วันพฤหัสบดีที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2552

บ้านเชียง


ใหนๆก็มาถึงอุดรเเล้ว ก็เลยอยากจะเเนะนำสถานที่ทางโบรานคดีอย่างบ้านเชียง ให้เพื่อนๆรู้จักครับ
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติบ้านเชียง ตั้งอยู่ที่บ้าน เชียง ตำบลบ้านเชียง แบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนที่ 1 ตั้งอยู่ทางด้านขวาของทางเข้าอยู่ใน
บริเวณวัดโพธิ์ศรีในเป็นพิพิธภัณฑ์เปิดที่เป็นแหล่งโบราณคดีแห่งแรก ใน-ประเทศไทย เป็นนิทรรศการถาวร ซึ่งแสดงขั้นตอนการขุดค้นทางโบราณ
คดีที่ ยังคงลักษณะของศิลปวัตถุที่พบตามชั้น- ดิน เพื่อให้ผู้เข้าชมได้ ศึกษาถึงการขุดค้นทางโบราณคดี และโบราณวัตถุซึ่งส่วนใหญ่ เป็นภาชนะเผาที่ฝัง
รวมกับศพ ส่วนที่ 2 ตั้งอยู่ทางด้านซ้ายของทางเข้า เป็นอาคารที่ จัดแสดงเกี่ยวกับเรื่องราวและวัฒนธรรมของบ้านเชียงในอดีต ตลอดจนเครื่องมือ
เครื่องใช้ที่ แสดงถึงเทคโนโลยีในสมัยโบราณ รวมทั้งโบราณวัตถุและ นิทรรศการบ้านเชียงที่เคยจัดแสดง ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา
นอกจากนั้นภายในบริเวณอาคารส่วนที่ 2 ยังมีห้องนิทรรศการ ห้องบรรยาย ฉายภาพยนตร์ ภาพนิ่ง และการให้บริการการศึกษาต่าง ๆ การเดิน ทาง
ไปยังพิพิธ-ภัณฑสถานแห่งชาติบ้านเชียงนั้นสะดวกมาก เนื่องจากอยู่ห่างจากตัวจังหวัดเพียง 55 กิโลเมตร ตามเส้นทางหมายเลข 22 (อุดรธานี-
-สกลนคร) ตรงกิโลเมตรที่ 50 ก็จะถึงปาก ทางเข้าบ้านปูลู จะเห็นป้ายบอกทางไปพิพิธภัณฑ์ทางด้านซ้ายมือ เข้าสู่ทางหลวงหมายเลข2225 อีกประมาณ 6
กิโลเมตร ก็จะถึงพิพิภัณฑ์ ซึ่งเปิดให้เข้าชมทุกวันเว้นวันจันทร์ ตั้ง แต่เวลา 09.00-16.00 น. ค่าเข้าชมคนละ5 บาท

วัฒนธรรมบ้านเชียงสมัยก่อนประวัติศาสตร์
บ้านเชียงเป็นแหล่งโบราณคดีที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทย ซึ่งค้นพบว่าเคยเป็นที่อยู่อาศัยและที่ฝังศพของคนก่อนประวัติศาสตร์ยุคโลหะ
เมื่อราว 5,000 กว่าปีมาแล้ว มีความเจริญก้าวหน้าทางวัฒนธรรมและเทคโนโลยีสูงมาแต่โบราณ ชาวบ้านเชียงโบราณเป็นชุมชนยุคโลหะที่รู้จักทำการ
เกษตรกรรม เลี้ยงสัตว์ นิยมทำเครื่องมือเครื่องใช้และเครื่องประดับจากสำริดในระยะแรก และรู้จักใช้เหล็กในระยะต่อมาแต่ก็ยังคงใช้สำริดควบคู่
กันไป
ชาวบ้านเชียงรู้จักทำเครื่องปั้นดินเผาเป็นภาชนะสีเทาทำเป็นลายขูดขีด ลายเชือกทาบ และขัดมัน รู้จักทำภาชนะดินเผาลายเขียนสี
รูปทรงและลวดลายต่าง ๆ มากมาย กรมศิลปากรได้ส่งเครื่องปั้นดินเผาที่ขุดพบที่บ้านเชียงนี้ไปตรวจสอบคำนวนหาอายุโดยใช้วิธีเทอร์โมลูมิเนสเซนส์
(Thermolumines Cense) ที่ห้องปฏิบัติการของพิพิธภัณฑ์มหาวิทยาลัยเพนซิลวาเนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา พบว่ามีอายุประมาณ 5,000-7,000 ปี
ซึ่งเครื่องปั้นดินเผาลายเขียนสีที่พบที่บ้านเชียงนี้ นับว่ามีอายุเก่าแก่กว่าที่ค้นพบที่ประเทศสาธารณรัฐจีน จากความเห็นและการสันนิษฐานของนายชิน
อยู่ดี ภัณฑารักษ์พิเศษของกรมศิลปากรได้ให้ความเห็นว่า “……..เป็นเครื่องปั้นดินเผาลายเขียนสีที่เก่าแก่ที่สุดในทวีปเอเชียอาคเนย์……”
และอาจจะเก่าแก่ที่สุดในโลกก็เป็นได้

นอกจากนั้นชาวบ้านเชียงโบราณยังรู้จักทำเครื่องจักสาน ทอผ้า มีประเพณีการฝังศพ ฝังสิ่งของเครื่องใช้ อาหาร รวมกับศพเป็นการอุทิศให้กับผู้ตาย
สิ่งของที่เป็นโบราณวัตถุ ซึ่งได้จากการสำรวจรวบรวมและขุดค้นที่บ้านเชียงรวมแหล่งใกล้เคียง เช่น ขวาน ใบหอก มีด ภาชนะดินเผา ทั้งที่เขียนสีและ
ไม่เขียนสี และดินเผา ลูกกลิ้งดินเผา แม่พิมพ์หินใช้หล่อเครื่องมือสำริดทำจากหินทราย เบ้าดินเผา รูปสัตว์ดินเผา ลูกปัดทำจากหินสี แก้วกำไล และ
แหวนสำริด ลูกกระสุนดินเผา ขวาน หินขัด และได้พบเศษผ้าที่ติดอยู่กับเครื่องมือสำริดแกลบข้าวที่ติดอยู่กับเครื่องมือเหล็ก เป็นต้น

ชุมชนบ้านเชียงในสมัยก่อนประวัติศาสตร์เป็นชุมชนเกษตรกรรมยุคโลหะมีความเจริญก้าวหน้ามานานแล้ว สามารถแบ่งลำดับขั้น
วัฒนธรรมสังคมเกษตรกรรมที่บ้านเชียงออกเป็น 6 สมัย โดยกำหนดอายุทางวิทยาศาสตร์วิธีคาร์บอน 14 ว่าวัฒนธรรมสมัยที่ 1 หรือชั้นดินล่างสุดของ
บ้านเชียงมีอายุประมาณ 5,600 ปีมาแล้ว จากการวิเคราะห์กระดูกสัตว์และเปลือกหอยทำให้มีความคิดว่า
คนก่อนประวัติศาสตร์ที่บ้านเชียงในระยะแรกได้เลือกตั้งถิ่นฐานในบริเวณป่าที่ถูกถางมีการเลี้ยงสัตว์ และล่าสัตว์ด้วยพอถึงสมัยที่ 4 เมื่อราว 3,600
ปีมาแล้ว รู้จักใช้เครื่องมือเหล็กเลี้ยงควาย เพื่อช่วยในการทำนาในสมัยที่ 5 เมื่อราว 3,000 ปีมาแล้ว มีการทำภาชนะดินเผาลาย

เขียนสีลงลายและรูปทรงหลายแบบ พอถึงสมัยที่ 6 จึงทำแต่ภาชนะดินเผาเคลือบสีแดงหรือเขียนสีบนพื้นสีแดง ทำเครื่องประดับที่มีส่วน
ผสมของโลหะที่มีความวาวมากขึ้น กำหนดอายุได้ราว 1,700 ปีมาแล้ว จากการค้นพบแกลบข้าวที่ติดอยู่กับเครื่องมือเหล็ก การค้นพบเครื่องมือสำริด
แม่พิมพ์เครื่องมือสำริด เบ้าดินเผาทำให้สามารถกล่าวได้ว่าวัฒนธรรมบ้านเชียงมีความเจริญก้าวหน้าสูง รู้จักการใช้โลหะกรรมหล่อหลอมสำริดและ
ปลูกข้าวที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ไม่น้อยกว่า 5,000 ปีมาแล้ว มีความเจริญทางวัฒนธรรมไม่เท่าเทียมกันทั้งประเทศ กล่าวคือขณะที่พวกที่อาศัย
อยู่ทางแควน้อยและแควใหญ่ของจังหวัดกาญจนบุรี เมื่อ 3,700 ปี ใช้หินเป็นเครื่องมือและใช้หินกระดูกสัตว์และเปลือกหอยเป็นเครื่องประดับนั้น

พวกที่อาศัยอยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศมีความเจริญรุดหน้ากว่ารู้จักใช้สำริดมาทำเป็นเครื่องประดับและรู้จักใช้เหล็กทำเป็นเครื่องมือ…...”
ซึ่งข้อสันนิษฐานดังกล่าวข้างต้นตรงกับข้อสันนิษฐานของศาสตราจารย์ ดร. โซเฮล์ม (DR. W.G.SOLHEIM) แห่งมหาวิทยาลัยฮาวายประเทศสหรัฐอเมริกา
ที่ได้ให้ความเห็นว่า

“……..ความเจริญทางวัฒนธรรมของภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย จากการขุดค้นทางโบราณคดีพบว่าได้มีการใช้สำริดทำกันใน
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยก่อนแหล่งอื่นในโลกภาคตะวันออก คือประมาณ 2,500 ปีก่อนคริสตศักราช คือประมาณ 4,472 ปีมาแล้ว ใกล้
เคียงกับเวลาที่ใกล้ที่สุดที่อาจเป็นไปได้ ที่บ้านเชียง……..”

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น