ส่งท่านไปอยู่ที่หลวงพระบาง ซึ่งอยู่ทางตอนเหนือของประเทศลาว
เกี่ยวกับภาษาม้ง R.P.A.
ที่ภูวัวป่า (Roob Nyuj Qus)
                เดือนธันวาคม ค.ศ. 1949  บาทหลวง Yves Bertais (txiv plig nyiaj pov) ได้เดินทางมาถึงที่หลวงพระบาง  บริเวณที่เขามาอยู่นั้นรอบ ๆ มีหลายชนชาติอยู่ด้วยกัน เช่น  ลาว, ขมุ, เมี่ยน, และม้ง  (ในเวลานั้นรู้จักม้งในชื่อว่า แม้ว เท่านั้น  บาท หลวงจะไปอยู่ด้วยกับชนเผ่าไหนก็ยังไม่สามารถรู้ได้เลย แม้ผู้ดูแลบาทหลวงเองก็ไม่ได้เอ่ยสักคำว่าจะให้ไปอยู่กับใคร บาทหลวงก็เลยไปด้วยกับหนุ่มลาวคนหนึ่งไปเยี่ยมชมหมู่บ้านต่างๆที่อยู่รอบๆ ในระแวกนั้น ในเดือนมีนาคม ปี 1950 บาทหลวงจึงได้ตัดสินใจว่าจะไปอยู่กับชาวม้งที่หมู่บ้านหนึ่งชื่อว่า ภูวัวป่า (roob nyuj qus) วันที่ 17 เดือน เมษายน ค.ศ. 1950 ตั่งแต่นั้นมาบาทหลวงก็ได้คลุกคลีและไม่ได้ไปจากกลุ่มชนม้งเลย
                ในช่วงเวลานั้น หมู่บ้านภูวัวป่า มี 70 หลังคาเรือน พวกเขาเป็นชาวม้ง ลักษณะของภูวัวป่านั้นมีความสูงจากระดับน้ำทะเล 1,400 เมตร หมู่บ้านภูวัวป่า ก็ตั้งอยู่บริเวณยอดเขาลูกนี้ มีเส้นทางเป็นดินแดงผ่านทางท้ายหมู่บ้าน
                คนม้งที่ให้ที่พักอาศัยกับบาทหลวงชื่อ ย่า เจ่อจื้อ (Yaj Txawj Tswb) ลูกชายเขาชื่อ ย่า หย่า น้อ (Yaj Zam Nob) บาทหลวงอยู่ในบ้านของ yaj txawj tswb เป็นเวลา 3 เดือน เขาไม่มีเงินจ้างคนมาสร้างบ้าน เขาก็เลยขอให้ เจ่อ จื้อ ช่วย บาทหลวงพูด กับชาวบ้านว่าอยากจะอยู่กับชาวบ้าน และขอให้ชาวบ้านมาช่วยสร้างบ้านหลังหนึ่งให้ ชาวบ้านทั้งหมดต่างก็ยังนับถือบรรพบุรุษ เขาคนเดียวที่เป็นบาทหลวงสอนศาสนาคริสต์ ชาวบ้านก็ไม่เข้าใจว่า เพราะเหตุใดบาทหลวงจึงอยากที่จะอยู่ด้วยกับพวกชาวบ้าน เพราะชาวบ้านต่างก็อยากจะนับถือบรรพบุรุษ เช่นเดิมและก็ไม่ได้ขอให้บาทหลวงมาอยู่กับชาวบ้าน เจ่อจื้อและ หย่า น้อ สองพ่อลูกต่างก็เป็นร่างทรง (txiv neeb txiv yaig) บาทหลวงก็ได้พูดกับพวกเขาว่า ตนเองเป็นบาทหลวงสอนศาสนาคริสต์คนหนึ่ง และตนรู้อยู่ว่าพวกเขาคงไม่ยอมรับความเชื่อในเวลาอันสั้น ตนเพียงแต่ต้องการอยากจะอยู่กับพวกเขา เรียนรู้ภาษาม้งใช้ชีวิตเหมือนม้งเท่านั้น ตนก็รู้จักยาของผรั่งเศสบ้าง และหนุ่มลาวที่อยู่ด้วยกับเขาก็รู้หนังสือลาว ถ้าพวกเขาช่วย ตนสร้างบ้านตนเองก็จะ ช่วยรักษาคนไข้ของพวกเขา และช่วยสอนหนังสือลาวให้กับลูกหลานของพวกเขา  ในเดือนกรกฏาคม พวกเขาก็สร้างบ้าน เสร็จเรียบร้อย หลังคามุงด้วยใบลาน
                ชายหนุ่มม้ง 3 คนอายุ 12 ปี มาอยู่ด้วย เป็นเพื่อนบาทหลวง พวกเขาทั้ง 3 คน ชื่อ yaj yeeb, thoj hwj และ tsab huas  พวก เขาทั้งสามคนเป็นคนที่มีชื่อเสียงดี ในหมู่บ้านของพวกเขา พวกเขาทั้งสามคนช่วยกันสอนภาษาม้งให้บาทหลวง พวกเขาเรียนหนังสือ ภาษาฝรั่งเศส และภาษาลาว ในบ้านของบาทหลวงและพวกเขาเองก็สอนภาษาม้ง (ภาษาพูด) ให้กับบาทหลวง พวกเขาทั้งหมด รวมทั้งบาทหลวงด้วยได้ไปเที่ยวป่า ไปในเมือง ไปตัดฟืน  ปลูกผักกิน ไปเยี่ยมชมชาวบ้าน ช่วยรักษาคนไข้ พวกเขาไปไหนมาไหนด้วยกัน จึงทำให้บาทหลวงเรียนรู้ภาษาม้งไปด้วย เวลานั้นบาทหลวงมีอาย 29 ปี
                บาท หลวงเรียนภาษาม้งไม่ได้ง่ายเลย เพราะว่าไม่มีตัวอักษรเขียนจดภาษา เดือนแรกๆ บาทหลวงก็ได้ทดลองใช้ภาษาม้ง(ตัวเขียน) ตามตัวอักษรฝรั่งเศส ชายหนุ่มม้งสามคนที่อยู่ด้วยกับเขาก็เต็มใจเรียนด้วย ภาษาม้ง(ตัวเขียน) อย่างแรกๆ นั้น บาทหลวงใช้เป็นระยะ เวลาช่วงหนึ่งคือ สามปี
ในหมู่บ้านนั้น บาทหลวงมีเพื่อนหลายคนซึ่งอายุ 30 ปี ราวๆ กับตน เวลากลางคืน ตนก็ไปพูดคุยกับพวกเขาถามถึงประเพณีและวัฒนธรรมของม้ง พวกเขาก็สอนให้ และก็สอนนิทานบางเรื่องให้ ตนก็นำมาบันทึกเป็นตัวหนังสือเอาไว้ ในปี 1951 ผู้เฒ่าผู้แก่ในหมู่บ้านก็ได้ฆ่าหมูตัวหนึ่ง ทำพิธีในบ้านของบาทหลวงและตั้งชื่อให้กับบาทหลวงชื่อว่า เยี่ย ป๋อ (Nyiaj pov)
ปี 1953 ประดิษฐ์ตัวอักษรม้ง Thoob teb (ทั่วโลก)
ในช่วงเวลาเดียวกันที่บาทหลวงได้ไปปลูกบ้านอยู่กับชาวม้งที่ภูวัวป่า ห่างไกลจากหลวงพระบาง 80 กิโลเมตรทางอากาศ ตนเองก็ได้ข่าวว่าที่เชียงขวางซึ่งห่างไกลประมาณ 250 กิโลเมตร ไปทางทิศตะวันออก มีอาจารย์คริสเตียนท่านหนึ่งเป็นชาวอเมริกัน มาเผยแพร่ศาสนาคริสต์ ในหมู่บ้านม้งเขาก็ประดิษฐ์ภาษาม้งของเขาเองด้วย
ปี 1953 เดือนมีนาคม บาทหลวงได้ไปอยู่ที่หลวงพระบางได้ 2-3 วัน ก็ได้เจอกับอาจารย์คริสเตียนอีกท่านหนึ่งชื่อ Roff ตนก็เลยพูดกับเขาว่า ชาว โปรตสแตนส์ พวกท่านมีอาจารย์ท่านหนึ่งอยู่ที่เชียงขวาง เขาประดิษฐ์อักษรตัวหนึ่ง และเราเองอยู่ที่นี่เราก็สร้างอีกตัวหนึ่งด้วย อีกไม่นานพวกท่านก็จะสอนภาษาม้ง แบบของพวกท่าน เราเองก็จะสอนภาษาม้งแบบที่เป็นของเราเองที่นี่ พวกเรามี ภาษา 2 แบบ และต่อไปชาวม้งในลาวก็จะมีภาษา 2 แบบ ที่แตกต่างกัน พวกเรามาพบปะกันนั่งคุยกันจะได้ไหม ให้มาตกลงกันให้มาใช้ภาษาม้งแบบเดียวกันมาบันทึกภาษาพูดของชาวม้งจะได้เป็น ผลดีกับชาวม้งไหม?
Roff ได้ยินบาทหลวงพูดเช่นนั้นก็เห็นด้วย หลังจากนั้นอีก 2-3 วัน Roff ก็ได้มาหาบาทหลวงและพูดกับบาทหลวง ว่า เขาได้คุยกับเพื่อนของเขาที่เชียงขวางและได้นัดเวลาให้พวกเราได้มาพบกันในหลวงพระบาง เขาบอกว่าจะเชิญนักวิชาการ Linguist มา ด้วย บาทหลวงเองก็บอกว่าจะพาชายหนุ่มม้งสองคนไปด้วย พวกเราต้องการจะประดิษฐ์อักษรม้งตัวหนึ่งควรจะมีม้งมาร่วมกับพวกเราด้วย เพราะว่าพวกเขาพูดภาษาม้งได้ชัดเจนกว่า พวกเรา ชาวต่างชาติ กับนักวิชาการ Linguist ได้ฟัง
เดือน เมษายน ปี 1953 พวกเขาได้มาพบกันที่หลวงพระบางเป็นเวลา 1 เดือนกว่า กลุ่มคนที่มาพบปะกันและได้พูดคุยกันในครั้งนี้ คือ
คุณ Berney ซึ่งเป็นอาจารย์คริสเตียนที่อยู่ที่เชียงขวาง (Evangelist) เขากำลังเรียนภาษาม้งเขียว เขาก็มีแบบของภาษาที่เขาประดิษฐ์ขึ้น จะสอนเกี่ยวกับระดับเสียงสูง-ต่ำ เขาจะใช้ตัวเลข 1, 2 , 3 ยกตัวอย่างเช่น kuv mus ua teb : ku3 mu2 ua4 te7
คุณ smalley ซึ่งเป็นนักวิชาการที่เชี่ยวชาญด้านภาษาศาสตร์และ phonetic แต่ว่าไม่รู้ภาษาม้ง
ม้ง 2 คนคือ ย่าเน้ง(yaj neeb)และ ท่อ ฮื่อ (thoj Hwj)ที่มากับบาทหลวงซึ่งทั้งสองคน อยู่ด้วยกับบาทหลวงที่ภูวัวป่า(Roob nyuj qus) ได้สามปี ซึ่งพวกเขาสามารถเขียนภาษาม้งแบบของบาทหลวงได้แล้ว ซึ่งเขียนระดับสูงต่ำตามนี้ เช่น ku mu ua te.
เวลานั้นบาทหลงเองก็ได้เก็บรวบรวมภาษาม้งขาวที่ตนเองจดบันทึกได้มากพอสมควรแล้ว ซึ่งมีถึง 3,000 กว่าหน้าที่บันทึกเป็นภาษาม้ง, ที่จะเตรียมทำเป็นพจนานุกรม แปลภาษาม้ง- ฝรั่งเศส
พวกเขาได้มาคุยกันได้ 3 วันกว่า Dr. smalley ได้ดูแบบภาษาม้งของคุณ Burney ซึ่งใช้อยู่ที่เชียงขวาง และดูแบบของบาทหลวงซึ่งใช้อยู่ที่ภูวัวป่า Dr. smalley ได้ถามชายหนุ่มม้งสองคนนั้นหลายๆที ให้ทั้งสองพูดภาษาม้งให้ชัดๆ ให้เขาฟังกับหูของเขาเอง
พวกเขาได้คุยกันและตกลงกันให้ประดิษฐ์แบบภาษาม้งซึ่งมีลักษณะดังนี้คือ
1.             ให้หาตัวอักษรที่มีใช้อยู่ในเครื่องพิมพ์
2.             ต้องประดิษฐ์แบบอักษรหรือภาษา(ตัวเขียน)ที่เข้าตามหลัก Phonetic และให้เป็นระบบ Logical system
3.             ต้อง การที่จะสอนระบบเสียงสูงต่ำ จะต้องไม่ใช้ตัวเลขเพราะดูไม่ดี และต้องใช้สัญลักษณ์ต่างๆ ซึ่งอยู่เหนือเส้นบรรทัดหรืออยู่ใต้เส้นบรรทัด เนื่องจากดูไม่ดีแล้ว เครื่องพิมพ์ดีดฝรั่งเศส หรือ เครื่องพิมพ์ดีดอเมริกาก็ยังไม่สามารถพิมพ์สัญลักษณ์เหล่านั้นได้ด้วย
พวกเขาทั้งหมดตกลงให้ Dr. smalley ตัดสินใจให้ว่าจะใช้แบบไหนและควรปรับปรุงเพิ่มเติมอย่างไรเพื่อให้งานจะได้ข้อยุติลงได้ วันที่ 5 ได้ ข้อยุติเป็นที่เรียบร้อยแล้วพวกเขาก็ได้ตกลงร่วมกันว่า ต่อจากนี้ไปพวกเขาจะใช้ภาษาม้งตามแบบที่ตกลงกันเอาไว้และห้ามมิให้มีใคร เปลี่ยนแปลงแต่อย่างใด ภาษาม้ง (ตัวเขียน) ดังกล่าวดีสำหรับในการเขียนบันทึกทั้งที่เป็นภาษาม้งขาวและภาษาม้งเขียว ในช่วงหลังจากนั้น พวกเขาได้ตั้งชื่อให้กับภาษาม้งตัวนี้ว่า ภาษาม้ง R.P.A (ntawv hmoob R.P.A) ซึ่งย่อมาจากคำว่า Romanized Popular Alphabet หลังจากที่พวกเขาได้ตกลงกันเป็นที่เรียบร้อยแล้วต่างคนก็ต่างกลับไป
มาถึงปี 1997 พวกเขาจึงได้เปลี่ยนชื่อเรียกว่า “ntawv hmoob thoob teb” (ภาษาม้งทั่วโลก) เนื่องจากพวกเขาเห็นว่า ภาษาม้งตัวนี้ได้แพร่ออกไปไกลเรื่อยๆ และชาวม้งก็นิยมใช้กันทั่วโลก
ม้งกลุ่มแรกที่เรียนภาษาม้งอยู่ที่ภูวัวป่า (Roob nyuj Qus)
                การได้มาซึ่งภาษาม้งตัวหนึ่งที่ทุกคนได้ตกลงร่วมกันทำให้บาทหลวงดีใจอย่างมาก ในช่วงเวลานั้นเองที่อยู่ที่ภูวัวป่า (roob nyuj qus) บาทหลวงได้จัดทำหนังสือสอนอ่านภาษาม้งเล่มแรก ซึ่งเขาเขียนด้วยมือ เนื่องจากเวลานั้นยังไม่มีเครื่องพิมพ์ดีด เมื่อปี 1954  ก็ ได้เครื่องพิมพ์ดีดมาเครื่องหนึ่ง มาตั้งเอาไว้ในหมู่บ้านที่บาทหลวง หนุ่มสาวในหมู่บ้านต่างก็พากันมาเรียนภาษากับบาทหลวงทุกๆคืนคนแก่บางคนก็มา เรียนด้วย รวมทั้งม้งบางคนที่อยู่ในหมู่บ้านที่ใกล้เคียงเมื่อเขาได้ข่าวว่ามีภาษาม้ง แล้ว พวกเขาก็พากันมาเรียนด้วย ซึ่งเป็นเช่นนี้ไปจนถึงปี 1959 ก็ ได้พิมพ์หนังสือเล่มหนึ่งออกซึ่งเป็นหนังสือเกี่ยวกับนิทาน เนื่องจากว่าภาษาม้งไม่ได้แพร่ออกไปเร็วนัก เพราะในหมู่บ้านที่บาทหลวงอยู่นั้นไม่มีผู้หลักผู้ใหญ่ (ทางราชการ) ซึ่งเป็นชาวม้ง ให้ความสนใจและสั่งสอนหรือส่งเสริมให้ชาวบ้านตั่งใจศึกษา และผู้นำ(ผู้ว่าหรือเจ้าแขวง)ที่อยู่ ที่เวียงจันทร์เมื่อได้ข่าวว่า พวกเขาประดิษฐ์ภาษาม้งขึ้นใช้แล้ว ซึ่งทำให้ผู้นำดังกล่าวไม่เห็นด้วย และพูดว่าถ้าหากพวกเขาจะคิดค้นหรือประดิษฐ์ภาษาม้งขึ้นใช้ทั้งนี้พวกเขาจะ ต้องใช้อักษรลาว มาเป็นแบบเทียบเสียงจึงจะถูก แต่เนื่องจากว่าพวกเขาอยู่ไกลจากเวียนจันทร์มากทำเป็นไม่สนใจ
                ปี 1959 มีประมาณ 100 คนที่รู้หนังสือม้ง ครึ่งหนึ่งเป็นคนในหมู่บ้านภูวัวป่า ส่วนอีก ครึ่งหนึ่งเป็นคนม้งทีอยู่บ้านห่างออกไป ที่ต้องเดินเท้าประมาณ 1-2 วัน ในบริเวณ เขาลูกนั้น เช่น บ้าน ภา ลู ลา (Phas lus mas ) บ้านภู ซา เนง (Phus xas nees)  หรือ บ้าน ภ่า ท้ง (Phaj Thoob)
                ตั่งแต่ปี 1954 จนถึงปี 1959 มีเพียงม้ง 5-6 ครอบ ครัว เท่านั้นที่รับเชื่อในพระเยซูพวกเขาก็ได้เรียนรู้ภาษาม้งของบาทหลวง บาทหลวงเองก็เริ่มแปรคำสอนของคาเทอลิค เป็นภาษาม้งของชาวม้ง ในปี 1955 มีม้งคนหนึ่งเป็นคนแซ่ย่าง ได้สอนให้บาทหลวงเขียนเกี่ยวกับการอัวเน้ง(kev ua neeb/ thaj neeb)และหลังจากนั้นมีหมอชาวฝรั่งเศสคนหนึ่งแปรออกเป็นภาษาฝรั่งเศส ลงไว้ในหนังสือชื่อดังเล่มหนึ่งใน แวดวงของกลุ่มนักวิชาการ ชื่อว่า Bulletin de I’cole Francaise d’Extreme Orient ซึ่งเป็นครั้งแรกที่ภาษาม้ง Thoob Teb ได้ปรากฏอยู่ในหนังสือของกลุ่มนักวิชาการ นับตั่งแต่นั้นมากลุ่มนักวิชาการชาว… (xib fab) เขียนถึงชาวม้งในภาคพื้นเอเชียใต้ ทีไร ก็จะเขียนเป็นภาษาม้ง Thoob teb
สถานการณ์ปัจจุบัน
                ปัจจุบัน อักษรตัวนี้เป็นที่แพร่หลายกันมากที่สุด คนทั่วไปต่างรู้จักใช้กัน และเป็นที่ใช้ติดต่อสื่อสารกันของชาวม้ง เพราะว่าสะดวกต่อการสื่อสารเพียงใช้แป้นพิมพ์ภาษาอังกฤษก็สามารถใช้ได้แล้ว
อ้างอิง : แปลมาจากหนังสือชีวะประวัติของท่าน

ขอขอบคุณบทความนี้จากเว็บไซต์ : Hmong19.com  

เรียนภาษาม้ง  
Kawm ntawv hmoob








วันเสาร์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2554

งานสืบสานประเพณีวัฒนธรรมม้ง น่อ เป๊ เจ่า ประจำปี พ.ศ. 2554/2555


งานสืบสานประเพณีวัฒนธรรมม้ง น่อ เป๊ เจ่า ประจำปี พ.ศ. 2554/2555
ระหว่างวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2554 ถึงวันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2555
ณ ศูนย์การท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดเชียงใหม่ อำเภอสันป่าตอง (ข้างโรงพยาบาลสันป่าตอง)
จัดโดย สมาคมม้ง

 



รายชื่อคณะกรรมการ ที่ปรึกษา และทีมงาน

กิจกรรมเด่นสำหรับปีนี้ ตลอด 3 วัน 3 คืน
  • การโยนลูกช่วงแบบในอดีต
  • การตีลูกข่าง และการแข่งขันการตีลูกข่างระหว่างเครือข่ายม้งต่างๆ (ระดับประเทศ)
  • การเดินขาหยั่งที่สูงที่สุดในโลก
  • การแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมกับชนเผ่าอื่น เช่น อาข่า ลาหู่ ลีซู ปะหล่อง ฯลฯ
  • การเดินแบบประกวดชุดม้ง
  • การประกวดสาวงาม
  • การแสดงของเหล่า ดารา ศิลปินชาวม้ง
  • นิทรรศการความรู้ต่างๆ
  • การแสดงด้านศิลป วัฒนธรรมม้ง ของกลุ่มนักศึกษาม้ง เครือข่ายสตรีม้งในประเทศไทย กลุ่ม ชมรม หมู่บ้าน ฯลฯ
  • เวทีการแสดงของชมรมม้งซ่ง
  • การแต่งการด้วยชุดม้งที่หลากหลาย
  • การแสดงของชาวม้งจากประเทศต่างๆ เช่น จีน อเมริกา ลาว ฯลฯ

ติดต่อเพื่อมีส่วนร่วม
  • ต้อง การบริจาคสมทบช่วยจัดงาน ติดต่อได้ที่ คุณเกิด (นายกสมาคมม้ง) 0898532048 คุณยงยุทธ (ผู้อำนวยการสมาคมม้ง) 0819509289 คุณประดิษฐ์พงษ์ (ผู้ประสานงาน) 0810216649
  • การประกวดสาวงามม้ง ติดต่อที่ คุณนิตยา (หมี) 0846116805
  • การประกวดเดินแบบชุดม้ง ติดต่อได้ที่ คุณรัศมี ทอศิริชูชัย 0810320850
  • การแข่งขันการตีลูกข่าง ติดต่อได้ที่ คุณสุรัตน์ แสนทรงศิริ 0895521464
  • การแสดงรายการต่างๆ ติดต่อได้ที่ คุณกิตติชัย 0817645095 สุรัตน์ 0895521464 คุณอนุชา 0800466827
  • การประสานงานทั่วไป ติดต่อได้ที่ คุณประดิษฐ์พงษ์ 0810216649
  • การการขอใช้พื้นที่เพื่อจัดกิจกรรมของกลุ่ม องค์กร ชมรม ติดต่อได้ที่ คุณประดิษฐ์พงษ์ 0810216649
  • การขอใช้พื้นที่จำหน่ายสินค้า (ล๊อค) ติดต่อได้ที่ คุณทัศนีย์ 0819600206


ลิ้งค์เพื่อดูข้อมูลเกี่ยวข้อง
www.hmongthai.webs.com
www.hmomgthailand.com  

วันอาทิตย์ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2554

บวงสรวง "วีรบุรุษเขาค้อ" คึกคัก ดารา-ม้งร่วมงานคับคั่ง

 ทำพิธีบวงสรวงกันไปเป็นที่เรียบร้อยเมื่อวันศุกร์ที่ 2 ธันวาคมที่ผ่านมา สำหรับภาพยนตร์แนวแอ็กชั่นดราม่า อิงประวัติศาสตร์เรื่อง "วีรบุรุษเขาค้อ" ที่หยิบเอาเรื่องราวของชนเผ่าม้งซึ่งได้ลุกขึ้นมาต่อสู้กับพรรคคอมมิวนิสต์ฯ ร่วมกับรัฐบาลไทยในช่วงระหว่างปี พ.ศ.2511 - 2525 มาบอกเล่า
     
        พิธีการจัดกันขึ้นที่หมู่บ้านเข็กน้อย อำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ ซึ่งเป็นจุดยุทธศาสตร์ในการต่อสู้ดังกล่าว โดยมีวีรบุรุษเขาค้อตัวจริง พล.อ.พิจิตร กุลละวณิชย์ เป็นประธาน พร้อมด้วยทีมงานดารา-นักแสดงรวมไปถึงชาวม้งในพื้นที่เข้าร่วมอย่างหนาตาส่ง ผลให้บรรยากาศนั้นเป็นไปอย่างคึกคัก
     
        "วีรบุรุษเขาค้อ" กำกับโดย "โหน่ง-เสรี พงศ์นิธิ" (ลองของ, สะใภ้บรื๋อ และ Before Valentine ก่อนรัก หมุนรอบตัว) และผู้กำกับชาวม้ง "เจม จิมมี่ หวังลี" ดำเนินงานสร้างโดยบริษัทไอเดียฟิล์มอินเตอร์เนชั่นแนล
     
        หนังได้นักแสดงรุ่นใหม่-เก่าเข้าร่วมงานหลายต่อหลายคน ทั้ง โอ๊ค พีระพันธุ์ อารยาพันธุ์, โบวี่ อัฐมา ชีวนิชพันธ์, อรรค อัครัฐ นิมิตรชัย, จุ๊บ อิทธิกร, แอล วันวิสา ศรีวิไล, โชคชัย เจริญสุข, กระดุม ธนายง, สรพงศ์ ชาตรี, สุเชาว์ พงษ์วิไล, นาท ภูวนัย, ฉลอง ภักดีวิจิตร, ฤทธิ์ ลือชา, ปรายฟ้า สิริวิชชา ฯลฯ โดยมีกำหนดเข้าฉายให้ได้ชมกันในต้นปีหน้านี้

ย้อนรอยสมรภูมิเข้าค้อ

ข่าว โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์

วันพุธที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ชาวม้งบริจาคผลผลิตไร่สวนช่วยน้ำท่วม

ชุมชนชาวม้ง 10 หมู่บ้านเมืองพิษณุโลกบริจาคผลผลิตจากไร่สวนส่งช่วยน้ำท่วมกรุงเทพฯและปริมณฑล

ชาวชุมชนชาวม้ง 10 หมู่บ้าน ต.เนินเพิ่ม อ.นครไทย จ.พิษณุโลก เช่น ข้าวสาร ฝักทอง บวบ ฟัก และพืชผักอื่นๆที่สามารถเก็บจากไร่สวน มาบริจาคผ่าน นายปรีชา เรืองจัน ผวจ.พิษณุโลก เพื่อส่งไปช่วยเหลือพี่น้องผู้ประสบอุทกภัยในกรุงเทพฯและปริมณฑล โดยสิ่งของที่เป็นน้ำใจจากชาวไทยภูเขาเผ่าม้งจะถูกส่งลำเลียงโดยทางเครื่องบินถึงกรุงเทพมหานครในวันที่ 5 พ.ย.นี้

นายชูศักดิ์ ทรงเจริญวงศ์ ประธานเครือข่ายชุมชนม้งพิษณุโลก กล่าวว่า ทุกปีในช่วงฤดูหนาวพี่น้องในเมืองและคนพื้นราบเป็นห่วงบริจาคเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มกันหนาวมาช่วยคนที่อยู่ป่าอยู่เขา ขณะนี้คนพื้นราบและกรุงเทพประสบภัยน้ำท่วม ถึงเวลาแล้วที่ชาวม้งต้องบริจาคช่วยเหลือบ้าง ซึ่งสิ่งของที่นำมาบริจาคครั้งนี้รวบรวมมาจากไร่จากสวนที่มีอยู่มอบให้กับทางจังหวัดส่งไปช่วยเหลือพี่น้องผู้ประสบภัยในพื้นราบต่อไป

ข่าวจาก posttoday.com

วันพุธที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2554

ประชันธิดาน้อยชนเผ่าม้ง5ขวบคว้ารางวัล

ประชันธิดาน้อยชนเผ่า5ขวบคว้ารางวัล


จ.น่าน จัดงานประกวดธิดาน้อยชนเผ่า หนูน้อยวัย 5 ขวบ เผ่าม้งคว้ารางวัลไปครอง



ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จ.น่าน ได้จัดงานประกวดธิดาน้อยชนเผ่า ณ บริเวณข่วงเมืองน่าน โดยนายวิทยา กามนต์ รอง ผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน เป็นประธานเปิดงานประกวดธิดาน้อยชนเผ่า เพื่อสร้างความสามัคคีในชนเผ่าม้งและเผ่าเมี่ยนอันดีต่อกัน เนื่องในงานมหกรรมเครื่องเงินเมืองน่าน ครั้งที่ 1 ประจำปี 2554



ทั้งนี้ ตามนโยบายส่งเสริมผลิตภัณฑ์คุณภาพของจังหวัด ภายใต้โครงการการพัฒนาเครื่องเงินตามพระราชดำริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี เพื่อส่งเสริมและพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องเงินของจังหวัดน่านเพื่อให้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย โดยใช้กลยุทธ์ ที่ดึงเอากลุ่มผู้ประกอบการเกี่ยวกับเครื่องเงินจังหวัดน่าน มาออกร้านจำหน่ายเครื่องเงินเพื่อให้เข้าถึงกลุ่มลูกค้าอย่างง่าย นำมาสู่การขยายช่องทางการตลาดของผู้ประกอบการเครื่องเงินจังหวัดน่าน ให้ก้าวสู่ตลาดสากลและเป็นที่รู้จักมากขึ้น



ผุ้สื่อข่าวรายงานว่า การจัดงานเพียงแค่ 2 วัน สามารถจำหน่ายเครื่องเงินได้กว่า 2 ล้านบาท และสามารถสร้างรายได้ให้กับผู้ประกอบการ ที่นำเครื่องเงินมาจำหน่ายในงานจำนวน 15 ร้าน



นอกจากนี้ งานในคืนวันที่ 2 ของชมรมผู้ประกอบการเครื่องเงินในจังหวัดน่าน ได้จัดให้มีการประกวดธิดาชนเผ่าน้อย จากชนเผ่าม้ง และเผ่าเมี่ยน โดยมีหนูน้อยจากชนเผ่าม้งและเผ่าเมี่ยน ในจังหวัดน่าน เข้าร่วมประกวด 22 คน โดยบรรยากาศเป็นไปด้วยความน่ารักและงดงาม จนสร้างความประทับใจให้กับผุ้มาร่วมงานอย่างมาก



สำหรับ ผลการประกวด ด.ญ.ภัททิยา ภัทรวรากุล อายุ 5 ปี ชนเผ่าม้ง ได้รับรางวัลชนะเลิศ โดยรองอันดับ 1 ได้แก่ ด.ญ.ศุภวรรณ แซ่จ๋าว อายุ 10 ปี ชนเผ่าเมี่ยน และรองอันดับ 2 ได้แก่ ด.ญ.จิราภรณ์ แซ่เต็น อายุ 10 ชนเผ่าเมี่ยน



สำหรับ รางวัลชมเชย ประกอบด้วย ด.ญ.กมลชนก ทรงตระกูลวงศ์ อายุ 10 ปี ชนเผ่าม้ง และ ด.ญ.ธาราทิพย์ จารุศิริกุล อายุ 7 ปี ชนเผ่าเมี่ยน



ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า ภายในเวทีงาน ได้จัดให้มีการแสดงเป่าแคนของชนเผ่าม้ง การแสดงศิลปวัฒนธรรมชนเผ่าม้งที่หาชมได้ยาก และ การเปิดร้านแสดงและจำหน่ายผลิตภัณฑ์เครื่องเงินจากชมรมผู้ประกอบการเครื่องเงินในจังหวัดน่าน โดยชมรมผู้ประกอบการเครื่องเงินจังหวัดน่าน ได้นำเครื่องเงินมาร่วมแสดงและจำหน่าย



ทั้งนี้ มีนักท่องเที่ยวและชาวจังหวัดน่านสนใจเข้าชมและเลือกซื้อเป็นจำนวนมาก


ข้อมูลจาก คมชัดลึก

วันพุธที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2554

เที่ยวต่างวิถี ดูชีวิต 12 เดือน ชาวม้ง บ้านเข็กน้อย

บางคนบอกว่า การมาเที่ยวเพชรบูรณ์ครั้งนี้นั้นนับว่าได้เห็นสภาพที่แตกต่างจากที่เคยผ่านแล้วเห็นมา
 สมัย ก่อนเพชรบูรณ์ดูแห้งแล้ง สองเส้นทางที่ผ่านก็เห็นภูเขาหัวโล้น ต้นไม้ใหญ่หายาก แต่พอมาคราวนี้ เมืองมะขามหวานแห่งนี้กำลังเปลี่ยนไป อากาศตามภูเขาหลังฝนตกช่วยให้คณะเดินทางรู้สึกชุ่มชื่นใจ และเหตุที่ช่วยให้ใจเบิกบานส่วนหนึ่งคงเป็นเพราะเวลาที่มองไปทางไหนก็เห็น แต่ความเขียวของต้นไม้ใบหญ้า
 เมืองเล็กๆ ที่เคยกลายเป็นทางผ่านดูเหมือนไม่มีอะไรให้ต้องลงไปดู กลายเป็นอาณาจักรที่น่าสนใจสำหรับนักเดินทางที่รักการท่องเที่ยวเชิง ธรรมชาติ ศิลปวัฒนธรรม และวิถีชีวิต
 ระยะหลังชื่อของ “ผาซ่อนแก้ว” ยังเป็นแหล่งปฏิบัติธรรมที่ขึ้นชื่อไปในแวดวงนักปฏิบัติที่อยากสร้างความผ่องใสให้จิตใจ
 ตาม กำหนดการ พวกเราคณะเดินทางหรือสื่อมวลชนสายท่องเที่ยว ที่มาร่วมกิจกรรม 84 พรรษาตามรอยพระบาทยาตรา โดยมีกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาเป็นผู้ให้การสนับสนุนนั้น ต้องไปดูวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของชาวม้งที่อาศัยอยู่บริเวณบ้านเข็กน้อย ขึ้นกับอำเภอเขาค้อ จ.เพชรบูรณ์
หมู่บ้านวัฒนธรรมชาวเขาบ้านเข็กน้อย จังหวัดเพชรบูรณ์ ถือเป็นหมู่บ้านม้งที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย และมีกิจกรรมท่องเที่ยวซึ่งหาดูได้ยาก เช่น ชมการจำลองวิถีชีวิตชาวม้ง ชมการแสดงทางวัฒนธรรม อาทิ  วิถีชีวิต 12 เดือนของม้ง  รำแคน ระบำกระดัง ระบำขลุ่ย เดินแบบชุดม้ง
ตบท้ายด้วยการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ของชาวม้ง อาทิ ผ้าปักลาย พืชผักการเกษตร ตามปกติจะเปิดทุกวันเสาร์-อาทิตย์ ค่าเข้าชมคนละ 10 บาท หากมาที่นี่แล้วยังสามารถเดินทางต่อไปยังแหล่งท่องเที่ยวใกล้เคียง เช่น ภูทับเบิก เขาค้อ ทุ่งแสลงหลวง ได้อีก
การมารวมตัวเป็นหมู่บ้านชาวม้ง เริ่มมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2510 ช่วงนั้นเกิดเหตุการณ์ไม่สงบในบริเวณพื้นที่นี้ระหว่างพรรคคอมมิวนิสต์แห่ง ประเทศไทยกับรัฐบาล เกิดการต่อสู้กันทั้งแบบปะทะกันโดยตรงและการใช้สงครามจิตวิทยาเพื่อดึงคนมา เข้าเป็นพวกพ้อง ท้ายที่สุดมีการเผาทำลายชุมชนเข็กน้อยเก่า ทำให้ชาวม้งกระจัดกระจายไปตามสถานที่ต่างๆ บางกลุ่มของชาวม้งเข้าร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยโดยอพยพเข้าไป อาศัยอยู่ในป่า
บางกลุ่มของชาวม้งอพยพเข้าไปอยู่ในเมือง เช่น จังหวัดพิษณุโลก จังหวัดเลย จังหวัดเพชรบูรณ์ การอพยพครั้งนี้ทำให้ชาวม้งซึ่งเคยอยู่รวมกันต้องแยกย้ายกระจายตามที่ต่างๆ ทำให้ยากต่อการควบคุมดูแลของรัฐบาล
บ้านเข็กน้อย อยู่ห่างจากถนนมิตรภาพสายพิษณุโลก-หล่มสัก ที่กิโลเมตร 94 เพียง 2 กิโลเมตร
เป็น หมู่บ้านที่มั่งคั่งแห่งหนึ่งของชาวม้งในพื้นที่ 3 จังหวัด มีโรงเรียนชาวเขาที่ทางราชการตั้งให้ มีหน่วยสอนศาสนาคริสเตียน แต่เดิมมีคนอยู่ 600 คน ภายหลังชาวม้งส่วนใหญ่กับมิชชันนารีอพยพเข้ามาอยู่กับฝ่ายไทย
ปี พ.ศ.2514 ได้มีการอพยพกลับมาอาศัยอยู่ในบริเวณพื้นที่อีกครั้ง โดยกองทัพภาคที่ 3 ได้ระดมชายที่มีอายุระหว่าง 18-25 ปีที่เป็นชาวม้ง และหลบหนีคอมมิวนิสต์เพื่อเข้ารบและรับการฝึกอาวุธ ทหารเหล่านี้เรียกเป็นทางการว่าทหารชาวเขาอาสาสมัครเขาค้อ คือ กองร้อย ชขส. 31 ซึ่ง จุดที่พักค่ายทหารในช่วงนั้นคือ ตำบลเข็กน้อยในปัจจุบัน อาจจะถือได้ว่า กองร้อยทหารชาวเขาอาสาสมัครเป็นจุดกำเนิดของหมู่บ้านชาวม้งในปัจจุบันนี้ก็ เป็นได้
ชาวม้งดังกล่าวมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือประเทศชาติในการต่อสู้ กับผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ในช่วงเวลาเหล่านั้นอย่างปฏิเสธไม่ได้ การได้มาเป็นทหารอาสาของชาวม้งในเวลานั้นมีด้วยกันหลายวิธี เช่น การสมัครใจของชาวม้ง มาด้วยคำสั่งของรัฐบาล และมาโดยถูกเลือกจากทหาร
เหตุผล ของการสมัครมาเป็นทหารอาสาชาวเขาในกองทัพไทยเพื่อต่อต้านคอมมิวนิสต์ในเวลา นั้น วิเคราะห์จากการตอบคำถามและพูดคุยกับทหารและผู้เฒ่าผู้แก่ในหมู่บ้านมีดัง นี้
เพื่อเป็นการแสดงว่าชาวม้งมีความจงรักภักดีต่อรัฐบาลไทย และมีความรักชาติไทย ชาวม้งได้สมัครเป็นทหารอาสาในกองทัพไทย อีกทั้งบริเวณพื้นที่ซ่องสุมของพรรคคอมมิวนิสต์มีลักษณะเป็นป่าเขา เป็นเหว เป็นถ้ำ ซึ่งเป็นการยากต่อการเข้าไปในพื้นที่ของทหารไทยที่ไม่คุ้นเคยกับลักษณะ ภูมิประเทศเช่นนี้ รัฐบาลจึงรับทหารอาสาชาวม้งซึ่งเป็นกลุ่มที่เคยอาศัยอยู่ในพื้นที่นี้ก่อนมา ช่วยและลาดตระเวนหาข่าวให้กับทหารไทย
ชาวม้งที่อพยพลงมาอาศัยอยู่กับคน พื้นราบ ไม่คุ้นเคยกับสภาพอากาศร้อน ชาวม้งไม่มีที่ดินทำกิน ดังนั้นเพื่อให้ชาวม้งมีที่อยู่ที่ถาวร มีที่ดินทำกินทำอาชีพเกษตรกรรม จึงสมัครมาเป็นทหารอาสาช่วยรบในเวลานั้น เมื่อสามารถสู้รบและแย่งพื้นที่ในบริเวณพื้นที่ชุมชนเข็กน้อยเป็นผลสำเร็จ แล้ว ทหารได้จัดตั้งค่ายพักทหารในบริเวณดังกล่าว มีชื่อเรียกว่า กองร้อย ชขส.31 เพื่อเป็นสถานที่จัดเตรียมพื้นที่ด้านอาหาร ที่พัก และได้อนุญาตให้ชาวม้งไปรับครอบครัวมาอยู่ด้วยกันในพื้นที่ตั้งค่าย
ใน ช่วงก่อนจะเกิดการสู้รบระหว่างพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยและรัฐบาลไทย นั้น ในพื้นที่บริเวณนี้เป็นที่ที่ชาวเขาได้มาทำไร่อยู่เป็นประจำ แต่เมื่อเกิดการสู้รบ จึงไม่มีใครกล้าจะเข้าไปทำไร่ในพื้นที่เหล่านี้
 จน กระทั่งทหารอนุญาตให้ทหารอาสาชาวม้งและครอบครัวอาศัยอยู่ที่นี่ อีกทั้งถนนเข้า-ออกหมู่บ้านมีถนนใหญ่ตัดผ่าน คือ เส้นทางหล่มสัก-พิษณุโลก ทำให้สะดวกและง่ายต่อการเข้ามาดูแลของรัฐบาลและทหาร ดังนั้นการเข้ามาตั้งค่ายพักทหารในบริเวณนี้ จึงเป็นจุดเริ่มต้นของการก่อสร้างชุมชนเข็กน้อย และต้องอยู่ภายใต้การดูแลของทหาร
 ทุกวันนี้ หมู่บ้านเข็กน้อยกลายเป็นจุดหนึ่งที่นักท่องเที่ยวไปแล้วต้องหยุด คนในหมู่บ้านก็จะมีจัดการแสดงจำลองวิถีชีวิตมาให้ดูที่โรงแสดงของหมู่บ้าน ส่วนผู้แสดงก็คือหนุ่มสาวชาวม้งในหมู่บ้านที่ฝึกกันขึ้นมานั่นเอง
เนื้อหา ของการร่ายรำที่นำมาแสดงเป็นเรื่องเกี่ยวกับวิถีชีวิต เช่น ก ารเกี่ยวข้าว การทำนา ความสวยงามอยู่ที่การชุดแต่งกายประจำเผ่า แต่ถ้าใครอยากได้บรรยากาศแบบของจริง ต้องมาร่วมงานที่เป็นประเพณีขึ้นปีใหม่ของชาวม้งที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี
 การ มาดูเรื่องต่างวัฒนธรรมต่างประเพณีอย่างนี้ สิ่งหนึ่งที่นักท่องเที่ยวต้องระมัดระวังคือ เรื่องของความคิด ต้องคิดแบบสีเขียวตามแนวคิดเขียว 7 อย่าง หรือ 7 Greens เพื่อการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน หรืออาจใช้สูตรเที่ยวไทยหัวใจใหม่ สิ่งแวดล้อมสดใส เมืองไทยยั่งยืน ตามแนวคิดที่การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) พยายามรณรงค์กันอยู่
 การคิดแบบสีเขียวที่ว่าคือ การไม่มองว่าม้งคือของแปลก แต่ต้องดูว่าเขาก็เป็นมนุษยชาติเหมือนเรา เพียงแต่ความเป็นอยู่ ประเพณีวัฒนธรรมต่างจากเรา และน่าสนใจว่าต่างกันอย่างไร นี่คือความเคารพในศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ร่วมโลก
 สิ่งสำคัญคือ ไม่มองว่าพวกเขาเป็นตัวตลก เป็นไม้ประดับ หรือเป็นคนที่มาอาศัยผืนแผ่นดินเราอยู่เท่านั้น
 พระ พุทธองค์ตรัสว่า ใจเป็นใหญ่ ใจเป็นประธาน สิ่งทั้งหมดสำเร็จได้ด้วยใจ ดังนั้นหากเราไปท่องเที่ยวด้วยความคิด ความรู้สึกที่เบิกบาน พร้อมรับในสิ่งที่แตกต่าง พร้อมแบ่งปันในสิ่งที่ตนมี เท่านี้ การท่องเที่ยวทริปนั้นก็ถือว่าเป็นการเติมพลังให้ชีวิตได้แล้ว
 ด้วยเหตุ นี้ พวกเราชาวคณะจึงปิดท้ายด้วยการช็อปปิ้งของฝาก อันเป็นงานฝีมือของชาวม้ง เพื่อเป็นการกระจายรายได้ให้กับชุมชนที่เราไปเยี่ยมเยือน ตามสไตล์การท่องเที่ยวแบบไทยๆ และจากมาด้วยความสุขเช่นเคย

ข้อมูลจาก ไทยโพสต์              

วันจันทร์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ม้งความเชื่อไสยศาสตร์ ua neeb saib yaig




                                                                       
               การรักษาโรคด้วยความเชื่อไสยศาสตร์ ม้งมี ความเชื่อว่าพิธีไสยศาสตร์เหล่านี้จะช่วยให้วินิจฉัยโรคได้ถูกต้องและทำการ รักษาได้ผล เพราะความเจ็บป่วย ทั้งหลาย ล้วนแต่เป็นผลมาจากการผิดผี ทำให้ผีเดือดดาลมาแก้แค้นลงโทษให้เจ็บป่วย จึงต้องใช้วิธีจัดการกับผีให้คนไข้หายจากโรค หากว่าคนทรงเจ้ารายงานว่าคนไข้ที่ล้มป่วยเพราะขวัญหนี ก็จะต้องทำพิธีเรียกขวัญกลับเข้าสู่ร่างของบุคคลนั้น แต่การที่จะเรียกขวัญกลับมานั้น จะต้องมีพิธีกรรมในการปฎิบัติมากมาย บางครั้งบางพิธีกรรมก็มีความยุ่งยากในการปฎิบัติ แต่ม้งก็ไม่ย่อท้อต่ออุปสรรคเหล่านั้น ม้งเชื่อว่าการที่มีร่างกายสมบูรณ์แข็งแรง โดยไม่มีโรคภัยมาเบียดเบียน นั่นคือความสุขอันยิ่งใหญ่ของม้ง ฉะนั้นม้งจึงต้องทำทุกอย่างเพื่อเป็นการรักษาให้หาย จากโรคเหล่านั้น ซึ่งพิธีกรรมในการรักษาโรคของม้งนั้นมีอยู่หลายแบบ ซึ่งแต่ละแบบก็รักษาโรคแต่ละโรค แตกต่างกันออกไป การที่จะทำพิธีกรรมการรักษาได้นั้นต้องดูอาการของผู้ป่วยว่าอาการเป็นเช่นไร แล้วจึงจะเลือกวิธีการรักษาโดยวิธีใดถึงจะถูกต้อง
การอั๊วเน้งเป็นการรักษาอีกประเภทหนึ่งของม้ง การอั๊วเน้ง (การทำผีหรือลงผี ) การอั๊วเน้งนั้นมีอยู่ 3 ประเภท คือ การอั๊วเน้งข่อยชั๊วะ การอั๊วเน้งเกร่ทั่ง การอั๊วเน้งไซใย่ ซึ่งการอั๊วเน้งแตกต่างกันออกไป การรักษาก็แตกต่างกันไปด้วย การจะอั๊วเน้งได้เมื่อมีคนในครอบครัวเจ็บป่วยโดยไม่รู้สาเหตุเป็น การรักษาอีกประเภทหนึ่ง ดังนั้นม้งมักจะนิยมอั๊วเน้งเพื่อการเรียก ขวัญที่หายไปหรือมีผีพาไปให้กลับคืนมาเท่านั้น ซึ่งม้งเชื่อว่าการเจ็บป่วยเกิดจากขวัญที่อยู่ในตัวหายไป
เวลาอั๊วเน้งหรือทำผีนั้น คนที่เป็นพ่อหมอจะเริ่มไปนั่งบนเก้าอี้ แล้วร่ายเวทมนต์คาถาต่าง ๆ พร้อมกับติดต่อ สื่อสารกับผีแล้วไปคลี่คลายเรื่องราวต่าง ๆ กับผี ถ้าคลี่คลายได้แล้วจะมีการฆ่าหมู แต่ก่อนจะฆ่าหมูนั้น จะต้องให้คนไข้ไปนั่งอยู่ข้างหลังพ่อหมอ แล้วผูกข้อมือ จากนั้นนำหมูมาไว้ข้างหลังคนไข้ แล้วพ่อหมอจะสั่งให้ฆ่าหมู การที่จะฆ่าหมูได้นั้นจะต้องมีคนหนึ่งซึ่งเป็นตัวแทนของพ่อหมอ และสามารถฟังเรื่องราวของการอั๊วเน้งได้ รู้ว่าตอนนี้พ่อหมอต้องการอะไร หรือสั่งให้ทำอะไร เมื่อพ่อหมอสั่งลงมา คนที่เป็นตัวแทนต้องบอกกับคนในครอบครัว ให้ทำตามคำบอกกล่าวของพ่อหมอ เมื่อสั่งให้ห่าหมูก็ต้องนำหมูมาฆ่าแล้วจะนำกัวะมาจุมกับเลือดหมู พร้อมกับมาปะที่หลังคนไข้ แล้วพ่อ หมอจะเป่าเวทมนต์ให้ จากนั้นจะนำกัวะไปจุมเลือดหมู เพื่อไปเซ่นไหว้ที่ผนังที่เป็นที่รวมของของบูชาเหล่านั้น

วันอาทิตย์ที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ซ่งจู่ยิง (Song Zuying)นักร้องชาวม้งที่โด่งดังไปทั่วโลก


Song Zuying - Mengjiang Girl 孟姜女
ซ่งจู่ยิง (Song Zuying) 宋祖英ดอกไม้พงไพร ชูช่อสง่างามในวงการดนตรีจีน
ดอกไม้ ไม่ว่าจะบานชูช่อ ณ แห่งหนใด มันคงยังรักษาความงามของมันแต่ระหว่างดอกไม้ในสวนกับดอกไม้ในป่าดงพงไพรนั้น ถึงแม้ล้วนจะเป็นดอกไม้เหมือนกัน แต่จุดแตกต่างระหว่างดอกไม้ทั้งสองคือ ดอกไม้ในป่าดงพงไพรเติบใหญ่ขึ้นตามความเป็นจริงแห่งธรรมชาติ มีความแข็งแกร่งในท่ามกลางความอ่อนช้อยสวยงาม สำหรับดอกไม้ในสวนเติบใหญ่จากการดูแลของคน หรืออาจถึงขั้นเจือปนสิ่งแปลกปลอมเพื่อความงามที่อาจผิดแผกธรรมชาติ
ซ่งจู่ยิง 宋祖英นักร้องเสียงโซปราโน (Soprano) ชื่อนี้อาจไม่เป็นที่คุ้นหูสำหรับนักฟังเพลงทั่ว ๆ ไปนัก นอกจากคนที่ติดตามวงการศิลปะการแสดงและการขับร้องของจีนอย่างใกล้ชิด สำตัวผมเองก็ต้องยอมรับว่ารู้จัก โดยบังเอิญ อันเนื่องจากรับชมทีวีหูหนาน 河南(Hunan TV) ในช่วงตรุษจีนที่ผ่านมา พอดีทางสถานีนำเอาเทปบันทึกการแสดงสดของซ่งจู่ยิงที่แสดงที่ซิดนีย์โอเปร่าเฮาส์(Sydney Opera House) ประเทศออสเตรเลีย อันเนื่องในโอกาสครบรอบ 30 ปีในความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างประเทศจีนกับประเทศออสเตรเลีย (ของไทยครบรอบ 30 ปีความสัมพันธ์ไทย-จีนปีนี้เอง) การได้ชมการขับร้องเพลงของเธอแวบแรกต้องบอกว่า” โดนเต็มๆ”ด้วยน้ำเสียงที่ใส ๆ ซึ้ง ๆ เสียงสูงสามารถไต่ขึ้นได้อย่างราบรื่น อีกทั้งหน้าตาที่สวยแตกต่างจากสาวจีนแบบหมวย ๆ ทั่วไป เนื่องจากเธอเป็นชนเผ่าแม้ว
ซ่งจู่ยิงเหมือนกับดอกไม้ป่าช่องามที่เกิดในหมู่บ้านชาวแม้วที่หมู่บ้านเซียงซี 湘西 อำเภอกู่จ้าง 古丈县 มณฑลหูหนาน 河南省หมู่บ้านเซียงซีเป็นหมู่บ้านยากจนที่อยู่ห่างไกลความเจริญ ชีวิตในวัยเด็กของเธอจึงเรียบง่ายเหมือนชาวเขาทั่ว ๆ ไป เธอฝึกร้องเพลงตั้งแต่เด็กตามแม่ที่ร้องเพลงพื้นบ้านของชาวแม้ว โดยไม่ได้รับการฝึกฝนด้านการร้องเพลงที่ถูกต้องตามระบบจนเมื่อเธออายุ 15 แล้ว ประกายแววความสามารถของเธอเริ่มฉายเมื่อตอนเรียนอยู่ชั้นมัธยมต้น เมื่ออาจารย์เถียน田老师 กับอาจารย์หลอ罗老师จากคณะการแสดงประจำอำเภอมารับสมัครนักร้องเข้าคณะ เธอได้รับการคัดเลือกจากผู้สมัครทั้งหมดยี่สิบกว่าคน เธอเข้าร่วมคณะได้สี่ปีก็สอบเข้า Chinese Nationality University ในคณะการขับร้องและเต้นรำ(Music and Dance Department) ในสาขาการขับร้องเพลงพื้นบ้าน (folkvocal) ในจุดนี้เองที่เธอได้รับการฝึกฝนด้านการขับร้องอย่างถูกต้องเป็นระบบ ภายใต้การดูแลของอาจารย์โจวเปิ่นชิ่ง 周本庆 ทำให้มาตรฐานการขับร้องของเธอสูงขึ้นมาก หลังจากนั้นเธอก็ออกล่ารางวัล เริ่มไต่จากการได้ที่ 1 ในระดับมลฑลจนถึงระดับประเทศ ปี 1989 เธอปรากฏตัวในสถานีโทรทัศน์ CCTV ครั้งแรก เนื่องในโอกาสรำลึกเหตุการณ์ 4 พฤษภาคม五四运动 (เป็น เหตุการณ์เกิดในปี ค.ศ.1919 ที่เหล่าปัญญาชนและประชาชนผู้รักชาติลุกขึ้นมาต่อต้านจักรวรรดินิยมญี่ปุ่นที่เข้ามารุกรานจีนพร้อมกับทำสนธิสัญญาที่เอาเปรียบคนจีน ขณะเดียวกันก็ต้องการโค่นล้มระบอบการปกครองที่เน่าเฟะของรัฐบาลจีนในสมัยนั้น)

ในปี 1991 เธอได้ปรากฏตัวทาง CCTV อีกครั้งเนื่องในโอกาสวันตรุษจีน ซึ่งในขณะนั้นเธอได้จบการศึกษาจาก Chinese Nationality University และ ได้ศึกษาเพิ่มเติมจากอาจารย์จินเถ่หลิน 金铁林 เพื่อยกระดับความสา-มารถขึ้นอีกระดับ การปรากฏตัวใน CCTV คราวนี้ ทำให้เธอเริ่มเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในหมู่ชาวจีนโพ้นทะเล (CCTV เป็นเครือข่ายโทรทัศน์ของรัฐบาลจีนที่ถ่ายทอดผ่านดาวเทียมสามารถรับชมได้ทั่วโลก) จากจุดนี้เองซ่งจู่ยิงจึงเป็นนักร้องที่ทาง CCTV ขาดไม่ได้ในการออกอากาศในเทศกาลตรุษจีนในปีต่อ ๆ มา
การเดินทางสู่อนาคตของซ่งจู่ยิงไม่ได้แตกต่างจากชาวบ้านยากจนทั่วๆไปเธอเสียคุณพ่อเมื่อยังเด็ก เนื่องจากความยากจนที่ไม่มีเงินรักษาคุณพ่อที่ป่วยเป็นวัณโรค สำหรับน้องชายเองก็เป็นใบ้เนื่องจากกินยาผิด เมื่อเธอจบการศึกษาแล้ว เธอก็เข้ารับราชการในกองทัพปลดแอกประชาชนจีน โดยสังกัดกองทัพเรือ ซึ่งคงเป็นวิถีของคนจนทั่ว ๆ ไปที่ยึดอาชีพข้าราชการเพื่อความมั่นคงไว้ก่อน ซึ่งเป็นแนวคิดที่คนในวัยประมาณ 40 หรือรุ่นที่เกิด ในยุคหลังปฏิวัติวัฒนธรรม 文化大革命 ในช่วงที่ประเทศจีนยังไม่เปิดประเทศมักเดินตามแนวนี้ (เพื่อนชาวปักกิ่งผมเองก็เหมือนกัน รับราชการในหน่วยงานการค้าของรัฐ มีอยู่ช่วงหนึ่งมาประจำที่กรุงเทพฯเพื่อวิ่งเต้นประมูลขายกระดาษห่อบุหรี่ให้กับโรงงานยาสูบ เพื่อนมักจะบ่นเสมอว่าเงินเดือนไม่กี่ตังค์ สู้ภรรยาเขาที่ประกอบธุรกิจส่วนตัวไม่ได้ แต่ที่ยังทนรับราชการเนื่องจากต้องการให้คนใดคนหนึ่งมั่นคงไว้ก่อน) แต่การรับราชการของเธอคงไม่ใช่แค่ยึดเป็นอาชีพเพื่อความมั่นคงเท่านั้น แต่เธอสามารถเป็นถึงตัวแทนของสภาประชาชนจีน (Representative of the National People Congress) ประจำมณฑลหูหนาน
สำหรับเสน่ห์ของซ่งจู่ยิงนั้น นอกจากน้ำเสียงที่ใส ไพเราะแล้ว หน้าตาและกิริยาที่อ่อนช้อยอ่อนโยนที่ดูจะแตกต่างจากสาวจีนทั่ว ๆ ไป การวางตัวและใช้ชีวิตที่เพียบพร้อมไปตัวคุณสมบัติของกุลสตรี ครั้งแรกที่ได้เห็นเธอนั้น ทำให้ผมนึกถึงอดีตนักร้องสาวไทยคนหนึ่งในวงโฟล์คซองคำเมืองของคุณจรัล มโนเพชร นั่นคือคุณสุนทรี เวชานนท์ ซึ่งมีคุณสมบัติที่คล้าย ๆ กันคือความสวย กิริยาที่อ่อนโยน น้ำเสียงที่ใส ไพเราะ ที่สำคัญคือ คนเผ่าแม้วกับคนล้านนา หน้าตาผิวพรรณดูช่างเหมือนคนบ้านเดียวกัน


ซ่งจู่ยิง (Song Zuying) 宋祖英ดอกไม้พงไพร ชูช่อสง่างามในวงการดนตรีจีน-3
การไปแสดงคอนเสิร์ตที่ซิดนีย์โอเปร่าเฮาส์ ประเทศออสเตรเลียถือเป็นการแสดงเดี่ยวในต่างประเทศครั้งแรกของเธอ และเป็นศิลปินชาวเอเชียคนแรกที่ได้มาแสดง ณสถานที่แห่งนี้ แต่ดูเธอจะมีความมั่นใจและสามารถเข้ากันได้อย่างดีกับเพื่อนร่วมทำงานอย่างคณะคอรัส(Chorus) ที่มีทั้งชาวออสซี่ฝรั่งและเชื้อสายคนเอเชียร่วมสองร้อยชีวิตนักดนตรีในวงซิมโฟนีที่แบคอัพให้ ตลอดการแสดงเธอสามารถตรึงสมาธิของทุกคนอย่างกับต้องมนต์สะกด การแสดงครั้งนี้ใช้ชื่องานว่า“วันดีชื่นสุข” 好日子 หรือ Good Days อำนวยเพลงโดย อยู๋หลง 瑜隆 (Yu Long) การแสดงเริ่มต้นด้วย
เพลงที่ 1 茉莉花 Jasmine Flower หรือ ดอกมะลิ เป็นเพลงพื้นบ้านของ เจียงซู 江苏(Jiang Xu) เธอปรากฏตัวในชุดขาวสะอาดราวกับดอกมะลิหลังจากวงซิมโฟนีขึ้นอินโทร เพลงนี้เหมือนกับอุ่นเครื่องเรียกน้ำย่อย เป็นเพลงจังหวะเรียบ ๆ ฟังสบาย
เพลงที่ 2 辣妹子 Spice Girl หรือแม่สาวเผ็ดร้อน บทเพลงพื้นบ้านของหู-หนาน 湖南(Hunan)จังหวะในเพลงนี้เผ็ดสมชื่อ เป็นจังหวะเร็ว สนุกสนานดูจากสีหน้าท่าทางของทั้งคนร้อง คนสีไวโอลิน รวมทั้งผู้อำนวยเพลงต่างก็โยกตัวตามจังหวะเพลง
เพลงที่ 3 小背篓 Little Back-basket หรือตะกร้าน้อยบนหลัง เป็นเพลงที่ซ่งจู่ยิงร้องรำลึกถึงบ้านเกิด และชีวิตในวัยเด็กที่คุณแม่เธอจับเธอใส่ตะกร้ากระเต็งไว้บนหลังเวลาออกไปทำงานในสวน และเนื่องจากการทำงานในสวนทั้งวัน บ่อยครั้งที่หนูซ่งหลับปุ๋ยในตะกร้าบนหลัง และหลายครั้งก็ปัสสาวะรดหลังคุณแม่ แต่คุณแม่ก็เหลียวหลังมองหน้าลูกน้อยพร้อมส่งยิ้มอย่างอบอุ่น ซึ่งรอยยิ้มแม่ยังตราตรึงในหัวใจของซ่งจู่ยิงจนทุกวันนี้เพลงนี้ฟังแล้วต้องอมยิ้มในความน่ารักและอบอุ่น
เพลงที่ 4 海风阵阵愁煞人, 珊湖颂 Sea Breeze Makes Me Sadเพลงนี้ฉีกจากบทเพลงอื่น ๆ ซึ่งล้วนเป็นเป็นพื้นบ้าน แต่เพลงนี้เป็นเพลงสมัยใหม่ที่แต่งขึ้นช่วงปฏิวัติ เพลงได้บรรยายถึงความทุกข์ยากของชาว-บ้านในสมัยสังคมเก่าก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครอง การร้องที่เศร้าสร้อยซึ่งแสดงออกทั้งทางน้ำเสียงและสีหน้า ทำให้อารมณ์ผู้เช้าชมถึงตราตรึงอยู่ในความสงบ เพลงนี้ซ่งจู่ยิงสามารถแสดงถึงพลังเสียงอันหนักแน่น แต่ยังคงความใสในขณะที่ไต่เสียงสูงขึ้นแบบสุด ๆ ทำให้ผู้ชมต้องปรบมือถึงสองครั้งสองครา
เพลงที่ 6 今日苗山歌最多 So many songs today on the MiaoPeople’s Land หรือมี่บทเพลงมากมายในแผ่นดินชาวแม้ว เพลงนี้ซ่งจู่ยิงมาในชุดของชนเผ่าแม้วอันสวยงาม เพลงนี้เป็นเพลงจังหวะสนุกบรรยายถึงแผ่นดินของชาวชนเผ่าแม้วที่อยู่อย่างมีความสุข เต็มไปด้วยเสียงเพลงและน่าจะสะท้อนชีวิตของซ่งจู่ยิงเอง จากบทเพลงที่ร้องว่าชาวแม้วชอบร้องเพลง ภูผาคือบทเพลง และบทเพลงคือภูผา แสดงให้เห็นถึงทุกหนทุกแห่งของแผ่นดินชาวแม้วล้วนเต็มไปด้วยเสียงเพลง
เพลงที่ 14 爱我中华 Love my Chinaห รือรักประเทศจีนของฉัน เป็นเพลงก่อนจบการแสดง เพลงที่มีจังวหะหนักแน่น มีพลัง เสียงคณะนักร้องคอรัสสองร้อยชีวิต ร้องประสานเสียงเป็นแบ็กกราวเสริมพลังมากยิ่งขึ้นต้องยอมรับว่าทำให้เลือดลมรักชาติสูบฉีดพุ่งแรงในร่างกายของทุกคนที่มีสายเลือดมังกรเจือปน
เพลงที่ 15 Still call Australia Home เป็นการนำเพลงพื้นบ้านของออส-เตรเลียมาร้อง และเป็นเพลงเดียวในงานที่เธอร้องเป็นภาษาอังกฤษ ซึ่งแน่นอนต้องเป็นที่ชื่นชอบถูกอกถูกใจของชาวออสซี่ เพราะทุกคนในฮอลล์ต่างปรบมือไปตามจังหวะเพลงจนจบ
เมื่อจบการแสดงแล้ว ผู้ชมต่างลุกขึ้นยืนปรบมืออย่างกึกก้องและยาวนานซึ่งเป็นวัฒนธรรมในการชมการแสดงของชาวตะวันตกที่เป็นการให้เกียรติแก่ผู้แสดง จนม่านเวทีได้ปิดฉากลง ถึงแม้ม่านบนเวทีการแสดงจะปิดฉากลงแล้วก็ตาม แต่ม่านในดวงใจของทุกคนที่รับชมกลับเปิดฉากขึ้นต้อนรับซ่งจู่ยิง ดอกไม้ป่าช่องามไว้ในดวงในตลอดไป

บทความจาก

วันอังคารที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

บทความประทับใจ แม่ค้าม้งข้ามพรมแดน

เเม่ค้าม้งข้ามพรมแดน วิถีชีวิตของผู้คนตามรอยต่อชายแดน ของไทย ลาว และเวียดนาม ไม่เพียงมีลักษณะแตกต่างจากวิถีชีวิตคนเมืองในด้านวัตถุธรรมเท่านั้น หากยังมีเสน่ห์และแง่มุมหลากหลายที่ชวนให้คิด ประทับใจ และทำความรู้จัก โสภิดา วีรกุลเทวัญ ย้อนรอยประสบการณ์ที่ผ่านมา โดยพาไปสัมผัสเรื่องราวเหล่านี้ราวกับเหตุการณ์จริงๆ กำลังเกิดขึ้นเบื้องหน้า ยามเช้าวันหนึ่งของปลายฤดูฝน ณ โรงเตี๊ยมแห่งเดียวในเมืองใหม่ แขวงพงสาลี เมืองชายแดนลาวทางตอนเหนือ รอยต่อกับชายแดนเวียดนามในแถบเมืองเดียนเบียนฟู ผู้หญิงสามคนต่างวัยกำลังล้อมวงอาหารเช้า เมื่อเหลือบไปดูจึงเห็นข้าวสวยร้อนๆ และแกงผักกาดเขียว อดแปลกใจตามประสาผู้ได้กินและเห็นแต่ข้าวเหนียวมาตลอดการเดินทางหลายวันในประเทศลาว “เราเอาข้าวมาหุงเอง ไม่ชอบกินข้าวเหนียว” เป็นคำตอบจากหนึ่งในสามของวง นางผู้ตอบคือหญิงวัยกลางคนที่ยากจะระบุอายุอานามที่แท้จริง นางมีวงหน้าเหี่ยวย่นไปตามวัยแต่ดูสดใส ร่าเริง ยิ่งในยามแย้มยิ้มแลเห็นฟันเคลือบทองสลับกันหลายซี่ ยิ่งดูเป็นมิตร ขณะที่อีกนางหนึ่งกลับดูเงียบเฉยและไม่อยากสบตาคนแปลกหน้า ส่วนหญิงที่ดูมีอายุอ่อนวัยที่สุดในกลุ่ม มีดวงหน้าเกลี้ยงเกลา ยามส่งยิ้มเผยให้เห็นฟันเรียบขาวและเหงือกอมชมพู แม้จะไม่บ่อยครั้งนักแต่ก็ได้ช่วยผ่อนคลายความเคร่งขรึมบนใบหน้าให้กลายเป็นความสดใส เมื่อพูดคุยกันตามประสาคนผ่านทาง จึงได้รู้ว่า เราต่างมีเป้าหมายเดียวกัน คือ กำลังรอขึ้นรถโดยสารออกจากเมืองใหม่ โดยมีจุดหมายปลายทางเดียวกันคืออีก 42 หลัก หรือกิโลเมตรข้างหน้า ได้แก่ เมืองขวา ริมฝั่งน้ำอู อีกหลายชั่วโมงนักกว่ารถโดยสารจะออกจากท่า โอกาสในการรู้จักกันจึงมีไม่น้อย นางผู้สูงวัยที่สุดในกลุ่ม เป็นมารดาของผู้อ่อนเยาว์ ส่วนอีกนางหนึ่งไม่ได้รับการระบุความสัมพันธ์จากทั้งคู่ชัดเจนนัก อาจเป็นเพื่อนบ้านหรืออาจเป็นญาติ แต่นั่นไม่ได้เป็นเรื่องน่าสนใจเท่ากับว่า หญิงทั้งสามเดินทางมาถึงเมืองใหม่เมื่อค่ำคืนที่ผ่านมา และเข้าพักยังโรงเตี๊ยมแห่งเดียวกัน นางทั้งสามมักจะใช้โรงเตี๊ยมแห่งนี้เป็นที่พักค้างคืนอย่างน้อยที่สุดหนึ่งคืนอยู่เป็นประจำทุกเดือน เหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น? “เมื่อคืนเรามาจากเวียด” เป็นคำตอบสั้นๆ ที่ยั่วเย้าให้เกิดการซักถามต่อ “ไปค้าขายหรือไปเยี่ยมพี่น้อง” คนแปลกหน้าถาม จากนั้นเรื่องราวจึงค่อยๆ ปะติดปะต่อได้ความว่า นางทั้งสามเดินทางไปค้าขายที่เมืองเดียนเบียนฟู และกลับมาค้างคืนยังโรงเตี๊ยมแห่งนี้เพื่อต่อไปยังเมืองขวา จากนั้นจึงนั่งรถโดยสารไปยังเมืองไทรในแขวงอุดมไทร เส้นทางการเดินทางของนางเกิดขึ้นเป็นประจำเช่นนี้ในแต่ละเดือน แม้ว่าการแต่งกายจะไม่ได้สะท้อนความเป็นชาติพันธุ์ใดๆ ดังจะเห็นได้จากหญิงสาวผู้อ่อนวัยที่สุดสวมกางเกงยืดลายดอกเล็กทันสมัยและเสื้อไหมพรมแขนยาวสีเขียว ส่วนอีกสองนางสวมผ้าซิ่นและเสื้อแขนยาวมีกระเป๋าสองข้าง เหมือนหญิงชาวบ้านวัยกลางคนตามชนบทของไทย แต่ข้าวสวยร้อนๆ และการเปล่งเสียงพูดด้วยเสียงสั้นๆ ที่ไม่มีตัวสะกดประกอบกับรูปพรรณสัณฐานของดวงหน้าที่มีความเฉพาะ ทำให้อดเดาไม่ได้ว่า ช่างมีน้ำเสียงใกล้เคียงกับชาวม้งในเมืองไทยที่เราได้มีโอกาสพบเห็น เมื่อถามพวกนางว่าเป็นชาวอะไร ได้รับคำตอบว่า “เราเป็นลาวสูง บ้านอยู่อุดมไทร” ม้งเป็นหนึ่งในกลุ่มชาติพันธุ์ที่ทางการลาวใช้คำเรียกรวมๆ ว่า 'ลาวสูง' เช่นเดียวกับชาว 'อาข่า' และกลุ่มชาติพันธุ์อื่นๆ อีกจำนวนหนึ่ง หญิงชาวม้งทั้งสามเดินทางข้ามพรมแดนไปค้าขายถึงเมืองเดียนเบียนฟูในเวียดนาม และดูเหมือนเรื่องราวยิ่งน่าสนุกยิ่งขึ้น เมื่อหญิงผู้อ่อนวัยในกลุ่มบอกเล่าถึงเส้นทางการค้าที่ยาวไกลออกไป ไม่เฉพาะลาวและเวียดนามเท่านั้น แต่เลยมาถึงประเทศไทย ในรอบหนึ่งเดือน นางจะเดินทางไปยังอำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย โดยนั่งรถจากเมืองอุดมไทร-บ้านที่พำนักอยู่ไปลงรถที่ปากแบง และจากนั้นจึงต่อเรือเร็ว เพื่อเดินทางไปซื้อ ‘เครื่องนุ่ง’ ทั้งหลายจากตลาดนัดในอำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย ตลาดนัดประจำเมืองเชียงของ จะมีในทุกวันศุกร์ และเครื่องนุ่งจากไทยจะถูกนำกลับไปยังบ้านของนางที่เมืองอุดมไทร เมื่อหยุดพักทำกิจธุระต่างๆ ที่บ้านในเมืองอุดมไทรแล้ว จากนั้นนางและแม่ และสมาชิกร่วมทาง จึงออกเดินทางพร้อมสินค้าที่ส่วนใหญ่เป็นเครื่องนุ่งของไทย เดินทางจากอุดมไทรมายังเมืองขวาในแขวงพงสาลี ระยะทางราว 100 กิโลเมตร เมืองขวา จะเป็นจุดที่รอรถโดยสารสำหรับเดินทางไปยังเวียดนาม เพื่อนำเครื่องนุ่งของไทยไปค้าขายยังเมืองเดียนเบียนฟู ซึ่งอยู่ห่างออกไปอีกกว่า 100 กิโลเมตร แม่ค้าชาวม้งเล่าว่า ด่านตรวจคนเข้าเมืองที่ชายแดนเวียดนาม อนุญาตให้คนลาวเข้าไปพำนักอยู่ราว 7 วัน ขณะที่การเดินทางข้ามพรมแดนมาฝั่งไทย เป็นการเดินทางด้วยเส้นทางที่พวกเขาคุ้นเคย มากกว่าเป็นการข้ามพรมแดนตามจุดกำหนดควบคุมการเดินทางเข้าออกของผู้คนที่รัฐชาติไทยกำหนดไว้ แต่กระนั้นการมาซื้อเครื่องนุ่งในฝั่งไทย มักเป็นการเดินทางมาแบบเช้าเย็นกลับมากกว่ามานอนค้างคืน ช่วงเวลาที่คนแปลกหน้ากับหญิงชาวม้งทั้งสามได้มีโอกาสรู้จักกัน ณ โรงเตี๊ยมในเมืองใหม่ คือเส้นทางขากลับหลังจากที่พวกนางนำเครื่องนุ่งจากไทยไปค้าในเวียดนามนั่นเอง คำถามซอกแซกผุดขึ้นในใจ เมื่อแลเห็นนางทั้งสาม ทยอยแบกกระสอบใบโตขนาด 2 เท่าของตัวขึ้นหลัง เดินจากโรงเตี๊ยมไปวางในรถโดยสาร 6 ล้อ นางสามคนมีกระสอบถึง 4 ใบ แต่ละใบอัดแน่นไปด้วยสิ่งของ ในฐานะคนแปลกหน้าต่อกัน การรุกรานด้วยคำถามจึงถูกชะลอลงไปบ้าง รอให้โอกาสมาถึง คงได้ไขปริศนาที่คาใจ การเดินทางโดยรถประจำทาง ทำให้ได้มีโอกาสสัมผัสผู้คนและกิจกรรมในระดับชีวิตประจำวันของพวกเขาอย่างแท้จริง หญิงม้งผู้เป็นแม่ซื้อไก่เป็นๆ ซึ่งยืนนิ่ง งงงวย อยู่ในตะกร้าสานหยาบๆ จำนวน 6 ตัว “ซื้อกลับไปเลี้ยงที่บ้าน” นางอธิบายเพิ่มเติมหลังจากยื่นตะกร้าไก่ส่งให้คนขับรถนำไปวางไว้บนหลังคารถโดยสาร ขณะที่บริเวณหลังรถยังมีหมูน้อยนอนทำตาอ้อยสร้อยในตะกร้าแบบเดียวกันอีกหนึ่งตัว สงสัยยังไม่ทันไร เจ้าของหมูก็มาแสดงตัว เธอเป็นหญิงชาวเมืองใหม่มาส่งลูกสาวอายุ 14 ปี ขึ้นรถโดยสารไปเรียนหนังสือที่เมืองขวา เด็กสาวไปพำนักกับญาติพี่น้องต่างเมือง ผู้เป็นแม่จึงนำข้าวสารหนึ่งกระสอบพร้อมหมูน้อยหนึ่งตัวให้ลูกสาวติดตัวไป เมื่อแม่หมูอายุ 1 ปี จะเกิดลูกหมูอีกหลายตัว และลูกหมูสามารถแปรเปลี่ยนเป็นเงินเพื่อมาร่วมแบ่งเบาภาระค่ากินอยู่ของญาติพี่น้องตลอดจนค่าใช้จ่ายอื่นๆ ระหว่างที่ลูกสาวไปพำนักด้วย ช่างน่าตื่นเต้นกับรายละเอียดของวิธีคิดที่รอบด้านและถ้อยทีถ้อยอาศัยในการอยู่ร่วมกับผู้อื่น เรื่องราวเช่นนี้อาจดูแปลกใหม่สำหรับชาวเมือง แต่สำหรับแม่หญิงชาวม้ง นางหันมาให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า ชาวม้งก็ทำแบบเดียวกันนี้ยามเมื่อส่งลูกหลานไปอยู่กับญาติพี่น้องต่างเมือง ใกล้เวลา 9 นาฬิกาเศษ ผู้โดยสารส่วนใหญ่ขึ้นไปนั่งบนรถเตรียมตัวเดินทาง หญิงชาวม้งผู้เป็นแม่ บิดกล้วยน้ำว้ายื่นให้คนแปลกหน้าหนึ่งผล ไม่เพียงเท่านั้น นางยังบิดกล้วยออกจากหวีแจกเพื่อนร่วมทางที่นั่งข้างๆ อีก 4-5 คน พร้อมส่งรอยยิ้มแลเห็นฟันทองคำงามอร่าม นับเป็นการแสดงน้ำใจที่น่ารักยิ่ง รถโดยสาร 6 ล้อ บนเส้นทางลูกรัง แม้ปลายทางจะอยู่ห่างไปเพียงแค่ 42 กิโลเมตรเท่านั้น แต่ระยะเวลาบนรถกลับยาวนานยิ่ง นักเดินทางผู้มีประสบการณ์ในประเทศลาวเปรยให้ฟังว่า คำถามสำคัญที่ยากจะได้รับคำตอบในการเดินทางในประเทศนี้คือ "กี่โมงจะถึง?" เป็นคำถามที่มีโอกาสได้คำตอบชัดเจนแน่นอนได้ยาก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเวลา หรือเรื่องอายุ ดังเช่นที่คนต่างถิ่นคนหนึ่งถามถึงอายุของหญิงชาวม้งผู้เป็นแม่ นางตอบทันทีพร้อมรอยยิ้มว่า “ไม่รู้ 60 หรือ 70 ปีมั้ง” ฉันอดขำไม่ได้เมื่อชายชาวลาวคนหนึ่งที่เป็นคนแปลกหน้าไม่ต่างอะไรกับผู้ถามสวนขึ้นมาทันทีว่า "ไม่ถึงหรอก คงอายุ 50 กว่า” ความชัดเจน แน่นอนในเรื่องอายุ เวลา หรือในอีกหลายเรื่อง อาจเป็นเรื่องสำคัญสำหรับวิถีชีวิตของผู้คนกลุ่มหนึ่ง แต่สำหรับคนอีกกลุ่มหนึ่ง เรื่องราวเหล่านี้ไม่ได้สลักสำคัญมากนัก แล้วสิ่งที่ไม่แน่นอนก็เกิดขึ้นให้ประจักษ์ตรงหน้า เมื่อรถโดยสาร 6 ล้อ ทำท่าไม่สามารถขยับไปได้เสียเฉยๆ หลังจากมีเสียงเครื่องยนต์ครืดคราดอยู่สองหน เหลือระยะทางอีกไม่ไกลนักใกล้จะถึงจุดหมายปลายทาง แม้จะไม่ไกลแต่ก็ไกลเกินกว่าจะแบกสัมภาระของผู้โดยสารแต่ละคนเดินทางต่อไป ไม่มีเสียงบ่นใดๆ จากผู้โดยสารในรถแม้แต่คนเดียว ทุกคนปฏิบัติตนราวกับเป็นความปกติอื่น ๆ ของชีวิต เมื่อรถจอดดับเครื่องยนต์นิ่งสนิท คนขับรถและชายหนุ่มบางคนช่วยกันยกหัวรถด้านหน้าขึ้น และก้มลงไปซ่อมเครื่องใต้ท้องรถ “จะซ่อมได้ไหม และถ้าซ่อมได้นานแค่ไหนกว่าจะเสร็จ ?, มีรถโดยสารคันอื่นผ่านมาหรือเปล่า ฯลฯ” ไม่มีใครทำท่ากระตือรือร้นจะสืบค้นหาคำตอบใดๆ ทั้งสิ้น ดูราวกับว่าหากใครเผลอถาม ช่างเป็นการแสดงความฉลาดน้อยสิ้นดี เราทุกคนต่างต้องปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมใหม่ และเรียนรู้คุณค่าแห่งการรอคอยระหว่างที่รถโดยสารกำลังได้รับการซ่อมแซม แม่ค้าชาวม้งนางหนึ่งเปิดกระสอบและหยิบเครื่องนุ่งหลายชิ้นที่ยังไม่แห้งสนิทออกมาตากที่รั้วไม้ริมถนน ผู้โดยสารรายอื่นๆ เปลี่ยนอิริยาบถจากท่านั่งบนเบาะเป็นการลงไปนั่งบนกระสอบที่วางอยู่ในรถ ทำให้ได้เอนหลังสบายกายขึ้นและสนทนาจิปาถะกับเพื่อนร่วมทางรายอื่นๆ ผู้โดยสารจากเมืองไทยเริ่มหาโอกาสพูดคุยกับหญิงชาวม้งผู้เป็นแม่อีกครั้ง เป็นคำถามเดิมที่คาใจ ‘สินค้าชนิดใดหนอที่พวกนางนำกลับมาจากเวียดนาม’ “อะไรอยู่ในกระสอบใบโตเหล่านี้” และแล้วใครคนหนึ่งก็ช่วยคลี่คลายด้วยการชิงถามประโยคนี้ขึ้น หญิงม้งผู้เป็นแม่อาจรู้สึกว่า ยากเกินกว่าที่จะตอบกระมัง นางจึงจัดการแกะเชือกที่พันกระสอบออกทีละปม ทีละปม เมื่อกระสอบถูกเปิดออกเผยให้เห็นสิ่งของที่อยู่ด้านใน ในกระสอบอัดแน่นไปด้วยผ้าปักหลากสีนับไม่ถ้วน ชาวม้งเรียกผ้าปักเหล่านี้ว่า 'บั๋นเด๋า' ‘บั๋น’ หมายถึง ดอกไม้ ‘เด๋า’ หมายถึง ผ้า ภายในกระสอบมีบั๋นเด๋าที่ใช้สำหรับพันเอวจำนวนมาก บางชิ้นดูเก่าเหลือหลาย บางชิ้นยังดูใหม่เอี่ยม แต่ละผืนสีสันหลากตา ผ้าพันเอวเหล่านี้ถูกพันด้วยผ้าเป็นมัดๆ ละ 10 ผืน มีหลายสิบมัด ด้านล่างของกระสอบยังมีกระโปรงม้งอัดพลีทรอบตัว นักเดินทางที่เป็นเหล่าปีศาจผ้าตาลุกวาว การชอปปิงบนรถโดยสารระหว่างรอการซ่อมแซมรถจึงเกิดขึ้นโดยไม่ตั้งใจ นับเป็นการฆ่าเวลาได้เป็นอย่างดี ระหว่างนั้นใครบางคนรำพึงอย่างเดียงสาว่า “โถ..ม้งหลายร้อยคนคงต้องสูญเสียผ้าพันเอวมาอยู่กระสอบฟางใบนี้เอง” ชาวม้งแต่ละคนจะมีผ้าพันเอวคนละหลายผืน แม่หญิงชาวม้งไขข้อกังขา ผ้าพันเอวตลอดจนผ้าเก่าของชาวม้งที่เวียดนาม คือสินค้าที่แม่ค้าชาวม้งจากลาวไปรับซื้อจากเครือข่ายพี่น้องม้งในเวียดนาม เพื่อนำมาส่งขายต่อให้กับชาวม้งที่ทำงานหัตถกรรมในเมืองหลวงพระบางและฝั่งไทย การซื้อขายผ้าปักของชาวม้ง กระทำผ่านการนำเครื่องนุ่งจากไทยไปแลก แม่หญิงชาวม้งเล่าว่า เสื้อผ้าที่พวกนางเดินทางไปซื้อที่ตลาดนัดอำเภอเชียงของจะถูกนำมาแลกกับผ้าปัก ผ้าพันเอว ตลอดจนเสื้อผ้าเก่าของชาวม้งในเวียดนาม ผ้าเก่าของม้งที่บรรจุในกระสอบจะถูกนำไปแยก หากผืนใดที่เปรอะเปื้อนเพราะผ่านการใช้งานมาอย่างหนัก จะได้รับการทำความสะอาด ก่อนส่งต่อไปยังชาวลาวสูงหรือชาวม้งยังเมืองหลวงพระบาง และถ้าหากมีเหลือหรือมีออเดอร์จากม้งในฝั่งไทย ผ้าเก่าเหล่านี้ก็จะถูกนำไปส่งยังชาวม้งในฝั่งไทยเช่นกัน ใครที่เคยมีโอกาสไปเมืองหลวงพระบาง คงจะได้เห็นเครื่องนุ่ง กระเป๋าและสิ่งของอีกหลายชนิดที่เป็นฝีมือชาวม้ง วัตถุดิบที่เป็นผ้าปักชาวม้งจำนวนไม่น้อยเหล่านี้เดินทางมาไกลจากเวียดนามทีเดียว แม้การชอปปิงของเหล่าปีศาจผ้าจะกินเวลานานเกือบชั่วโมงกว่าจะสิ้นสุดลง โดยแม่หญิงชาวม้งมอบของที่ระลึกเป็นผ้าปักชิ้นเล็กให้แก่เพื่อนร่วมทาง แต่รถ 6 ล้อคันโตก็ยังไม่มีวี่แววจะซ่อมเสร็จ หลังการค้าขายบนรถโดยสาร แม่ค้าชาวม้งคว้าผ้าปักผืนเล็กพร้อมเข็มและด้ายไปหามุมสงบของตนและตั้งหน้าตั้งตาปักผ้าตรงหน้าต่อไป อิริยาบถเช่นนี้สามารถพบเห็นเป็นประจำจากหญิงชาวม้งในพื้นที่ต่างๆ ช่างเป็นการใช้เวลาในการรอคอยอย่างคุ้มค่ายิ่ง อีกราว 2 ชั่วโมง รถโดยสารคันโตจากเดียนเบียนฟูวิ่งผ่านไป ทั้งผู้โดยสารและสัมภาระอัดแน่นเกินกว่าจะมีที่เหลือสำหรับผู้โดยสารอื่นใดอีก หญิงชาวม้งหันมาบอกว่า ยังมีกระสอบผ้าของนางอยู่บนรถคันนั้น เพราะเกินกำลังกว่าจะแบกมาด้วยตนเองได้ นางจึงต้องเดินทางไปให้ถึงเมืองขวาเพื่อรอรับสัมภาระดังกล่าว ในที่สุด การรอคอยได้สิ้นสุดลง เมื่อชายฉกรรจ์ปิดหัวรถ 6 ล้อลงให้อยู่กับที่กับทางดังเดิม เสียงสตาร์ทรถดังขึ้นอีกครั้ง การเดินทางจึงดำเนินต่อไป ใช้เวลาอีกไม่นานนัก เราทุกคนต่างมาถึงเป้าหมายโดยสวัสดิภาพ ณ จุดปลายทาง ทุกฝ่ายต่างเร่งรีบชดเชยเวลาที่สูญเสียเพื่อมุ่งหน้าไปยังเป้าหมายถัดไป โอกาสล่ำลากันแทบไม่มี เหลือไว้แต่ความทรงจำและคำถามที่ค้างคาใจรอวันได้ไขปริศนาอีกมากมาย. กรุงเทพธุรกิจ 12 พฤษภาคม 2548 ที่มา : โสภิดา วีรกุลเทวัญ
http://www.statelessperson.com/www/?q=node/429

วันเสาร์ที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ร่วม​กัน​จัด​พิธี​ฝัง​ศพ​นาย​พล​วัง เ​ปา

ลอสแอน​เจ​ลิส-กระทรวง​กลาโหม​และ​กองทัพ​สหรัฐฯ ร่วม​กับ​สถาบัน​ทหารผ่านศึก​ลาว​ใน​อเมริกา (LVAI) ร่วม​กัน​จัด​พิธี​ฝัง​ศพ​นาย​พล​วัง เ​ปา อดีต​ผู้​นำ​กอง​กำลัง​ชาว​ม้ง​ลาว​ที่​ช่วยเหลือ​กองทัพ​สหรัฐฯ ต่อสู้​ใน​สงคราม​เวียดนาม ที่​สุสาน​ทหารผ่านศึก​แห่งชาติ​ใน​เมือง​อาร์​ลิง​ตัน​ของ​สหรัฐฯ เมื่อ 13 พ.ค. เพื่อ​เป็น​การ​ยุติ​ข้อ​พิพาท​ระหว่าง​สหรัฐฯ กับ​ชาว​ม้ง​ลาว​อพยพ หลัง​นาย​พล​เสีย​ชีวิต​เมื่อ 6 ม.ค.ต้นปีที่ผ่านมา

วันจันทร์ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

สาวม้งเมืองน่าน คว้าตำแหน่งธิดาชาวไทยภูเขาในพญาผึ้งเกมส์ ครั้งที่ 23 ที่ จ.ราชบุรี

นางภัทราภรณ์ บรรเทาทุกข์ วัฒนธรรมจังหวัดราชบุรี เปิดเผยถึงผลการประกวดธิดาชาวไทยภูเขา ในโครงการถนนสายวัฒนธรรม ซึ่งสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดราชบุรี จัดบูรณาการร่วมกับการจัดการแข่งขันกีฬาชาวไทยภูเขาแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 23 ประจำปี 2554 “พญาผึ้งเกมส์” ระหว่างวันที่ 6-10 พฤษภาคม 2554 ณ บริเวณสนามกีฬาจังหวัดราชบุรี โดยปรากฏผลดังนี้
รางวัลธิดาชาวไทยภูเขา ประจำปี 2554 ได้แก่ นางสาวภัทราวดี แซ่ม้า ชาวเขาเผ่าม้ง จ.น่าน รับถ้วยรางวัล พร้อมสายสะพาย และเงินสด 10,000 บาท
รางวัลรองอันดับ 1 ธิดาชาวไทยภูเขา ประจำปี 2554 ได้แก่ นางสาวภารณี เจริญทิพยวงศ์ ชาวเขาเผ่าปกากะญอ จ.เชียงใหม่ รับรางวัลสายสะพาย และเงินสด 7,000 บาท
รางวัลรองอันดับ 2 ธิดาชาวไทยภูเขา ประจำปี 2554 ได้แก่ นางสาวสุภาพร แซ่เติ่น ชาวเขาเผ่าเย้า จ.กำแพงเพชร รับรางวัลสายสะพาย และเงินสด 5,000 บาท
รางวัลขวัญใจสื่อมวลชน ได้แก่ นางสาวรัชนี ปัจจะคีรี ชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยง จ.ลำพูน รับรางวัลสายสะพาย พร้อมเงินสด 5,000 บาท
รางวัลแต่งกายสวยงาม และ รางวัลขวัญใจมหาชน ได้แก่ นางสาวสุภาพร แซ่เติ่น ชาวเขาเผ่าเย้า จ.กำแพงเพชร รับถ้วยรางวัล พร้อมสายสะพาย และเงินสดรวม 10,000 บาท
ทั้งนี้ สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย จ.ราชบุรี F.M. 101.75 MHz. และ A.M. 1593 KHz.เป็นแม่ข่ายในการถ่ายทอดเสียงพิธีปิดการแข่งขันฯ ในวันที่ 10 พฤษภาคม 2554 ตั้งแต่เวลา 16.00 – 19.00 น. ด้วย
ดูข้อมูลพญาผึ้งเกมส์ได้ตามลิงค์นี้
http://122.154.90.42/wp/

วันศุกร์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2554

ชาวม้งเชียงรายร่วมเปิดเวทีต้านยานรก



เชียงราย - ชาวไทยภูเขาเผ่าม้ง เมืองพ่อขุนฯ สุดทนยาเสพติดทะลักหนัก จนถูกสังคมตั้งข้อสงสัย ยันมีคนม้งส่วนน้อยเท่านั้นที่เกี่ยวพันขบวนการค้ายานรก พร้อมร่วมมือรัฐเปิดเวทีต้ายภัยยาเสพติด

รายงานข่าวจาก จ.เชียงราย แจ้งว่า ที่ศูนย์การท่องเที่ยวภูชี้ฟ้า หมู่บ้านร่มฟ้าไทย ต.ตับเต่า อ.เทิง ชมรมชาวม้ง จ.เชียงราย นำโดยนายทวีศักดิ์ ยอดมณีบรรพต ประธานชมรมฯ พร้อมด้วยแกนนำชนเผ่าม้งคนสำคัญหลายคน ได้จัดให้มีการประชุมเสวนาต้านภัยยาเสพติด โดยเชิญหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมและเชิญนางอทิติ วันไชยธนวงศ์ สมาชิก อบจ.เชียงราย เป็นประธานในพิธีเปิด โดยมีชาวม้งจาก อ.เวียงแก่น อ.เทิง อ.ขุนตาล อ.เชียงของ อ.พญาเม็งราย อ.เวียงป่าเป้า และ อ.เชียงแสน เข้าร่วมจำนวน 42 หมู่บ้านรวมทั้งหมด 84 คน

โดยการประชุมเสวนา ได้พยายามความรู้เรื่อง พ.ร.บ.ยาเสพติด และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งมาตรการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดจากเจ้าหน้าที่ ปปส.เชียงราย การบรรยายสถานการณ์เกี่ยวกับยาเสพติดโดยตำรวจ สภ.เวียงแก่น จากนั้นมีการจัดการประชุมกลุ่มย่อยเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาร่วมกันในชุมชน

ทั้งนี้ ในการประชุมตั้งเป้าว่าจะทำให้ผู้เข้าร่วมนำความรู้ที่ได้ไปเผยแพร่ในชุมชนของตัวเองเพื่อให้ชาวม้งมีความรู้เรื่องพิษภัยของยาเสพติดมากขึ้น จากนั้นร่วมกันป้องกันและแก้ไขปัญหาเสพติดและให้ความร่วมมือเป็นเครือข่ายเฝ้าระวังกับภาครัฐทั้งทหาร ตำรวจ ฝ่ายปกครอง ฯลฯ ต่อไป

นายทวีศักดิ์ กล่าวว่า สถานการณ์ยาเสพติดในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา ทวีความรุนแรงมากขึ้นโดยเฉพาะชาวม้งที่อาศัยอยู่ตามแนวชายแดนถือว่าเป็นกลุ่มเสี่ยงที่มักจะตกเป็นเครื่องมือในการลำเลียงยาเสพติด กระทั่งเดือน ก.พ.-มี.ค.54 ที่ผ่านมาก็เคยมีข่าวการตรวจยึดยาเสพติดจำนวนมากที่ภาคกลางและมีข่าวว่าเป็นการลำเลียงไปจากพื้นที่ จ.เชียงราย และเกี่ยวพันกับชาวม้งด้วย

นายทวีศักดิ์ ยืนยันว่า ชาวม้งที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติดมีเพียงส่วนน้อยหรือบางคนเท่านั้น แต่ก็ทำให้เกิดมุมมองจากสังคมที่ไม่ดีต่อชาวม้ง ดังนั้นจึงได้มีการจัดกิจกรรมในครั้งนี้ขึ้น โดยเฉพาะพื้นที่ด้านชายแดนไทย-สปป.ลาว ด้าน อ.เทิง อ.เวียงแก่น จ.เชียงราย ซึ่งมีพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นเทือกเขา และติดม่น้ำโขง ยังเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาดังกล่าว

วันเสาร์ที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2554

เเหล่งซื้อขายผ้าปักม้งย่านกาดหลวงเชียงใหม่


ไป..ไปเต้อไปเเอ่วไปเต้อไปเเอ่วจังหวัดเชียงใหม่...วันนี้จะพาทุกทานไปเเอ่วเชียงใหม่ยานกาดหลวงกาดวโรรสเเละใกล้ๆกาดสองกาดนี้ก็คือกาดม้งขายผ้าปักอยู่ในซอยตรอกเล่าโจ๊ว กาดม้งนี้เป็นเเหล่งซื้อขายผ้าปักม้งมือสองหรือว่าผ้าปักที่ใช้เเล้ว ผ้าปักม้งเป้นลายปักที่สวยงาม ที่ชาวต่างชาติหรือนักท่องเที่ยวมักจะมาซื้อหากันเป้นของฝากหรือเก็บสะสมใว้ เพราะมันสวยงามเเละปักด้วยมือเเท้ ผู้คนจึงนิยมมาหาซื้อกันที่นี ในกาดม้งนี้มีทั้งผ้าปักเป็นผืนเเละที่เเปรรูปเป็นเสื้อผ้ากระเป๋าเเล้วก็มีหลากหลายเเบบ ถ้าท่านใดได้มาเเอ่วเชียงใหม่ก็ขอเชิญเข้ามาซื้อกันได้นะครับ

วันจันทร์ที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2554

ประชากรชนชาติม้ง(Hmong-Miao)ในประเทศจีน


ชนชาติม้งในประเทศจีนมีประชากรมากเป็นอันดับที่5ของบรรดาชนชาติต่างๆในประเทศจีน อันดับต้นๆเลยก็จะเป็นชนชาติฮั่นเเละเเมนจูมี 1,200 ล้านคน รองลงมาก็จะเป็น ชนชาติจ้วงเเละหุย 9 ล้านกว่าคน ชนชาติม้งหรือชนชาติแม้วมีประชากรประมาณ 8.94 ล้านคน ซึ่งส่วนใหญ่อาศัยอยู่ที่มณฑลกุ้ยโจว มณฑลยูนนาน มณฑลเสฉวน เขตกวางสี มณฑลหูเป่ย มณฑลหูหนานและมณฑลกว่างตุ้งเป็นต้น ชนชาติม้งใช้ภาษาม้ง ซึ่งสังกัดอยู่ในตระกูลจีน-ทิเบต เมื่อก่อน ชนชาติม้งไม่มีตัวหนังสือที่เป็นเอกภาพ ค.ศ.1956 ชนชาติม้งได้สร้างหรือตัดแปลงตัวหนังสือผสมเสียงแบบลาตินเพื่อรวมภาษาถิ่น 4 ชนิดเข้าด้วยกัน จากนั้นจึงได้ก่อรูปเป็นตัวหนังสือชนชาติม้งที่เป็นเอกภาพ ชนชาติม้งนับเป็นชนชาติที่มีประวัติศาสตร์อันยาวนานที่สุดของจีนชนชาติหนึ่ง หนังสือบันทึกประวัติศาสตร์เมื่อ 4000 กว่าปีก่อนก็เคยบันทึกประวัติศาสตร์ของชนชาติม้ง ในเทพนิยายโบราณ เล่ากันว่าชืออิว(chiyou)ที่เคยสู้รบกับกษัตริย์หวงตี้ กษัตริย์หยานตี้เป็นบรรพบุรุษและเป็นที่เคารพนับถือของชนชาติม้ง ด้วยสาเหตุชนิดต่างๆเช่นสงคราม การขาดแคลนอาหาร โรคภัยไข้เจ็บตลอดจนการมีลูกมาก ไร่นารกร้างว่างเปล่าเป็นต้น ทำให้ชนชาติม้งต้องอพยพอย่างเคลื่อนย้ายตลอดเวลา และกระจัดกระจายไปตามที่ต่างๆอย่างกว้างขวาง ภายในชนชาติม้งเอง จึงมีความแตกต่างอย่างมากในด้านต่างๆเช่นสำเนียงภาษา เสื้อผ้าอาภรณ์ เครื่องประดับหัว ประเพณีเป็นต้น ชาวชนชาติม้งที่อาศัยอยู่ในท้องที่ต่างๆมีคำเรียกตนเองต่างๆกันไป ถ้าแบ่งตากความแตกต่างในด้านเสื้อผ้าอาภรณ์ ชนชาติม้งแบ่งได้เป็น”ม้งกระโปร่งยาว” “ม้งกระโปร่งสั้น” “ม้งเขายาว” “ม้งแดง” “ม้งดำ”เป็นต้น ชนชาติม้งส่วนใหญ่นับถือศาสนาเก่าแก่ที่ถือทุกสิ่งทุกอย่างในโลกก็ล้วนมีวิญญาณ ชนชาติม้งเพาะปลูกข้าวเจ้าและข้าวโพดเป็นสำคัญ และยังเพาะปลูกต้นน้ำมันถง(Aleurites montana) ผักน้ำมัน(Brassica napus)เป็นต้น นอกจากนี้ ยังปลูกสมุนไพรที่มีค่าเช่นเถียนชี(Panax Pseudoginseng Wall) เทียนหมา(Gastrodia elata BIK)และตู้จุ้ง(Eucommia ulmoides Ol)เป็นต้นด้วย
ที่มา เนื้อหาเเละข้อมูลจาก CHAINA ABC