วันพฤหัสบดีที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2552

qhov txug


qhov txug คือ เตาไฟขนาดใหญ่ที่ทำด้วยดินเหนียวมีกะทะขนาดใหญ่อยู่ข้างบนใช้หุงข้าวต้มพักเเละใช้ประโยน์หลายอย่างของคนม้ง ซึ่งปัจจุบันไม่ค่อยมีให้เห็นกันเเล้ว เเต่ก็เหลือบ่างที่อนุรักษ์ไว้เเต่ไม่ค่อยได้ใช้เลย ส่วนมากจะสร้างไว้ใน(tsev daab qhuag)บ้านที่ทำด้วยไม่ไผ่มุ่งหญ้าคา สำหรับบ้านผมเเล้วปู่กับย่ายังอนุรักษ์ไว้เเละยังใช้หุงอาหารหรือไม่ก็ใช้ต้มข้าวโพดให้หมู เเละบางครั่งเมื่อถึ่งปีใหม่เราก้ได้ใช้นึ่งข้าวเหนียวที่ใช้ทำขนมม้งหรือ ncuav ถ้าใช้qhov txug นึ่งเเล้วจะเยอะมากพอสำหรับครอบครัวม้งที่อยุ่กันเยอะครับ ดินจากqhov txug นั้นยังใช้ทำเป็นเเป้งไว้ทาเด็กทารกตรงขาหนีบป้องกันความชื่นอีกครับ

วันศุกร์ที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2552

วิซิดีประวัติศาสตร์ม้ง







มีนิยายปรัมปราของชาวม้งซึ่งได้เล่าสืบต่อกันมา กล่าวไว้ว่า ถิ่นกำเนิดของม้งอยู่ที่มุมหนึ่งของโลก เป็นดินแดนที่มีอากาศหนาวเย็น ปกคลุมด้วยหิมะ น้ำตามลำธารจับตัวเป็นน้ำแข็ง มีเวลากลางคืนและกลางวันยาวนานถึง 6 เดือน จึงเป็นการน่าเชื่อว่าชาวม้งเคยอาศัยอยู่ในบริเวณ มองโกเลีย หรือแม้แต่ทางเหนือของสแกนดิเนเวีย หรือ บริเวณขั้วโลกเหนือ อย่างไรก็ตาม โดยที่เห็นว่า ม้ง มีลักษณะ หน้าตา ภาษา และความเชื่อทางศาสนาไม่เหมือนใคร บาทหลวงซาวีนา จึงเชื่อว่า ม้งไม่เหมือนชนชาติใดๆ ในทวีปเอเชีย และมีแหล่งกำเนิดจากที่แห่งหนึ่งในแคว้นเมโสโปเตเมีย จากประวัติศาสตร์ของจีน สันนิฐานได้ว่า ชาวม้งอยู่ในประเทศจีนมาก่อนชาวจีน และมีอาณาจักรของตนเองอยู่อย่างสงบสุขมาเป็นเวลานาน ต่อมาชาวจีนได้อพยพเข้ามาตั้งรกรากในบริเวณลุ่มแม่นำฮวงโห (แม่นำเหลือง) และได้แผ่ขยายอาณาเขตออกมาด้วยการสู้รบขับไล่ชนชาติต่างๆ ที่เป็นบรรพบุรุษของชนชาติไทย ชนชาติม้ง และชนชาติอื่นๆ การต่อสู้ระหว่างบรรพบุรุษของชนชาติม้งและชนชาติจีนได้เป็นไปอย่างรุนแรงและยืดเยื้อ ในสมัยราชวงศ์แมนจู (เหม็ง) หรือคริสศตวรรษที่ 17 กษัตริย์ในราชวงศ์เหม็งได้เปลี่ยนนโยบายเป็นการปราบปรามให้ชาวม้งยอมจำนนโดยสิ้นเชิง จึงได้มีการต่อสู้อย่างรุนแรงในหลายแห่ง เช่น ที่เมืองพังหยุน ในปี ค.ศ. 1466 ในมณฑลไกวเจา ในระหว่าง ปี ค.ศ. 1733-1735 ในมณฑลเสฉวนและไกวเจา ระหว่างปี 1763-1775 สำหรับการสู้รบกับจีนครั้งหลังสุด เป็นช่วงเวลาประมาณ ปี ค.ศ. 1855-1881 ชาวม้งได้พ่ายแพ้ ส่วนหนึ่งจึงหลบหนึเข้าไปอยู่ตามป่าตามเขา ร่นไปทางตะวันตก มณฑลเสฉวน และทางใต้ มณฑลตังเกี๋ย และมณฑลยูนนาน ระหว่างการสู้รบศึกสงครามชาวม้งได้อาศัยภูเขาเป็นที่อยู่อาศัยเพื่อป้องกันการรุกรานจากศัตรูและเป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ ประกอบกับความเป็นชนชาติที่รักอิสระ ท่ามกลางธรรมชาติอันร่มเย็นและกว้างใหญ่ไพศาล การอาศัยอยู่ตามภูเขาสูงจึงได้กลายเป็นวิถีการดำเนินชีวิตของชนชาติม้งในช่วงเวลาต่อมา ซึ่งมีการกล่าวกันว่า "น้ำเป็นของปลา ฟ้าเป็นของนก แต่ภูเขาเป็นของม้ง" ชาวม้งได้อพยพผ่านประเทศเวียตนาม ลาว และในที่สุด ถึงประเทศไทย จากการบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่หลายท่านที่มีอายุร่วมร้อยปี กล่าวว่าพวกเขาเกิดในแผ่นดินไทย และส่วนใหญ่กล่าวว่ารุ่นพ่อแม่ของพวกเขาเป็นนักรบเดินทางมาจากประเทศจีน ขณะที่ศูนย์วิจัยชาวเขาที่เชียงใหม่มีความเห็นว่า ชาวม้งกลุ่มแรกๆ ได้อพยพเข้ามาสู่ประเทศไทยประมาณเมื่อ ปี ค.ศ. 1850 ฉะนั้น ชาวม้งจึงน่าจะเข้ามาอยู่ในประเทศไทยได้ประมาณ 150 ปีมาแล้ว โดยมีเส้นทางอพยพเข้ามา 3 จุดใหญ่ๆ คือ

1. เป็นจุดที่ชาวม้งเข้ามามากที่สุด อยู่ทางทิศเหนือสุดหรือแนวเมืองคาย - ห้วยทราย - เชียงของ
2. อยู่ในแนว สายบุรี (ลาว) - อ. ปัว จ. น่าน
3. เป็นจุดที่เข้ามาน้อยที่สุด อยู่ในแนว ภูเขาคาย (ใกล้เวียงจันทร์) - จังหวัดเลย

จากการสำรวจของ คณะทำงานเฉพาะกิจเพื่อพัฒนาระบบข้อมูลกลางชุมชนบนพื้นที่สูง กองสงเคราะห์ชาวเขา กรมประชาสงเคราะห์ กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ปี 2541 ได้สรุปจำนวนประชากรชาวม้งว่ามีประมาณ 126,300 คน อาศัยอยู่ใน 13 จังหวัดเขตภาคเหนือ คือ กำแพงเพชร เชียงราย เชียงใหม่ ตาก น่าน พิษณุโลก เพชรบูรณ์ แพร่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง สุโขทัย พะเยา และ เลย
ชาวม้งในประเทศไทยมีอยู่ด้วยกัน 3 กลุ่ม คือ
1. ม้งจั๊ว (ม้งเขียว หรือ น้ำเงิน)
2. ม้งเดอะ (ม้งขาว)
3. ม้งจ้ายบ๊าง (ม้งลาย)

...บางที่มา ...

ประวัติและความเป็นมา (History of the Hmong people)

ยังไม่มีผู้ใดสามารถสรุปได้ว่า ชนชาติม้ง มาจากที่ไหน แต่สันนิษฐานกันว่า ม้ง คงจะอพยพมาจากที่ราบสูงธิเบต ไซบีเรีย และมองโกเลีย เข้าสู่ประเทศจีน และตั้งหลักแหล่งอยู่แถบลุ่มแม่น้ำเหลือง (แม่น้ำฮวงโห) เมื่อราว 3,000 ปีมาแล้ว ซึ่งชาวเขาเผ่าม้งจะตั้งถิ่นฐานอยู่ในมณฑลไกวเจา ฮุนหนำ กวางสี และมณฑลยูนาน ม้งอาศัยอยู่ในประเทศจีนมาหลายศตรรษ จนกระทั่ง ประมาณคริสตศตวรรษที่ 17 ราชวงค์แมนจู (เหม็ง) มีอำนาจในประเทศจีน กษัตริย์จีนในราชวงค์เหม็งได้เปลี่ยนนโยบายเป็นการปราบปราม เพราะเห็นว่าม้งที่เป็นผู้ชายส่วนใหญ่แล้วรูปร่างหน้าตาคล้ายกับคนรัสเซีย ทำให้คนจีนคิดว่า ม้งเป็นคนรัสเซีย จึงเป็นเหตุให้มีการปราบปรามม้งเกิดขึ้น โดยให้ชาวม้งยอมจำนน และยอมรับวัฒนธรรมของจีน จึงได้มีการต่อสู้กันอย่างรุนแรงในหลายแห่ง เช่น ในเมืองพังหยุนในปี พ.ศ.2009 และการต่อสู้ในมณฑลไกวเจาในระหว่าง พ.ศ. 2276 - 2278 และการต่อสู้ในมณฑลเสฉวนในระหว่าง พ.ศ. 2306 – 2318

ชาวม้ง ประสบกับความพ่ายแพ้ สูญเสียพลรบ และประชากรเป็นจำนวนมาก ในที่สุด ม้ง ก็เริ่มอพยพถอยร่นสู่ ทางใต้ และกระจายเป็น
กลุ่มย่อย ๆ กลับขึ้นอยู่บนที่สูงป่าเขาในแคว้นสิบสองจุไทย สิบสองปันนา และอีกกลุ่มได้อพยพไปตามทิศตะวันออกเฉียงเหนือของราชอาณาจักรลาว
บริเวณทุ่งไหหิน เดียนเบียนฟู และอพยพเข้าสู่ประเทศไทยเมื่อประมาณ พ.ศ. 2400 เศษ เป็นต้นมา

ชาวม้ง ส่วนใหญ่ในประเทศไทย ตั้งถิ่นฐานอยู่ตามภูเขาสูง หรือที่ราบเชิงเขาในเขตพื้นที่ จังหวัดเชียงราย พะเยา น่าน เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน แพร่ ลำปาง กำแพงเพชร เลย พิษณุโลก เพชรบูรณ์ สุโขทัย และตาก มีจำนวนประชากรทั้งสิ้นประมาณ 151,080 คน

ประชากรม้งในจีน